Cervical Spondylosis Radiculopathy Myelopathy Banner 1.jpg

โรคกระดูกต้นคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท

เกิดจากการเสื่อมสภาพชำรุดเสียหายของหมอนรองกระดูกต้นคอกดเบียดเส้นประสาทไขสันหลัง โดยปกติโรคนี้มักสัมพันธ์กับช่วงอายุที่มากขึ้น โดยจะพบมากที่สุดในช่วงอายุระหว่าง 40 - 50 ปี

แชร์

โรคกระดูกต้นคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพชำรุดเสียหายของหมอนรองกระดูกต้นคอกดเบียดเส้นประสาทไขสันหลัง โดยปกติโรคนี้มักสัมพันธ์กับช่วงอายุที่มากขึ้น โดยจะพบมากที่สุดในช่วงอายุระหว่าง 40 - 50 ปี และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงในอัตราส่วน 1.7 ต่อ 1

อาการ

  • อาการเจ็บแปลบจากต้นคอลงมาที่แขน
  • รู้สึกชาและอ่อนแรงบริเวณแขน มือ ขา หรือเท้า
  • สูญเสียความสามารถในการทรงตัวหรือการเดินผิดปกติ เสียหลักล้มบ่อย
  • สูญเสียการควบคุมการขับถ่าย ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระได้

เมื่อไหร่ที่ควรปรึกษาแพทย์
ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน หากพบว่าตนเองมีอาการชาอ่อนแรง หรือสูญเสียการทรงตัว รวมถึงการควบคุมการทำงานของระบบขับถ่าย

สาเหตุ
เมื่อเราอายุมากขึ้น กระดูกต้นคอและหมอนรองกระดูกต้นคอจะเกิดการเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆจากการใช้งานที่ผิดวิธีหรือลักษณะการใช้แบบซ้ำๆเป็นระยะเวลานาน โดยการเสื่อมสภาพดังกล่าวจะส่งผลต่างๆแยกได้ดังนี้

  • หมอนรองกระดูกต้นคอเสื่อมหมอนรองกระดูกต้นคอทำหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักของกะโหลกศีรษะ จะอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังส่วนคอในแต่ละปล้อง โดยส่วนมากหมอนรองกระดูกมักเริ่มมีการเสื่อมสภาพได้ตั้งแต่อายุประมาณ 35 ปี โดยจะส่งผลทำให้ข้อต่อกระดูกสันหลังทำงานหนักมากขึ้น รวมถึงทำให้ช่องว่างโพรงเส้นประสาทแคบลงได้
  • หมอนรองกระดูกต้นคอกดทับเส้นประสาทเมื่อมีอายุมากขึ้น หมอนรองกระดูกจะมีโอกาสเสื่อมและเกิดเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดแรงกดทับบริเวณไขสันหลังและรากเส้นประสาท
  • กระดูกงอกความเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกอาจส่งผลทำให้กระดูกสันหลังมีการสร้างกระดูกขึ้นมาเพื่อเสริมระหว่างข้อต่อ ซึ่งการเกิดกระดูกงอกอาจส่งผลทำให้เกิดแรงกดทับบริเวณไขสันหลังและรากประสาทได้เช่นกัน

ปัจจัยที่เพิ่มภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกคอเสื่อม

  • อายุที่มากขึ้นโรคกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท เป็นภาวะที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยเมื่อมีอายุมากขึ้น
  • อาชีพอาชีพที่จำเป็นต้องมีการขยับคอไปมาบ่อยๆ มีการใช้งานร่างกายเกี่ยวกับคอในลักษณะท่าทางที่ผิดปกติ หรือการทำงานที่ต้องเงยคอสูงกว่าระดับสายตาเป็นเวลานานจะส่งผลทำให้เกิดแรงกดบริเวณคอมากขึ้น
  • อาการบาดเจ็บบริเวณลำคออาการบาดเจ็บบริเวณคอที่อาจเคยเกิดขึ้นในอดีต อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นทำให้เกิดโรคกระดูกคอเสื่อมได้
  • การสูบบุหรี่พบว่าการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้บ่อยขึ้น

การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วย โดยทำการตรวจการเคลื่อนไหวของกระดูกต้นคอผู้ป่วย รวมถึงทำการตรวจรับความรู้สึกของเส้นประสาทที่วิ่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ ตรวจกำลังกล้ามเนื้อ ตลอดจนปฏิกิริยาตอบสนองที่สัมพันธ์กับเส้นประสาทนั้นๆ เพื่อตรวจสอบแรงสาทกดทับไปยังเส้นประสาทกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง และจะมีการตรวจโดยให้คนไข้ทำการลองเดินเพื่อตรวจสอบว่าการกดทับของไสันหลังส่งผลกระทบต่อการเดินของผู้ป่วยหรือไม่

การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม
แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมด้วยภาพถ่ายเอกเรย์ หรือภาพจากการส่งตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging; MRI)

  • การเอกซเรย์กระดูกต้นคอ จะสามารถบ่งบอกตำแหน่งของความผิดปกติต่างๆรวมถึงอาการกระดูกงอก ซึ่งสามารถประเมินอาการของโรคกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทได้
  • การส่งตรวจด้วยภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging; MRI) – การทำ MRI สามารถระบุตำแหน่ง ตลอดจนบ่งบอกความรุนแรงของเส้นประสาทไขสันหลังเกิดการกดทับ เพื่อนำมาใช้ประกอบการวางแผนการรักษาได้

