ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก

ชั้น 20 เคาน์เตอร์ A (WEST Lift)

โทร. 02-090-3020

Monday - Friday 8:00 am.- 8:00 pm./ Weekend 8:00 am.- 4:00 pm.

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เมดพาร์คไอวีเอฟ

ศูนย์ให้คำปรึกษาและรักษาผู้มีปัญหามีบุตรยาก ตั้งแต่การค้นหาสาเหตุ รักษาในสาเหตุที่แก้ไขได้ และใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

นอกจากนี้ยังช่วยให้คำปรึกษาเตรียมความพร้อมด้านการมีบุตร เพื่อค้นหาความเสี่ยงต่าง ๆ และปรับการใช้ชีวิตให้เหมาะสมเพื่อให้กำเนิดบุตรที่มีสุขภาพดีและแข็งแรงในอนาคต

ในคู่ที่มีความเสี่ยงโรคทางพันธุกรรมที่จะถ่ายทอดจากบิดามารดาไปยังบุตร ใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์และการแยกเซลล์ของตัวอ่อนส่งตรวจทางพันธุกรรม เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคทางพันธุกรรมในบุตรที่จะเกิดมาในอนาคต

  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมีบุตรยากและเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์โดยตรง
    ทีมสูตินรีแพทย์ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่เมดพาร์คไอวีเอฟเป็นสูตินรีแพทย์ที่ได้ผ่านการศึกษาอบรมมาด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทำเด็กหลอดแก้วโดยตรง จึงมีประสบการณ์และความชำนาญในด้านนี้โดยเฉพาะ
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ
    นอกจากนี้ในทีมยังมีศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะที่มีความเชี่ยวชาญด้านอวัยวะสืบพันธ์ุเพศชายและความผิดปกติด้านการเจริญพันธุ์ของฝ่ายชายโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น ภาวะไม่แข็งตัว หลั่งเร็ว หลั่งช้า หรือไม่สามารถหลั่งอสุจิได้
  • ดูแลด้วยความใส่ใจ เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย มีความชัดเจน
    เนื่องจากการรักษาภาวะมีบุตรยาก เป็น การรักษาที่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อน เมดพาร์คไอวีเอฟมีทีมพยาบาลเฉพาะทางด้านมีบุตรยาก ที่คอยเอาใจใส่ดูแลและตอบคำถามในเบื้องต้น ให้ท่านที่อยู่ในกระบวนการรักษาสามารถถามคำถามและคลายข้อสงสัย มีข้อมูลที่ชัดเจน ตอบปัญหาที่ท่านประสบระหว่างกระบวนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    นอกจากนี้การรักษาภาวะมีบุตรยากมักทำให้เกิดความเครียด ทางทีมพยาบาลของเรามีทัศนคติที่ดีในการดูแลคนไข้ เนื่องจากมีความคุ้นเคยกับผู้ป่วยที่อยู่ในกระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยาก จึงมีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ พร้อมอยู่เคียงข้างเสมอ ในวันที่คนไข้ต้องการ
  • นักวิทยาศาสตร์เลี้ยงตัวอ่อนมากฝีมือและประสบการณ์
    สำหรับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์นั้น อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จของการรักษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อน เมดพาร์คไอวีเอฟ มีทีมนักวิทยาศาสตร์มากฝีมือที่มีประสบการณ์ ด้านการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน มาไม่ต่ำกว่า 10 ปี นอกจากนี้ ยังได้รับใบรับรองระดับนานาชาติจาก ESHRE (European Society of Human Reproduction and Embryology) อีกด้วย
  • ห้องปฎิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนที่สะอาดได้มาตรฐาน
    เมดพาร์คไอวีเอฟมีห้องปฏิบัติการที่ใหม่และทันสมัย มีการควบคุมปริมาณอนุภาค ฝุ่นละออง สารเคมีและปัจจัยต่างๆที่เป็นอันตรายต่อเซลล์สืบพันธ์และตัวอ่อน ไม่ให้เกินระดับที่กำหนด มีระบบควบคุมอุณหภูมิ แรงดัน และระดับความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมตลอดเวลาภายในห้องปฏิบัติการ
  • เทคโนโลยีทันสมัย คัดเลือกตัวอ่อนด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์
    เมดพาร์คไอวีเอฟมีเครื่องมือที่ทันสมัย มีเครื่องเพาะเลี้ยงตัวอ่อนและจับภาพวิดีโอตัวอ่อนตลอดเวลาด้วยเทคโนโลยี Timelapse และใช้ AI ปัญญาประดิษฐ์ช่วยในการคัดเลือกตัวอ่อนที่คุณภาพดี เพื่อการย้ายฝากตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก ให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป

บริการตรวจวินิจฉัย

การรักษา

  • การรักษาตามสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
  • การรักษาด้วยการฉีดเชื้อผสมเทียม (Intrauterine Insemination, IUI)
  • การรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
  • การแยกเซลล์จากตัวอ่อน เพื่อส่งตรวจทางพันธุกรรม 
    • การคัดเลือกตัวอ่อนที่มีจำนวนโครโมโซมปกติ (PGT-A)
    • การคัดกรองโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีนตัวใดตัวหนึ่ง (PGT-M) หรือ จากการย้ายที่ของบางส่วนของโครโมโซม ไปในตำแหน่งอื่นในโครโมโซมเดียวกันหรือโครโมโซมอื่น (PGT-SR) จากบิดาหรือมารดาไปสู่บุตร
  • การให้คำปรึกษาเพื่อหาทางลดภาวะแท้งบ่อย
  • การรักษาภาวะการเจริญพันธุ์ ในผู้ป่วยมะเร็ง หรือ ผู้ที่ต้องได้รับการรักษาโรค ที่ก่ออันตรายต่อระบบสืบพันธ์ุ เช่น ยาเคมีบำบัด 

รู้จักทีมแพทย์เฉพาะทาง
ประจำศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก

Dr Ivf 1 Dr Ivf 2
รศ.นพ.สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์
สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
นพ.วิวรรธน์ ชินพิลาศ
สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
Dr Ivf 3 Dr Ivf 4
พญ.พิมพกา ชวนะเวสน์
สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และวัยหมดประจำเดือน
ผศ.พญ.พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์
สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
Dr Ivf 5 Dr Ivf 6
นพ.พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์
สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
พญ.ชนกานต์ สืบถวิลกุล
สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
Dr Ivf 7 Dr Ivf 8
พญ.ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ
สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
นพ.พิพัฒน์ จงกลสิริ
สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
Artboard 2 0ก Artboard 32 Ivf (1)

รับชมวีดีโอข้อควรรู้การรักษาภาวะมีบุตรยาก

10 ความเชื่อของคนมีลูกยาก

การทำเด็กหลอดแก้ว

เทคโนโลยีช่วยติดต่อการพัฒนาของตัวอ่อน


คำถามที่พบบ่อย IVF/ICSI

  1. คำถาม: ทำ IVF/ICSI มี success rate เท่าไหร่
    คำตอบ: อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้วขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยด้านความพร้อมของร่างกายคนไข้ เช่น คุณภาพของไข่และเซลล์อสุจิ สภาวะของผนังมดลูก และคุณภาพตัวอ่อน  เป็นต้น รวมทั้งความพร้อมในเรื่องของห้องปฏิบัติการ โดยทั่วไป อัตราการตั้งครรภ์หลังการใส่ตัวอ่อน 1 ครั้ง อยู่ในช่วง 30% - 40% ในกรณีที่ไม่ได้ตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อน แต่หากมีการตรวจพันธุกรรมก่อนใส่ตัวอ่อน อัตราการตั้งครรภ์อาจเพิ่มขึ้นได้ถึง 60% - 70% อย่างไรก็ตาม ทีมแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ที่ MedPark IVF จะร่วมกันตรวจวินิจฉัย ประเมินและวางแผนแนวทางการรักษาแบบเฉพาะบุคคล เพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จของการทำ IVF/ ICSI ให้สูงที่สุด

