อาการ สาเหตุ โรคตาแดง Pink eye (Conjunctivitis)- Symptoms, Causes

โรคตาแดง Pink eye (Conjunctivitis)

โรคตาแดง เป็นโรคติดเชื้อที่เยื่อบุตาซึ่งเป็นเยื่อเมือกใสคลุมผิวลูกตาและด้านในของเปลือกตา เมื่อเยื่อบุตาติดเชื้อ หลอดเลือดจะขยายตัวชัดขึ้น ทำให้ดวงตามีสีชมพูหรือออกแดง

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


โรคตาแดง 

โรคตาแดง เป็นโรคติดเชื้อที่เยื่อบุตาซึ่งเป็นเยื่อเมือกใสคลุมผิวลูกตาและด้านในของเปลือกตา เมื่อเยื่อบุตาติดเชื้อ หลอดเลือดจะขยายตัวชัดขึ้น ทำให้ดวงตามีสีชมพูหรือออกแดง

สาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดโรคตาแดง คือ การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย อาการภูมิแพ้ และท่อน้ำตาอุดตันในทารกแรกเกิด

เมื่อเป็นโรคตาแดง ผู้ป่วยมักมีอาการระคายเคืองที่ดวงตา แต่มักไม่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น อาการระคายเคืองจะดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษา โรคตาแดงบางชนิดเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย การได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรคได้

โรคตาแดง มีอาการอย่างไร

  • ดวงตาแดง ระคายเคือง
  • รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา มีขี้ตา ตาแฉะ
  • น้ำตาไหล

ควรพบแพทย์เมื่อไร

หากมีอาการตาแดงที่พบร่วมกับอาการปวดตา เจ็บตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา ตามัว ตาไม่สู้แสง ควรพบแพทย์ทันที เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษา

เมื่อเป็นโรคตาแดง ผู้ป่วยควรหยุดใส่คอนแทคเลนส์ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 12-24 ชั่วโมง ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคและโรคทางตาอื่น ๆ ที่อาจเกิดจากการใส่คอนแทคเลนส์

โรคตาแดงเกิดจากอะไร

โรคตาแดงอาจเกิดจากสาเหตุดังนี้

  • การติดเชื้อไวรัส
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย
  • โรคภูมิแพ้
  • สารเคมีเข้าตา
  • สิ่งแปลกปลอมเข้าตา
  • ท่อน้ำตาอุดตันในเด็กแรกเกิด

โรคตาแดงจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย

สาเหตุของโรคตาแดงส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อไวรัสอะดีโน เชื้อชนิดอื่นที่ทำให้เกิดโรคตาแดงได้ เช่น เชื้อไวรัสโรคเริม  เชื้อไวรัสโรคงูสวัด และเชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่น ๆ รวมถึงเชื้อไวรัสโรคโควิด 19

เมื่อผู้ป่วยเป็นหวัดหรือติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ มีอาการเจ็บคอ ผู้ป่วยอาจเป็นโรคตาแดงซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียได้ การใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่สะอาดหรือการร่วมใช้คอนแทคเลนส์ของบุคคลอื่นอาจทำให้เป็นโรคตาแดงจากเชื้อแบคทีเรียได้เช่นกัน

โรคตาแดงจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียนั้นติดต่อกันได้ง่าย โดยผ่านทางสารคัดหลั่งจากดวงตาข้างที่ติดเชื้อ ซึ่งโรคตาแดงชนิดนี้อาจติดเชื้อข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้

ภูมิแพ้ที่เยื่อบุตา

โรคภูมิแพ้ที่เยื่อบุตา เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ละอองเกสร ซึ่งอาจมีผลต่อดวงตาทั้ง 2 ข้าง อิมมูโนโกลบูลิน อี (IgE) เป็นชนิดของแอนติบอดีที่ร่างกายผลิตเพื่อตอบสนองกับสารก่อภูมิแพ้  แมสต์เซลล์ (mast cell) ที่อยู่ในเมือกหุ้มตาและทางเดินหายใจจะถูกกระตุ้นให้หลั่งสารอักเสบที่เรียกว่า ฮีสตามีน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการตาแดงซึ่งเป็นอาการหนึ่งของภูมิแพ้

ผู้ป่วยภูมิแพ้ที่เยื่อบุตาอาจมีอาการจาม น้ำมูกใส คันตา น้ำตาไหล และตาอักเสบ อาการส่วนใหญ่มักทุเลาลงเมื่อใช้ยาหยอดตา

