เวชบำบัดวิกฤติ

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลเมดพาร์ค

โทร. โทร. 02-023-3333

24 ชั่วโมง

เวชบำบัดวิกฤติ

ผู้ป่วยวิกฤติ หมายถึงผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง มีโอกาสที่จะสูญเสียอวัยวะ หรือสูญเสียชีวิตได้เสมอ มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤติ หรือ ICU (Intensive Care Unit) ที่ถูกออกแบบให้พร้อมสำหรับการดูแลทั้งโรคพื้นฐาน โรคแทรกซ้อน และโรคยากซับซ้อน โดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางด้านเวชบำบัดวิกฤติ
โรคยากซับซ้อนไม่ได้มีความหมายเพียงแค่เป็นโรคที่รักษายากเพียงอย่างเดียวเท่านั้น สาเหตุที่โรครักษายาก อาจเป็นเพราะในหลาย ๆ ครั้ง มีโรคที่เกิดขึ้นพร้อมกันหลาย ๆ โรค และที่เป็นโรคซับซ้อนเป็นเพราะมีโรคร้ายหลายโรค ซ้อนทับอยู่ในเวลาเดียวกัน จึงทำให้การรักษานั้นเป็นไปได้ยากมากกว่าที่ควรจะเป็น และทำให้ผู้ป่วยโรคยากซับซ้อนอยู่ในภาวะวิกฤติที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ดังนั้น แนวทางในการรักษาผู้ป่วยวิกฤติ จึงไม่ได้มองแค่การรักษาโรคที่เป็นต้นเหตุของอาการเจ็บป่วยร้ายแรงเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งสำคัญที่สุดนั่นคือการพยุงชีวิตของผู้ป่วย ด้วยการรักษาแบบประคับประคองอาการ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตรอดผ่านพ้นภาวะวิกฤติ และพร้อมที่จะเข้ารับการรักษาอื่น ๆ ให้หายจากโรคร้ายในอนาคต

ทำไมถึงควรเลือกรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านเวชบำบัดวิกฤติ ที่โรงพยาบาลเมดพาร์ค

  • การทำงานเป็นทีมของอาจารย์แพทย์ชำนาญการด้าน Critical Care ที่มีประสบการณ์สูง แพทย์ประจำหน่วยเวชบำบัดวิกฤติที่โรงพยาบาลเมดพาร์คทุกคนล้วนเป็นอาจารย์แพทย์ประจำโรงเรียนแพทย์ ที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยวิกฤติ และมีประสบการณ์ในการสอนนักศึกษาแพทย์ อีกทั้งยังได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองจากต่างประเทศ ทั้งอเมริกันบอร์ด และประกาศนียบัตรรับรองภายในประเทศ
  • พร้อมประสานงานกับแพทย์แผนกอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการดูแลผู้ป่วยวิกฤตินั้น จำเป็นต้องอาศัยการประสานงานร่วมกันระหว่างแพทย์เวชบำบัดวิกฤติ ร่วมกับแพทย์ประจำศูนย์อื่นที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วยวิกฤติในแต่ละราย เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ เพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต และให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติอีกครั้งอย่างเร็วที่สุด
  • ทีมบุคลากรทางการแพทย์ มีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยวิกฤติ ไม่ว่าจะเป็นทีมพยาบาลฉุกเฉินวิกฤติ นักโภชนาการ นักจิตบำบัด ทีมงานบุคลากรทางการแพทย์ของเราทุกคนล้วนเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยวิกฤติ 
  • แพทย์ประจำหน่วย Critical Care มีความชำนาญเฉพาะทาง พร้อมดูแลผู้ป่วยวิกฤติในทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ป่วยหนักทางระบบประสาท ผู้ป่วยหนักทางระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยหนักทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยหนักทางอายุรกรรม และ ผู้ป่วยหนักทางศัลยกรรม