  2. คำถาม: เด็กหลอดแก้วไม่แข็งแรงเท่าเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์ธรรมชาติจริงหรือไม่
    คำตอบ: จากข้อมูลงานวิจัยในอดีตถึงปัจจุบันของเด็กหลอดแก้วที่ผ่านมาแล้วประมาณ 30 ปี ยังไม่พบข้อมูลว่า เด็กที่เกิดจากการทำเด็กหลอดแก้วมีความพิการที่สูงกว่าเด็กปกติ

  3. คำถาม: ตู้เลี้ยงตัวอ่อน EmbryoScope Plus ช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของ ICSI ได้อย่างไร
    คำตอบ: EmbryoScope Plus เป็นตู้เลี้ยงตัวอ่อนที่ใช้เทคโนโลยี Timelapse ที่มีการถ่ายภาพตัวอ่อนทุก 10 นาที และนำมาฉายเป็นภาพวิดีโอต่อเนื่อง นักวิทยาศาสตร์จึงสามารถดูตัวอ่อนและประเมินคุณภาพตัวอ่อนได้ โดยไม่ต้องนำตัวอ่อนออกจากตู้ จึงไม่เป็นการรบกวนตัวอ่อน นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้เพื่อช่วยประเมินภาพวิดีโอ เพื่อช่วยนักวิทยาศาสตร์ประเมินเกรดตัวอ่อน โดยพบว่าคะแนน iDaScore จากปัญญาประดิษฐ์ มีความสอดคล้องกับความสำเร็จของการตั้งครรภ์

  4. คำถาม: กาวติดตัวอ่อน Embryo Glue ช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จได้จริงหรือไม่
    คำตอบ: Embryo Glue หรือ กาวติดตัวอ่อน เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Hyaluronan ซึ่งพบอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูกเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาที่จะมีการฝังตัวของตัวอ่อนตามธรรมชาติ ปัจจุบันมีหลายรายงานการศึกษาที่แสดงให้เห็นผลในทางบวกว่า Embryo Glue ช่วยให้อัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับ Embryo Glue ยังอยู่ในขั้นตอนที่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

  5. คำถาม: การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน Preimplantation Genetic Test: PGT มีประโยชน์อย่างไร
    คำตอบ: หลังจากได้ตัวอ่อนจากการทำเด็กหลอดแก้วแล้ว นักวิทยาศาสตร์จะนำเซลล์บางส่วนของตัวอ่อนมาส่งตรวจทางพันธุกรรม ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้
    1. คัดเลือกตัวอ่อนที่มีจำนวนโครโมโซมปกติใส่กลับสู่โพรงมดลูก เพิ่มอัตราการฝังตัว อัตราการตั้งครรภ์ ลดอัตราการแท้ง และลดการเกิดบุตรที่มีโครโมโซมผิดปกติ
    2. กรณีที่สามีภรรยามีประวัติโรคทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนจะสามารถตรวจเพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่ไม่เป็นโรคได้
      โดยรวมแล้ว การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของการทำ IVF/ ICSI ได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงในการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมให้กับทารกได้อีกด้วย

  6. คำถาม: การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน Preimplantation Genetic Test: PGT มีความเสี่ยงทำให้ทารกพิการจริงหรือไม่
    คำตอบ: ปัจจุบัน การตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อนจะเป็นการดึงเซลล์ของตัวอ่อน ส่วนที่จะเจริญไปเป็นรกเพียง 5-10 เซลล์ เพื่อนำไปตรวจทางพันธุกรรม จึงไม่ได้เป็นการรบกวนเซลล์ของตัวอ่อนในส่วนที่จะเจริญเติบโตไปเป็นทารก ดังนั้น จากข้อมูลการศึกษาจนถึงปัจจุบัน ไม่พบว่าการตรวจพันธุกรรมตัวอ่อนด้วยวิธีนี้ จะทำให้เกิดความพิการในทารกเพิ่มขึ้น