ภาวะเยื่อบุตาอักเสบจากการระคายเคือง

เมื่อสารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตาทำให้ตาระคายเคืองจนเกิดโรคเยื่อบุตาอักเสบได้ การพยายามล้างสารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอมก็อาจทำให้ดวงตาเกิดการระคายเคืองและตาแดงได้ อาการอื่นที่พบร่วมได้ เช่น น้ำตาไหล มีขี้ตา ซึ่งมักหายเองภายใน 1 วัน

ควรรีบพบแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้นหลังล้างทำความสะอาดตา หรือโดนสารเคมีประเภทด่างหรือโซดาไฟ เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็นอย่างถาวรได้ หรือ หากอาการไม่ดีขึ้นหลังล้างดวงตา สิ่งแปลกปลอมอาจยังคงอยู่ในตา ทำให้ครูดกระจกตาและตาขาวได้

โรคตาแดง อาการ สาเหตุ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นตาแดง

  • สัมผัสสารที่ก่อภูมิแพ้ ทำให้เกิดภูมิแพ้เยื่อบุตา
  • สัมผัสผู้ป่วยโรคตาแดงจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
  • สวมใส่คอนแทคเลนส์ โดยเฉพาะเลนส์ชนิดที่ใส่ข้ามคืน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคตาแดง

โรคตาแดงหรือเยื่อบุตาอักเสบเป็นสาเหตุของภาวะกระจกตาอักเสบซึ่งมีผลต่อการมองเห็นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้  ดังนั้นเมื่อมีอาการเจ็บตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา ตามัวมองไม่ชัด ตาไม่สู้แสง ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาทันที เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

โรคตาแดง มีวิธีป้องกันอย่างไร

เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ผู้ป่วยควรปฏิบัติตนตามสุขลักษณะที่ดี ดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา
  • ล้างมือสม่ำเสมอ
  • ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวที่สะอาดเท่านั้น
  • ไม่ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น
  • ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ทางดวงตาร่วมกับผู้อื่น
  • ทิ้งเครื่องสำอางที่ใช้กับดวงตาที่มีหรือกำลังใช้อยู่
  • เปลี่ยนปลอกหมอนบ่อย ๆ

โรคตาแดงติดต่อได้ง่ายแหมือนโรคหวัด หากสามารถปฏิบัติตัวตามสุขลักษณะที่ดีได้ ผู้ป่วยอาจสามารถกลับไปทำงานหรือไปโรงเรียน ในกรณีที่ไม่สามารถลาหยุดได้

การป้องกันโรคตาแดงในเด็กวัยแรกเกิด

ดวงตาของเด็กแรกเกิดจะสัมผัสกับแบคทีเรียทางช่องคลอดของมารดา ซึ่งแบคทีเรียดังกล่าวไม่มีผลใด ๆ ต่อตัวมารดา แต่อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ดวงตาในทารกแรกเกิด ซึ่งอาจเกิดเยื่อบุตาอักเสบรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อรักษาการมองเห็น  โดยทั่วไปเด็กทารกแรกเกิดจะได้รับการป้ายยาปฏิชีวนะที่ดวงตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

โรคตาแดงในเด็กแรกเกิด

โรคตาแดง มีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร

ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องไปที่โรงพยาบาล แพทย์สามารถทำการตรวจวินิจฉัยจากการถามอาการและตรวจสอบประวัติของผู้ป่วย

ในบางรายอาจจำเป็นต้องนำตัวอย่างสารคัดหลั่งในดวงตาไปตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ โดยมักตรวจในรายที่มีความรุนแรงหรือเสี่ยงสูง เช่นการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรง หรือมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา

โรคตาแดง มีวิธีการรักษาอย่างไร

การรักษาโรคตาแดงโดยมากเป็นการบรรเทาอาการ ซึ่งได้แก่ การใช้ยาหยอดตา การทำความสะอาดเปลือกตาด้วยผ้าเปียก หรือการใช้ผ้าประคบร้อนหรือเย็น

ควรหยุดใช้คอนแทคเลนส์จนกว่าจะหาย แพทย์อาจแนะนำให้ทิ้งคอนแทคเลนส์แบบใช้แล้วทิ้งที่ผู้ป่วยมีอยู่

หากใส่คอนแทคเลนส์ชนิดใส่ระยะยาว ควรทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ชนิดใส่ระยะยาวก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ และควรปรึกษาแพทย์ว่าควรเปลี่ยนกล่องใส่คอนแทคเลนส์ที่ใช้ก่อนหรือระหว่างที่เป็นโรคตาแดงหรือไม่  รวมถึงควรหยุดใช้และทิ้งเครื่องสำอางที่ใช้กับดวงตาก่อนเกิดอาการ

โดยทั่วไปยาหยอดตาฆ่าเชื้อปฏิชีวนะนั้นไม่จำเป็น เนื่องจากอาการตาแดงมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส  การใช้ยาฆ่าเชื้อปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นอาจทำให้เกิดการแพ้ยาหรือเชื้อดื้อยาได้  การติดเชื้อไวรัสมักหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ โดยอาการมักเริ่มจากดวงตาเพียงข้างเดียว จากนั้นอีก 2-3 วันก็อาจลามไปติดอีกข้าง แต่ในท้ายที่สุดก็จะหายได้เอง

ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคตาแดงจากเชื้อไวรัสอันมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสโรคเริมอาจต้องใช้ยาต้านไวรัสในการรักษาร่วมด้วย

การรักษาโรคภูมิแพ้เยื่อบุตา

ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้เยื่อบุตาจำเป็นต้องใช้ยาหยอดตาเฉพาะ ซึ่งมีสารต้านฮีสตามีนและยาระงับการหลั่งสารจากแมสต์เซลล์ (mast cell stabilizer) เพื่อควบคุมอาการแพ้ ยาหยอดตาอาจมีส่วนผสมของยาหดหลอดเลือด สเตียร์รอยด์ และยาลดการอักเสบ

การใช้ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของสารต้านฮีสตามีนและยาลดการอักเสบที่หาซื้อได้ทั่วไปสามารถช่วยบรรเทาอาการได้  ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมว่าผู้ป่วยควรใช้ยาหยอดตาชนิดใด

และควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้เพื่อบรรเทาอาการภูมิแพ้เยื่อบุตา

การดูแลรักษาที่บ้านและการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต

เพื่อบรรเทาอาการด้วยตนเองที่บ้าน ผู้ป่วยสามารถทำได้ดังต่อไปนี้

  • ใช้ผ้าประคบเย็นหรือร้อน
    ผู้ป่วยสามารถทำผ้าประคบดวงตา โดยแช่ผ้าสะอาด ไม่เป็นขุยลงในน้ำเย็นหรือน้ำอุ่น บิดให้หมาดและประคบลงบนดวงตาที่มีอาการ ความเย็นจะช่วยบรรเทาอาการได้ หากผู้ป่วยชอบความอุ่นก็ใช้ผ้าประคบอุ่นได้เช่นกัน ไม่ควรใช้ผ้าผืนเดียวกันประคบดวงตาอีกข้างที่ไม่ติดเชื้อเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  • ยาหยอดตา
    ยาหยอดตาสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ ยาหยอดตาบางชนิดหรือน้ำตาเทียมที่มีสารต้านฮีสตามีน หรือยาชนิดอื่น ๆ ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้เยื่อบุตาได้
  • คอนแทคเลนส์
    ควรหยุดใช้คอนแทคเลนส์ ระยะเวลาที่ควรหยุดใส่ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค

      ควรปรึกษาแพทย์ว่าจำเป็นต้องซื้อคอนแทคเลนส์แบบใช้แล้วทิ้ง น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ และกล่องใส่คอนแทคเลนส์ใหม่หรือไม่  สำหรับคอนแทคเลนส์ชนิดใส่ได้ในระยะยาว ควรทำความสะอาดฆ่าเชื้อก่อนนำกลับมาใช้ใหม่

      โรคตาแดง วินิจฉัย การรักษา

      การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์

      หากผู้ป่วยมีอาการเกี่ยวกับดวงตาที่กังวลใจอยู่ ควรไปพบแพทย์ และจำเป็นต้องพบจักษุแพทย์หากมีอาการแย่ลง

      สิ่งที่ผู้ป่วยควรเตรียมตัวก่อนพบแพทย์

      ผู้ป่วยควรสอบถามว่ามีข้อห้ามใด ๆ ที่ควรทำก่อนพบแพทย์หรือไม่ ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องหยุดใช้ยาหยอดตาหรือคอนแทคเลนส์ และจดบันทึกเรื่องต่อไปนี้

      • อาการที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวข้องกับโรคตาแดง
      • ยาและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่รับประทานอยู่
      • คำถามที่ต้องการถามแพทย์

      ตัวอย่างคำถามที่ผู้ป่วยอาจถามแพทย์

      • โรคตาแดงเกิดจากอะไร
      • จำเป็นต้องตรวจอะไรเพิ่มเติมหรือไม่
      • วิธีการรักษามีอะไรบ้าง
      • หลังเริ่มการรักษา ยังสามารถแพร่เชื้อได้หรือไม่
      • มียาตัวเลือกอื่น ๆ ที่แพทย์แนะนำได้หรือไม่
      • สามารถหาข้อมูลเรื่องโรคตาแดงเพิ่มเติมได้จากที่ใด
      • จำเป็นต้องมาพบแพทย์เพื่อติดตามอาการหรือไม่

