ผิวแตกลาย รอยแตกตามร่างกาย - Stretch Marks (Striae)

ผิวแตกลาย รอยแตกตามร่างกาย (Stretch Marks)

ผิวแตกลาย หรือ รอยแตกลาย มักปรากฎเป็นรอยเส้นบุ๋มลงไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น หน้าอก ท้อง สะโพก และบั้นท้าย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์มักจะมีรอยแตกลายปรากฎขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์

แชร์

ผิวแตกลาย หรือ รอยแตกลาย

ผิวแตกลาย หรือ รอยแตกลาย มักปรากฎเป็นรอยเส้นบุ๋มลงไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น หน้าอก ท้อง สะโพก และบั้นท้าย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์มักจะมีรอยแตกลายปรากฎขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ แม้ว่าผิวแตกลายจะไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ หรือไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ บางคนอาจจะรู้สึกไม่ชอบใจที่มีรอยเหล่านี้อยู่ โดยปกติแล้วการรักษาผิวแตกลายนั้นไม่จำเป็นเพราะไม่อันตรายและรอยบางส่วนอาจจะจางลงได้บ้างตามธรรมชาติ

อาการผิวแตกลาย

แต่ละคนนั้นอาจมีอาการผิวแตกลายต่างกันไป แต่อาการทั่วไปที่มีได้แก่

  • รอยแตกลายมีลักษณะเป็นเส้นบุ๋มลงไป มีสีชมพู แดง ม่วง น้ำตาลแดง น้ำตาลเข้ม ขึ้นอยู่กับผิวของแต่ละบุคคล
  • รอยแตกลายมักพบที่หน้าอก ท้อง บั้นท้าย หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

ผิวแตกลายควรไปพบแพทย์หรือไม่ และเมื่อไหร่?

หากมีความกังวลเรื่องรอยบนผิวหรือรอยแตกลายขยายและครอบคลุมเป็นบริเวณกว้าง สามารถพูดคุยกับแพทย์ได้

  • หาสาเหตุที่ทำให้ผิวแตกลาย
  • พูดคุยถึงทางเลือกในการรักษาที่เหมาะสมกับสถานการณ์เฉพาะบุคคล
  • เข้ารับคำแนะนำในการจัดการและทำให้รอยจางลง
  • พูดคุยปรึกษาเรื่องอื่นที่กังวลหรือถามคำถามที่มี

Stretch Marks (striae) Banner 2

สาเหตุที่ผิวแตกลาย

ผิวแตกลายเกิดจากการที่ผิวหนังมีการยืดตัวอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันนี้ทำให้เส้นใยคอลลาเจนและอีลาสตินที่ทำให้ผิวหนังของเราคงตัวและยืดหยุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและรูปร่าง และเมื่อผิวสมานตัวจึงเกิดเป็นรอยแตกลายบริเวณผิวหนังขึ้นมาได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผิวแตกลาย

  • ยีนหรือกรรมพันธุ์
  • การตั้งครรภ์ 
  • การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงที่เป็นวัยรุ่น
  • น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว
  • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนอย่างรวดเร็ว
  •  การออกกำลังกายที่มีการเติบโตของกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว
  • โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคคุชชิงซินโดรม (Cushing syndrome) และโรคมาร์แฟนซินโดรม (Marfan syndrome)

การตรวจวินิจฉัยผิวแตกลาย

แพทย์จะซักประวัติและดูประวัติสุขภาพ ทำการตรวจร่างกาย และอาจให้ทำการทดสอบเพิ่มเติมหากสงสัยว่ารอยแตกลายเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ

Stretch Marks (striae) Banner 3

การรักษาผิวแตกลาย และการดูแลตนเอง

ครีม ขี้ผึ้ง หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่โฆษณาว่าสามารถป้องกันหรือรักษารอยแตกลายได้ เช่น โกโก้บัตเตอร์ วิตามิน อี กรดไกลโคลิก มักมีประสิทธิภาพจำกัดและไม่ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน การรักษาผิวแตกลายนั้นมักไม่จำเป็นเนื่องจากรอยแตกลายไม่มีอันตราย การรักษาอาจจะช่วยให้รอยดูจางลงหรือช่วยบรรเทาอาการคัน แต่ก็ไม่รับประกันว่าจะหายไปได้ทั้งหมด หากมีความกังวล สามารถพูดคุยกับแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมหรือใช้วิธีการรักษาหลายวิธีร่วมกัน ปัจจัยในการเลือกวิธีการรักษานั้นขึ้นอยู่กับว่าอายุของรอยแตกลาย ประเภทของผิว ความสะดวกในการเข้ารับการรักษา (การรักษาบางประเภทอาจจำเป็นต้องเข้ามารับการรักษาหลายครั้ง) และความคาดหวังเรื่องผลลัพธ์ของการรักษา

ครีมเรตินอล

สามารถทาครีมที่มีส่วนผสมของเรตินอลที่รอยแตกลาย ในช่วงระยะแรกของรอยแตกลายเพื่อช่วยทำให้รอยแตกลายชัดน้อยลงได้ ยังช่วยในการสร้างคอลลาเจนในรอยแตกลายได้  แต่เรตินอลอาจทำให้ผิวหนังระคายเคืองได้ หญิงตั้งครรภ์หรือมารดาที่กำลังให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ เนื่องจากอาจส่งผลต่อบุตร

การรักษาด้วยหัตถการทางผิวหนัง

การรักษาด้วยหัตถการทางผิวหนังโดยแพทย์ผิวหนัง ช่วยให้รอยแผลแตกลายเห็นชัดน้อยลงหรือบรรเทาอาการคันได้ แต่อาจจะไม่สามารถทำให้รอยแตกลายหายไปได้ทั้งหมด

  • รักษาผิวแตกลายด้วยการผลัดลอกเซลล์ผิว
  • การใช้เลเซอร์และแสงเข้มข้น เพื่อรักษาผิวแตกลาย
  • รักษาผิวแตกลายด้วยการกรอผิว และการใช้เข็มขนาดเล็ก
  • การใช้คลื่นวิทยุ เพื่อกระตุ้นคอลลาเจนบริเวณผิวที่แตกลาย
  • รักษาผิวแตกลายด้วยการการใช้อัลตราซาวด์

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 05 ต.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. มาริษา พงศ์พฤฒิพันธ์

    พญ. มาริษา พงศ์พฤฒิพันธ์

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    ตจวิทยา โรคผิวหนัง
  • Link to doctor
    พญ. ณิชา รังสิมานนท์

    พญ. ณิชา รังสิมานนท์

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง, เลเซอร์ผิวหนังด้านความงาม, การรักษาผิวหนังด้านความงาม, ตรวจรักษาโรคผิวหนังทั่วไป, ตจวิทยา โรคผิวหนัง
  • Link to doctor
    นพ. ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ

    นพ. ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    ตจวิทยา โรคผิวหนัง, ภูมิคุ้มกันผิวหนัง
  • Link to doctor
    พญ. นัทธมน บวรสถิตชัย

    พญ. นัทธมน บวรสถิตชัย

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    การรักษาเกี่ยวกับความงาม, สิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, รอยสิว, ผื่นแพ้สัมผัส, ผื่นผิวหนังอักเสบและสะเก็ดเงิน, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคผิวหนังจากภูมิคุ้มกันตัวเอง, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, การดูแลกระชับเรือนร่าง
  • Link to doctor
    นพ. วิชญ์ แสงสุวรรณ

    นพ. วิชญ์ แสงสุวรรณ

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    • โรคผมร่วงและการผ่าตัดปลูกผม
    การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดฟิลเลอร์, สิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, รอยสิว, ผื่นแพ้สัมผัส, ผื่นผิวหนังอักเสบและสะเก็ดเงิน, โรคผิวหนังจากภูมิคุ้มกันตัวเอง, โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง , โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, การดูแลกระชับเรือนร่าง, การรักษาผิวหนังด้านความงาม, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากผื่นแพ้สัมผัส, โรคผิวหนังอักเสบ, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, เลเซอร์ผิวหนังด้านความงาม, เลเซอร์รักษาผิวหนังหย่อนยาน, เลเซอร์รักษาจุดด่างดำ, เลเซอร์กระชับรูปร่าง, การใช้แสงเลเซอร์รักษาผมบาง, รักษาหลุมสิว, การรักษาโรคผมร่วงและการผ่าตัดปลูกผม, ตจวิทยา โรคผิวหนัง
  • Link to doctor
    พญ. กาญจนา บุญชู

    พญ. กาญจนา บุญชู

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    ตจศัลยศาสตร์, ตจวิทยา โรคผิวหนัง, การรักษาเกี่ยวกับความงาม
  • Link to doctor
    พญ. ญาดา อิทธิพานิชพงศ์

    พญ. ญาดา อิทธิพานิชพงศ์

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    ผ่าตัดบริเวณผิวหนัง, ผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง, ฝ้าและโรคของเม็ดสี, การรักษาผิวหนังด้านความงาม, การดูแลกระชับเรือนร่าง, การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น, การฉีด Botulinum Toxin, การฉีดฟิลเลอร์, Vein Sclerotherapy, Mesotherapy, Anti-aging and Regenerative Medicine, ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง, ผ่าตัดผิวหนังและเล็บ, รอยสิว, สิว, โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย, ผื่นแพ้สัมผัส, ตรวจรักษาโรคผิวหนังทั่วไป
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. ปุณวิศ สุทธิกุลณเศรษฐ์

    • ตจวิทยา (โรคผิวหนัง)
    • ตจพยาธิวิทยา
    ตจวิทยา โรคผิวหนัง