  7. คำถาม: เกรดตัวอ่อนมีผลต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์อย่างไร
    คำตอบ: เกรดของตัวอ่อนคือการให้คะแนนตัวอ่อนโดยดูจากลักษณะภายนอกและอัตราการแบ่งเซลล์และพัฒนาของตัวอ่อน โดยการให้เกรดตัวอ่อนนั้นมีหลายระบบ ในอดีตเชื่อว่าตัวอ่อนที่ได้เกรดดีจะสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่าการให้เกรดตัวอ่อนโดยดูจากลักษณะภายนอกอย่างเดียวนั้น สามารถใช้เป็นการดูเบื้องต้นได้ แต่อาจจะไม่สอดคล้องกับความสำเร็จในการตั้งครรภ์เสมอไป

  8. คำถาม: ฝ่ายหญิงที่ท่อนำไข่ตันทั้งสองข้าง สามารถตั้งครรภ์ได้หรือไม่
    คำตอบ: หากมีท่อนำไข่ตันทั้งสองข้างสามารถทำให้ตั้งครรภ์โดย ICSI ได้ เนื่องจากการทำเด็กหลอดแก้วจะมีการเก็บไข่และนำมาปฏิสนธิกับอสุจิในห้องปฏิบัติการก่อนจะย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ไม่ต้องอาศัยท่อนำไข่ในการทำให้เกิดการตั้งครรภ์

  9. คำถาม: ผู้หญิงที่ทำหมันแล้วอยากมีลูกสามารถทำ ICSI ได้จริงหรือไม่
    คำตอบ: การทำหมันในฝ่ายหญิงคือการผูกและตัดท่อนำไข่ การทำ IVF/ICSI สามารถ ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากการทำเด็กหลอดแก้วจะมีการเก็บไข่และนำมาปฏิสนธิกับอสุจิในห้องทดลองก่อนจะย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ไม่ต้องอาศัยท่อนำไข่ในการทำให้เกิดการตั้งครรภ์

  10. คำถาม: ย้ายตัวอ่อนรอบสดหรือรอบแช่แข็งดีกว่ากัน
    คำตอบ: ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการแช่แข็งดีขึ้น จากข้อมูลงานวิจัยพบว่า โดยทั่วไป การใส่ตัวอ่อนในรอบแช่แข็งมีอัตราการตั้งครรภ์ที่สูงกว่าการใส่ตัวอ่อนรอบสด ทั้งนี้เชื่อว่าเกิดจาก ในรอบสดที่มีการกระตุ้นไข่เกิดขึ้นนั้น ค่าฮอร์โมนเพศหญิงที่เกิดจากการกระตุ้นไข่ให้มีไข่โตหลายใบ มีค่าสูงกว่าในธรรมชาติมาก ซึ่งค่าฮอร์โมนที่สูงเกินไปนี้ ส่งผลต่อเยื่อบุโพรงมดลูกให้ไม่เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อน
Artboard 2 0ก Artboard 32 Ivf (1)

แพ็กเกจการรักษาภาวะมีบุตรยาก

การทำอิ๊กซี่ หรือ ICSI  (Intracytoplasmic Sperm Injection) หนึ่งในเทคโนโลยีสำหรับช่วยสำหรับผู้ที่ภาวะมีบุตรยาก

แพ็กเกจการรักษาภาวะมีบุตรยาก โดยใช้การปฏิสนธิภายนอกร่างกายเด็กหลอดแก้วหรืออิ้กซี่
ราคา 279,999 บาท (วางมัดจำ 30,000 บาท)

อ่านเงื่อนไขแพ็กเกจและรายละเอียดเพิ่มเติม

Ivf Icsi Package


หลากหลายครอบครัวที่สำเร็จ เริ่มต้นจากการพูดคุย


ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก

ชั้น 20 เคาน์เตอร์ A (WEST Lift)
วันจันทร์ - วันศุกร์ 8.00 - 20.00 น.
วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 8.00 - 16.00 น.
โทร. 02-090-3020

เผยแพร่เมื่อ: 03 ก.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    Reproductive Endocrinology, Infertility, Fertility Preservation, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology