ตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วย Low-dose CT scan เหมาะกับใคร ขั้นตอนเป็นอย่างไร

ตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วย Low-dose CT scan

Low-dose CT scan (LDCT Scan) เป็นการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยปริมาณรังสีต่ำ ต่างจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบมาตรฐานทั่วไปตรงที่มีการใช้รังสีในปริมาณที่น้อยกว่ามาก

แชร์

การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วย Low-dose CT scan

Low-dose CT scan (LDCT Scan) เป็นการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยปริมาณรังสีต่ำ ต่างจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบมาตรฐานทั่วไปตรงที่มีการใช้รังสีในปริมาณที่น้อยกว่ามากในการถ่ายภาพเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ไอออนไนซ์ ผู้เข้ารับการรักษาจึงไม่ต้องกังวลว่าจะได้รับรังสีมากเกินไป เครื่องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์อันทันสมัยอย่างเช่นที่ใช้อยู่ที่โรงพยาบาลเมดพาร์คจะใช้ปริมาณรังสีต่ำมาก โดยไม่ลดทอนความสามารถในการวินิจฉัย และเป็นวิธีตรวจคัดกรองที่ไม่เจ็บ ไม่มีแผลผ่าตัด และใช้เวลาตรวจเพียงไม่กี่นาทีก็เสร็จ

LDCT Scan ถูกใช้ในการคัดกรองมะเร็งปอด โดยจะถ่ายภาพภายในทรวงอกของผู้รับบริการขณะที่กำลังนอนอยู่ ภาพถ่ายจะถูกนำมาประมวลและแสดงภาพของอวัยวะภายในอย่างละเอียด เนื่องจากภาพมีคุณภาพสูงจึงสามารถตรวจพบความผิดปกติเพียงเล็กน้อยหรือมะเร็งปอดระยะเริ่มต้นได้ โดยจากการศึกษาพบว่าสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดได้ถึง 20 % โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วย Low-dose CT Scan เหมาะกับใครบ้าง

  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำเท่ากับหรือมากกว่า 20 ซอง-ปี (จำนวนซองที่สูบต่อวัน คูณ จำนวนปีที่สูบ เท่ากับหรือมากกว่า 20 )และมีอายุระหว่าง 50-80 ปี
  • ผู้ที่สูดควันบุหรี่มือสองบ่อย ๆ
  • ผู้ที่มีอายุระหว่าง 50-80 ปี เคยมีประวัติสูบบุหรี่มากกว่า 20 ซอง-ปี และเลิกสูบบุหรี่มาน้อยกว่า 15 ปี
  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งปอด
  • ผู้ที่สัมผัสกับสารเคมีหรือก๊าซกัมมันตภาพเรดอน (Radon)
  • ผู้ที่อาศัยเป็นเวลานานในสถานที่ ที่มี ฝุ่น PM 2.5 และมลพิษทางอากาศสูง

นอกจากนี้ ควรมีสุขภาพแข็งแรงพอที่จะรักษาถ้าพบมะเร็งปอดโดยการผ่าตัด ฉายแสง และ/หรือ ให้เคมีบำบัด

ขั้นตอนการตรวจด้วย LDCT Scan

ก่อนเข้ารับการตรวจคัดกรอง Low-Dose CT Scan

ผู้เข้ารับการรักษาไม่จําเป็นต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามไม่ควรสวมใส่วัตถุที่เป็นโลหะ เช่น ต่างหู แหวนแต่งงาน ในวันที่ทําหัตถการ ในกรณีที่ตั้งครรภ์หรือคิดว่าอาจจะตั้งครรภ์ ให้แจ้งนักรังสีวิทยาทันที

ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดไม่จำเป็นต้องทำการฉีดสารทึบรังสี

ระหว่างการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วย Low-Dose CT Scan

ผู้เข้ารับการตรวจจะนอนหงายบนเตียงที่เคลื่อนที่ได้ ในการตรวจปอดนักรังสีวิทยาอาจขอให้ยกมือขึ้นเหนือศีรษะ หายใจเข้าและกลั้นหายใจ เตียงจะเคลื่อนเข้าไปยังเครื่องสแกนขณะที่ลําแสงเอกซเรย์ถูกฉายและเคลื่อนเป็นเกลียวไปรอบ ๆ ตัวผู้เข้ารับการรักษา การตรวจคัดกรองใช้เวลา 2-3 นาที ภาพที่ได้ถูกรวมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างภาพ 3 มิติ ซึ่งรังสีแพทย์จะแปลผลว่ามีความผิดปกติใด ๆ หรือไม่

หลังการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วย Low-Dose CT Scan

นักรังสีวิทยาจะส่งผลไปยังแพทย์ซึ่งจะอธิบายผลที่ได้ให้กับผู้เข้ารับการรักษา

  • Positive คือผลบวก หมายถึงตรวจพบความผิดปกติหรือก้อนเนื้อ แพทย์อาจให้ทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
  • Negative คือผลลบ หมายถึงไม่พบความผิดปกติ แพทย์อาจแนะนําให้ทําการตรวจคัดกรองเป็นประจำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประวัติความเสี่ยงและอาการของผู้ป่วย
  • Indeterminate คือผลไม่แน่ชัด หมายความว่าผลที่ได้ไม่เพียงพอที่จะแปลผลได้ อาจจำเป็นต้องทําการตรวจอีกครั้งในภายหลัง

การตรวจชนิดนี้สามารถตรวจพบมะเร็งในผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งบางชนิดที่โตเร็วได้ แต่อาจตรวจไม่พบมะเร็งประเภทที่เป็นฝ้าจาง (Ground-glass nodule)

Low Dose Ct Scan   Infographic Th

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 30 ม.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. วรวรรณ ศิริชนะ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    เวชบำบัดวิกฤต, อายุรกรรมทั่วไป, อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    นพ. ฐิติ ศรีเจริญชัย

    นพ. ฐิติ ศรีเจริญชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน, อายุรศาสตร์โรคปอด, เวชบำบัดวิกฤต
  • Link to doctor
    นพ. เกษม สิริธนกุล

    นพ. เกษม สิริธนกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, หายใจลำบาก, ไอเรื้อรัง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคถุงลมโป่งพอง, โรคมะเร็งปอด, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, โรคปอดบวม, คลินิกหยุดบุหรี่
  • Link to doctor
    นพ. กันต์ โอโกโนกิ

    นพ. กันต์ โอโกโนกิ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    เวชบำบัดวิกฤต, อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    • อายุรศาสตร์
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, อายุรศาสตร์โรคปอด, อายุรกรรมผู้สูงอายุ, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. วรการ วิไลชนม์

    นพ. วรการ วิไลชนม์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน, โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, เครื่องช่วยหายใจ, วัณโรค
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ, เวชบำบัดวิกฤต, อายุรกรรมทั่วไป