นิ่วในไต (Kidney stones) อาการ ปัจจัยเสี่ยง การวินิจฉัย และการรักษา

นิ่วในไต

ก้อนนิ่วในไตเกิดขึ้นเมื่อในปัสสาวะมีสาร เช่น แคลเซียม ออกซาเลต ซีสตีน หรือกรดยูริคอยู่ในระดับที่สูง หรือเมื่อดื่มน้ำน้อยเกินไป ผลึกเล็ก ๆ จากสารเหล่านั้นก่อตัวและโตอยู่ข้างในไต

แชร์

เลือกหัวข้อที่ต้องกาอ่าน


นิ่วในไต

ก้อนนิ่วในไตเกิดขึ้นเมื่อในปัสสาวะมีสาร เช่น แคลเซียม ออกซาเลต ซีสตีน หรือกรดยูริคอยู่ในระดับที่สูง หรือเมื่อดื่มน้ำน้อยเกินไป ผลึกเล็ก ๆ จากสารเหล่านั้นก่อตัวและโตอยู่ข้างในไต นิ่วในไตมักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ และสามารถขับออกทางปัสสาวะได้ตามธรรมชาติ เว้นแต่ว่าก้อนนิ่วไปอุดหรือปิดท่อปัสสาวะก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้ และจำเป็นต้องนำก้อนนิ่วออก เมื่ออายุ 70 ปี ผู้ชาย 1 ใน 5 คนและผู้หญิง 1 ใน 10 คนจะเป็นโรคนิ่วในไต

ปัจจัยเสี่ยงนิ่วในไต

ปัจจัยด้านอาหาร

  • ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
  • รับประทานผักปวยเล้งเป็นประจํา
  • รับประทานอาหารเสริมแคลเซียม
  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมหรือไฟเทตต่ำ (ไฟเทตพบได้ในข้าวไรย์ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และถั่ว)
  • รับประทานอาหารที่มีโปรตีนจากสัตว์ น้ำตาล(ซูโครส ฟรุกโตส) และโซเดียมสูง

ปัจจัยจากโรคหรือภาวะต่าง ๆ

ผู้ป่วยที่มีประวัติคนในครอบครัวสายตรงเป็นนิ่วในไตจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคสูง และเมื่อมีนิ่วในไตแล้วโอกาสเป็นโรคซ้ำอีกจะสูงด้วยเช่นกัน

อาการนิ่วในไต

ผู้ป่วยอาจมีก้อนนิ่วเป็นเวลาหลายปีโดยไม่มีอาการแสดงใด ๆ โดยอาจบังเอิญตรวจพบก้อนนิ่วจากการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพจากโรคอื่น ๆ แต่เมื่อร่างกายขับก้อนนิ่วผ่านไปยังระบบทางเดินปัสสาวะ ก็อาจจะก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • อาการปวดมักเกิดขึ้นเมื่อก้อนนิ่วอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ อาการปวดอาจเป็นความรู้สึกไม่สบายเพียงเล็กน้อยหรือปวดอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตามอาการปวดจะไม่หายไปเองหากไม่ได้รับการรักษา อาการปวดนิ่วไตอาจนานถึง 20-60 นาที อาการปวดมักจะเริ่มต้นจากด้านข้างหรือหน้าท้องส่วนล่างและแผ่ไปทางขาหนีบ ผู้ป่วยอาจะมีอาการเจ็บปวดเวลาปัสสาวะ
  • ปัสสาวะเป็นเลือดคือเมื่อปัสสาวะเป็นสีชมพูหรือสีแดง เลือดในปัสสาวะอาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าแต่สามารถตรวจพบได้ในห้องปฏิบัติการ
  • ปัสสาวะพร้อมมีเศษคล้ายก้อนกรวดที่เกิดจากก้อนนิ่วที่แตกเล็กลง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • รู้สึกอยากปัสสาวะบ่อย

นิ่วในไต (Kidney stones)

การตรวจวินิจฉัย

  • การซักประวัติทางการแพทย์และตรวจร่างกาย
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบไม่ให้สารทึบแสง การเอกซเรย์แบบทั่วไปอาจไม่สามารถตรวจพบก้อนนิ่วได้ในหลายกรณี
  • การตรวจอัลตราซาวด์ เหมาะสำหรับผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการได้รับรังสี เช่น เด็กและสตรีมีครรภ์ อย่างไรก็ตามการตรวจอัลตราซาวด์อาจไม่สามารถพบก้อนนิ่วที่มีขนาดเล็ก หรือก้อนที่อยู่ในท่อไตได้


การรักษา
นิ่วในไต

แพทย์จะพิจารณารูปแบบการรักษาที่เหมาะสม โดยดูจากระดับความเจ็บปวด ความสามารถในการดื่มน้ำ และขนาดและตําแหน่งของก้อนนิ่วที่คาดว่าจะหลุดออกได้เอง ถ้าผู้ป่วยสามารถทนต่อความเจ็บปวด รับประทานอาหารและดื่มน้ำได้ แพทย์อาจให้รักษาตัวที่บ้าน ในรายที่มีอาการปวดรุนแรง คลื่นไส้ หรือมีไข้ จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อรับสารเหลวทางหลอดเลือดดํา โดยการมีไข้อาจเกิดจากการติดเชื้อ

การดูแลรักษาตัวเองที่บ้าน

  • รับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • ยาช่วยขับก้อนนิ่วจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อท่อไตช่วยให้นิ่วถูกขับออกไปได้เร็วขึ้น ผู้ป่วยอาจจะต้องรับประทานยาเป็นเวลา 2-3 วันหรือสัปดาห์ เนื่องจากก้อนนิ่วไม่สามารถถูกกำจัดไปได้ในทันที
  • การกรองปัสสาวะเพื่อเก็บก้อนนิ่วมาตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม การตรวจประเภทของก้อนนิ่วจะช่วยวางแผนการรักษาที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

การรักษาที่โรงพยาบาล

ก้อนนิ่วที่มีขนาดใหญ่กว่า 9 - 10 มิลลิเมตรควรต้องให้แพทย์ผู้ชำนาญการด้านระบบทางเดินปัสสาวะลดขนาดหรือสลายก้อนนิ่ว

  • การส่องกล้องสลายนิ่วเป็นการใช้กล้องสอดผ่านท่อและกระเพาะปัสสาวะเข้าไปยังท่อไตที่เชื่อมกระเพาะปัสสาวะกับไต แพทย์จะลดขนาดหรือสลายนิ่วหากก้อนนิ่วไปอุดกั้นท่อปัสสาวะ
  • การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก (Shock wave lithotripsy) เป็นการส่งคลื่นเสียงความเข้มสูงไปสลายนิ่วเพื่อให้ร่างกายขับนิ่วออกมาได้ เหมาะกับผู้ที่มีนิ่วขนาด 1 เซนติเมตรหรือเล็กกว่าอยู่ในไตหรือท่อปัสสาวะด้านบน วิธีนี้ไม่เหมาะกับก้อนนิ่วขนาดใหญ่หรือแข็ง
  • การผ่าตัดนิ่วโดยการส่องกล้องเข้าไปในไต (Percutaneous nephrolithotomy) เป็นการผ่าตัดเอานิ่วในไตออกด้วยการใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก วิธีนี้มีประสิทธิภาพในการสลายนิ่วที่ซับซ้อนมีขนาดใหญ่

หากผู้ป่วยมีก้อนนิ่วที่แสดงอาการใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ถึงแผนการรักษาที่เหมาะสม โดยมากแพทย์มักแนะนําให้สลายนิ่ว

การป้องกันนิ่วในไต

เมื่อเป็นโรคนิ่วในไตแล้วมักมีโอกาสเป็นซ้ำได้ แพทย์อาจให้ทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินสุขภาพและความเสี่ยงของผู้ป่วย

  • การตรวจปัสสาวะ โดยผู้ป่วยจะต้องเก็บปัสสาวะที่ขับออกมาทั้งหมดภายในเวลา 24 ชั่วโมงเพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์
  • การตรวจก้อนนิ่วที่ถูกขับออกมา แพทย์จะให้เก็บก้อนนิ่วเพื่อนำมาตรวจดูสารประกอบ
  • การตรวจเลือด
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่าย

การดูแลรักษานิ่วในไต

กางป้องกันโรคนิ่วในไต

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 03 ก.พ. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

    นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

    นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ระบบสืบพันธ์ุ
  • Link to doctor
    นพ. วิรุณ  โทณะวณิก,พบ

    นพ. วิรุณ โทณะวณิก,พบ

    • ศัลยศาสตร์
    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    มะเร็งต่อมลูกหมาก, ฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
  • Link to doctor
    นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

    นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

    นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

    • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

    นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    การบีบขับปัสสาวะผิดปกติ, Laparoscopic Urologic Surgery
  • Link to doctor
    นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

    นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
  • Link to doctor
    นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

    นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

    รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

    นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    การเปลี่ยนไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตและการเปลี่ยนไตจากผู้เสียชีวิต, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ, การรักษาภาวะหย่อยสมรรถภาพทางเพศ, ชายวัยทอง
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

    ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ศ.นพ. กิตติณัฐ กิจวิกัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ.  วิชัย เจริญวงศ์

    นพ. วิชัย เจริญวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