      คำถามที่แพทย์อาจจะถาม

      ตัวอย่างคำถามที่แพทย์อาจจะถาม

      • อาการเริ่มขึ้นเมื่อไร
      • มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ หรือเป็นต่อเนื่องกัน
      • มีอาการรุนแรงหรือไม่
      • อะไรที่สามารถช่วยบรรเทาอาการนั้นๆได้
      • อะไรที่ทำให้อาการรุนแรงขึ้น
      • มีอาการในตาข้างเดียว หรือทั้ง 2 ข้าง
      • ปกติใส่คอนแทคเลนส์หรือไม่
      • ดูแลและทำความสะอาดคอนเทคเลนส์อย่างไร
      • เปลี่ยนกล่องใส่คอนแทคเลนส์บ่อยหรือไม่
      • สัมผัสผู้ป่วยโรคหวัด เป็นไข้หวัดใหญ่ หรือตาแดงบ้างหรือไม่

      สิ่งที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ระหว่างรอพบแพทย์

      หยุดใส่คอนแทคเลนส์จนกว่าจะได้รับการรักษาจนหาย ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อลดการแพร่เชื้อ ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดตัวหรือ ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น




      บทความโดย

      พญ.ฐิติมา หวังเจริญ
      จักษุแพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระจกตาและการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ

      ประวัติแพทย์

      บทความโดย

      เผยแพร่เมื่อ: 16 มี.ค. 2022

      แชร์

      แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

    • Link to doctor
      พญ. ฐิติมา หวังเจริญ

      พญ. ฐิติมา หวังเจริญ

      • จักษุวิทยา
      • จักษุวิทยากระจกตา
      • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
      • โรคของกระจกตา
      โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดลอกต้อเนื้อโดยไม่เย็บ, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
    • Link to doctor
      พญ. วิมลรัตน์ ประทีปะเสน

      พญ. วิมลรัตน์ ประทีปะเสน

      • จักษุวิทยา
      • จักษุวิทยากระจกตา
      • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
      การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
    • Link to doctor
      รศ.พิเศษ นพ. ภาคภูมิ คัมภีร์พันธุ์

      รศ.พิเศษ นพ. ภาคภูมิ คัมภีร์พันธุ์

      • จักษุวิทยา
      • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
      การผ่าตัดต้อกระจก, ผ่าตัดต้อกระจกหลังทำเลสิก, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ใส่คอนแทคเลนส์, โรคกระจกตาโก่ง, การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยสายตาเลือนรางและเทคโนโลยีช่วยการมองเห็น
    • Link to doctor
      พญ. วรรณรัตน์ สาธิตพิฐกุล

      พญ. วรรณรัตน์ สาธิตพิฐกุล

      • จักษุวิทยา
      • จักษุวิทยากระจกตา
      • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
      โรคตาแห้งและโรคกระจกตา, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, ต้อกระจก
    • Link to doctor
      พญ. มณฑิรา เจิมจุติธรรม

      พญ. มณฑิรา เจิมจุติธรรม

      • จักษุวิทยา
      • จักษุวิทยากระจกตา
      • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
      โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, Ophthalmology, โรคต้อเนื้อ, โรคตาแห้งและโรคกระจกตา, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
    • Link to doctor
      พญ. สุภาวดี เอื้อจงมานี

      พญ. สุภาวดี เอื้อจงมานี

      • จักษุวิทยา
      • จักษุวิทยากระจกตา
      • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
      โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, ภาวะสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, โรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอุตตัน, การผ่าตัดต้อกระจก
    • Link to doctor
      ศ.พญ. งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ

      ศ.พญ. งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ

      • จักษุวิทยา
      • จักษุวิทยากระจกตา
      • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
      โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, โรคต้อเนื้อและการผ่าตัดโดยใช้กาวชีวภาพ, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาโดยใช้สเต็มเซลล์, การผ่าตัดต้อกระจก
    • Link to doctor
      พญ. อุษณีย์ เหรียญประยูร

      พญ. อุษณีย์ เหรียญประยูร

      • จักษุวิทยา
      • จักษุวิทยากระจกตา
      • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
      โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคต้อเนื้อและการผ่าตัดโดยใช้กาวชีวภาพ, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาโดยใช้สเต็มเซลล์, การผ่าตัดต้อกระจก
    • Link to doctor
      พญ.   ณัฐรินทร์   ภูษิตโภยไคย

      พญ. ณัฐรินทร์ ภูษิตโภยไคย

      • จักษุวิทยา
      • จักษุวิทยากระจกตา
      • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
      Ophthalmology, โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