โรคและภาวะผิดปกติ ที่จำเป็นต้องรักษาในห้อง ICU

  • ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ
  • ภาวะช็อกจากโรคหัวใจ
  • ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคหอบหืดรุนแรง
  • กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน
  • ไข้หวัดใหญ่ซึ่งมีภาวะแทรกซ้อน
  • ตับวายเฉียบพลัน
  • ไตวายเฉียบพลัน
  • ปอดอักเสบขั้นรุนแรง
  • ภาวะช็อก
  • ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอดเฉียบพลันและรุนแรง
  • ภาวะเลือดออกในสมอง
  • โรคติดเชื้อทางเดินน้ำดี
  • โรคติดเชื้อแผลเบาหวานรุนแรง
  • สมองบวม
  • หัวใจวาย
  • อวัยวะล้มเหลวหลายระบบ

บริการของแพทย์เฉพาะทางด้านเวชบำบัดวิกฤติ

โปรแกรมการรักษาผู้ป่วยวิกฤตินั้น คือโปรแกรมการรักษาที่เร่งด่วน ต้องตัดสินใจทุกอย่างด้วยความรอบคอบ เริ่มตั้งแต่การรับผู้ป่วยที่ถูกส่งมาจากแผนกฉุกเฉิน จากนั้นจะเริ่มการตรวจวินิจฉัย และทำการรักษาอย่างแม่นยำ ทุกการตัดสินใจเกิดจากการ ตรวจวัดค่าสัญญาณชีพ และตัวเลขบ่งบอกสถานะต่าง ๆ ของผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด และพร้อมบริการดูแลรักษาผู้ป่วยวิกฤติด้วยหัตถการพิเศษเช่น

  • การใช้เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด หรือเครื่อง ECMO
  • การใช้เครื่องตับเทียม
  • การล้างเลือด เพื่อล้างการอักเสบของเลือดในคนไข้ติดเชื้อรุนแรง
  • การใส่สายสวนเพื่อวัดความดันในเส้นเลือด
  • การใส่สายสวนสำหรับการฟอกไต
  • การใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิต เช่น เครื่องช่วยหายใจ เครื่องกระตุ้นหัวใจ เป็นต้น

อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการพยุงชีพผู้ป่วยวิกฤติ

เพราะการดูแลผู้ป่วยวิกฤตินั้น ไม่ได้มองแค่การรักษาโรคที่เป็นต้นเหตุของปัญหาเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นจะต้องดูแลอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนที่จะทำการรักษาสำเร็จได้ ดังนั้น อุปกรณ์ที่สำคัญของแผนกจึงเป็นอุปกรณ์สำหรับการช่วยพยุงอวัยวะและสุขภาพในทุกระบบในร่างกาย เพื่อช่วยพยุงชีพผู้ป่วยให้สามารถดำเนินชีวิตต่อได้จนกว่าจะทำการรักษาโรคสำเร็จ โดยอุปกรณ์ที่สำคัญ ได้แก่

  • เครื่องพยุงปอดและหัวใจ (ECMO) เป็นอุปกรณ์สำหรับการพยุงปอดและหัวใจที่เกิดภาวะล้มเหลว ด้วยการล้างเลือด นำออกซิเจน และถ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ออก ช่วยในการทำงานของปอดและหัวใจ ช่วยพยุงผู้ป่วยให้มีโอกาสได้รับการรักษาชีวิตและโรคร้ายแรงได้
  • เครื่องตับเทียม อุปกรณ์สำหรับการพยุงตับที่ล้มเหลว มีหน้าที่ในการกำจัดสารพิษออกจากตับ 
  • เครื่องไตเทียมสำหรับผู้ป่วยวิกฤติ อุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดทดแทนไต เพื่อนำของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากเลือดของผู้ป่วย เปลี่ยนให้เลือดเสียกลายเป็นเลือดดี แล้วส่งกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง เพื่อช่วยปรับสมดุลในร่างกายของผู้ป่วยที่มีภาวะไตล้มเหลว
  • เครื่องช่วยหายใจ อุปกรณ์สำหรับช่วยพยุงชีพผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลว ไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเองเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เพื่อช่วยส่งออกซิเจนผ่านท่อหายใจ ประคับประคองชีพให้กับผู้ป่วย
  • เครื่องล้างเลือด เพื่อลดการอักเสบในคนไข้ติดเชื้อรุนแรง

เผยแพร่เมื่อ: 19 เม.ย. 2024

แชร์