Kidney Infection Banner 1.jpg

กรวยไตอักเสบ

ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ มักเริ่มต้นจากการอักเสบในกระเพาะปัสสาวะแล้วแพร่กระจายไปที่ไต

แชร์

กรวยไตอักเสบ

กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) เป็นภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ เชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อยคือ อีโคไล (E.Coli) เชื้อมักเริ่มต้นจากการอักเสบในกระเพาะปัสสาวะแล้วแพร่กระจายไปที่ไต

ผู้ป่วยกรวยไตอักเสบจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลทันทีเนื่องจากการติดเชื้ออาจทำให้ไตเสียหายถาวรหรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระแสเลือดซึ่งอาจอันตรายถึงแก่ชีวิต โดยใช้ยาปฏิชีวนะเป็นการรักษาขั้นพื้นฐาน

อาการ

  • มีอาการแสบเจ็บระหว่างปัสสาวะ
  • มีหนองหรือเลือดปนอยู่ในปัสสาวะ (Hematuria)
  • รู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลา
  • ปัสสาวะมีกลิ่นคาว
  • ปวดปัสสาวะบ่อยต้องรีบเข้าห้องน้ำ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เจ็บปวดบริเวณสีข้างกับปวดท้อง
  • มีไข้และรู้สึกหนาวสั่น


เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

ควรพบแพทย์ทันทีหากพบอาการติดเชื้อซึ่งรวมถึงปัสสาวะเป็นเลือด คลื่นไส้ และอาเจียน เนื่องจากการติดเชื้อที่ไตอย่างรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่คุกคามถึงชีวิต


สาเหตุ

กรวยไตอักเสบมักเกิดมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด โดยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้ออีโคไล ซึ่งมีหลายสาเหตุเช่นการอักเสบต่อเนื่องของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ บางกรณีเชื้อแบคทีเรียอาจแพร่กระจายเข้าสู่กรวยไตผ่านทางกระแสเลือดได้ ส่งผลให้เกิดการอักเสบแบบเฉียบพลัน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกรวยไตอักเสบ

  • เพศหญิง: ท่อปัสสาวะในผู้หญิงจะสั้นกว่าในผู้ชายทำให้เชื้อโรคจากภายนอกเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ความใกล้ของท่อปัสสาวะกับช่องคลอดและทวารหนักของผู้หญิงเพิ่มโอกาสที่แบคทีเรียจะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะและลุกลามไปยังไตได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้สตรีมีครรภ์ มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อสูงขึ้น
  • ทางเดินปัสสาวะอุดตัน: การไม่สามารถถ่ายปัสสาวะจนหมดจากกระเพาะปัสสาวะ หรือมีนิ่วอุดตันท่อไต เป็นปัจจัยทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • การมีระบบภูมิคุ้มต่ำ: โรคที่ทำให้มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง โรคเบาหวานและการติดเชื้อเอชไอวี
  • มีความผิดปกติของเส้นประสาทบริเวณกระเพาะปัสสาวะ: ความเสียหายต่อเส้นประสาทหรือไขสันหลัง อาจทำให้ขัดขวางสัญญาณเตือนภายในร่างกาย จนปล่อยให้มีการลุกลามของเชื้อขึ้นไปในไต
  • โรคปัสสาวะไหลย้อนกลับ: ภาวะที่มีปัสสาวะไหลย้อนกลับจากกระเพาะปัสสาวะกลับไปในท่อไต มักพบอาการนี้ในวัยเด็ก


    ภาวะแทรกซ้อน

    • เกิดรอยแผลเป็นหรือฝีในไต อาจนำไปสู่โรคไตเรื้อรังความดันโลหิตสูงและไตวายเฉียบพลัน
    • ภาวะโลหิตเป็นพิษ หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจเกิดภาวะช็อคได้ การติดเชื้อที่ไตอาจทำให้ เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายผ่านกระแสเลือด
    • ปัญหาทางสูติกรรม ผู้หญิงที่เป็นโรคไตในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักที่น้อยกว่าปกติ


    การป้องกัน

    ลดโอกาสการเกิดกรวยไตอักเสบโดยการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโดยเฉพาะสุภาพสตรี อาจปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้:

    • ดื่นน้ำให้มากเพื่อขับเชื้อแบคทีเรียออกจากร่างกายผ่านการปัสสาวะ
    • ไม่กลั้นปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน และปัสสาวะเมื่อปวด
    • หลังมีเพศสัมพันธ์ให้ปัสสาวะทันทีเพื่อลดความเสี่ยงของเชื้อแบคทีเรียที่ยังคงค้างภายในอวัยวะเพศ
    • ผู้หญิงควรเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศและทวารหนักจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ท่อปัสสาวะ


    การวินิจฉัย

    อาจมีการเก็บตัวอย่างของเลือดและปัสสาวะเพื่อตรวจหาหนองหรือเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ อาจต้องตรวจภาพฉายรังสีจากซีที สแกนเพื่อวินิจฉัยการอุดตันในระบบทางเดินปัสสาวะ


    การรักษา

    • การรับประทานยาปฏิชีวนะ แพทย์มักใช้ยาปฏิชีวนะเป็นพื้นฐานในการรักษากรวยไตอักเสบ การตรวจหาเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะจะเป็นตัวกำหนดประเภทชนิดของยาและระยะเวลาที่ต้องใช้ยา โดยส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน2-3 วันหลังรับการรักษา ทั้งนี้ผู้ป่วยยังคงต้องรับประทานยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง 10-14 วันให้ครบตามคำสั่งของแพทย์แม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม
    • การรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีภาวะไตติดเชื้อรุนแรงอาจะจำเป็นต้องฉีดยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอเลือดดำ ทั้งนี้ระยะเวลาในการรักษาตัวที่โรงพยาาลจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการอักเสบ
    • ผ่าตัด แพทย์อาจใช้วิธีผ่าตัดในการรักษาสำหรับผู้ป่วยกรวยไตอักเสบที่เกิดจากการอุดตันของฝีหนองหรือความผิดปกติในโครงสร้างภายในระบบทางเดินปัสสาวะอาจ ต้องตัดเนื้อไตบางส่วนทิ้งไปหากพบว่าติดเชื้อรุนแรงมาก


    ระหว่างพักรักษาตัวที่บ้าน

    บรรเทาอาการปวดขณะพักฟื้นตัวจากการติดเชื้อที่ไตด้วยวิธีดังนี้:

    • ประคบร้อนบริเวณหน้าท้อง หลัง หรือสีข้างเพื่อลดคามปวด
    • รับประทานยาฆ่าเชื้อโรคที่เหมาะสม ทั้งชนิดยาและระยะเวลาที่ให้
    • ดื่มน้ำให้มากเพื่อช่วยขจัดแบคทีเรียออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ


    เตรียมนัดหมายแพทย์

    แนะนำให้พบแพทย์ผู้ชำนาญการโรคไต หรือศัลยแพทย์ด้านโรคระบบทางเดินปัสสาวะ หากการติดเชื้อลุกลามไปที่ไตและเกิดการอักเสบเป็นหนอง

    บทความโดย

    เผยแพร่เมื่อ: 19 ต.ค. 2022

    แชร์

    แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

    ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. วิรุณ  โทณะวณิก,พบ

    นพ. วิรุณ โทณะวณิก,พบ

    • ศัลยศาสตร์
    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    มะเร็งต่อมลูกหมาก, ฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ศ.นพ. กิตติณัฐ กิจวิกัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

    นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

    นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

    นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ระบบสืบพันธ์ุ
  • Link to doctor
    นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

    นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

    รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ.  วิชัย เจริญวงศ์

    นพ. วิชัย เจริญวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

    นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    การบีบขับปัสสาวะผิดปกติ, Laparoscopic Urologic Surgery
  • Link to doctor
    นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

    นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
  • Link to doctor
    นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

    นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

    • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

    นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    การเปลี่ยนไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตและการเปลี่ยนไตจากผู้เสียชีวิต, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ, การรักษาภาวะหย่อยสมรรถภาพทางเพศ, ชายวัยทอง