การตรวจการทำงานของเส้นประสาท
แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจการทำงานของเส้นประสาท เพื่อตรวจสอบว่าสามารถส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อส่วนต่างๆได้อย่างปกติ โดยมีลักษณะการการตรวจดังนี้

  • การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า โดยทำการวัดค่ากระแสไฟฟ้าบริเวณเส้นประสาทซึ่งทำการส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อส่วนต่างๆในขณะที่กล้ามเนื้อมีการหดตัว
  • ตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท - ทำการติดขั้วไฟฟ้าเข้ากับผิวหนังและทำการปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ผ่านเส้นประสาทเพื่อทำการวัดค่าประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการส่งสัญญาณของเส้นประสาท

แนวทางการรักษา
การรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการผู้ป่วยแต่ละบุคคล ซึ่งการรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การบรรเทาอาการเจ็บปวด การลดกิจวัตรประจำวันที่ส่งผลต่ออาการของผู้ป่วย ตลอดจนป้องกันการบาดเจ็บถาวรบริเวณไขสันหลังและเส้นประสาท

การใช้ยา
แพทย์อาจทำการสั่งยารักษาเฉพาะทางให้กับผู้ป่วย โดยกลุ่มยาที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่

  • กลุ่มยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ - โดยมากผู้ป่วยมักมีอาการปวดบริเวณต้นคอ จึงอาจจำเป็นต้องได้รับยากลุ่มนี้เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดและอาการอักเสบจากโรคกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทได้
  • คอร์ติโคสเตียรอยด์ – การทานยาเพรดนิโซโลนในห้วงระยะเวลาสั้นๆสามารถบรรเทาความเจ็บปวดได้ อย่างไรก็ตามหากพบว่ามีอาการรุนแรง แพทย์อาจใช้วิธีการฉีดสเตียรอยด์เข้าบริเวณโพรงเส้นประสาทเพื่อลดการบวมอักเสบของเส้นประสาทไขสันหลังได้
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ – ยาบางชนิด เช่น ไซโคลเบนซาพรีน สามารถช่วยลดอาการกระตุกหรือตะคริวบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอได้
  • กลุ่มยากันชัก – ยาสำหรับโรคลมชักบางชนิด เช่น กาบาเพนติน สามารถลดความเจ็บปวดจากเส้นประสาทที่ถูกทำลายได้
  • กลุ่มยาต้านซึมเศร้า – ยาต้านซึมเศร้าบางชนิดสามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากโรคกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทได้

การทำกายภาพบำบัด
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจะทำการออกโปรแกรมการบริหารร่างกายที่ช่วยในการเสริมความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอและไหล่ โดยในบางครั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกต้นคอและหมอนรองกระดูกต้นคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทจะได้รับผลดีจากการยืดกล้ามเนื้อ เนื่องจากจะสามารถเพิ่มช่องว่างระหว่างข้อต่อกระดูกสันหลังจากการกดทับเส้นประสาทไขสันหลังได้

การผ่าตัด
ในกรณีที่อาการของผู้ป่วยมีความรุนแรง เช่น อาการชาบริเวณแขนหรือขาเป็นมากขึ้น กล้ามเนื้อแขนอ่อนแรง ไม่สามารถหยิบจับของได้ตามปกติเนื่องจากมือไม่มีแรง การเดินผิดปกติจากแต่ก่อน แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาโดยการผ่าตัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง ทำการขยายโพรงเส้นประสาทไขสันหลัง โดยการผ่าตัดอาจมีการนำหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทหรือกระดูกที่งอกออก รวมถึงการผ่าชิ้นส่วนของกระดูกสันหลัง และทำการเชื่อมชิ้นส่วนข้อต่อกระดูก โดยใช้วิธีการเสริมกระดูกหรือการใช้วัสดุทางการแพทย์อื่นๆ

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และเคล็บลับการดูแลตนเอง

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ – การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยทำให้อาการทุเลาลงได้เร็วขึ้น
  • การใช้ยารักษาทั่วไป – ยาไอบูโพรเฟน นาพรอกเซนโซเดียม หรือ อะเซตามิโนเฟน สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดจากโรคกระดูกคอเสื่อมอักเสบได้
  • การประคบร้อนหรือประคบเย็น – การประคบร้อนหรือเย็นบริเวณต้นคอจะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอได้
  • การใช้เฝือกคออ่อน - การใช้เฝือกจะช่วยให้กล้ามเนื้อคอได้พักจากการทำงาน อย่างไรก็ตามข้อสำคัญอย่างยิ่งในการใช้งานคือไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากจะทำให้กล้ามเนื้อต้นคออ่อนแอได้

 การเตรียมตัวก่อนการพบแพทย์
วิธีการเตรียมตัวก่อนการนัดหมาย 

  • ระบุอาการและเวลาที่เริ่มมีอาการ
  • ระบุข้อมูลทางการแพทย์ที่สำคัญ รวมทั้งภาวะทางการแพทย์อื่นๆ ที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับโรคกระดูกคอสื่อม
  • ระบุรายข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ รวมทั้งความเครียดหรือการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
  • ระบุรายการยา วิตามิน หรืออาหารเสริมทั้งหมดที่ผู้ป่วยได้รับและกำลังรับประทานอยู่
  • จดคำถามเพื่อถามแพทย์

สิ่งที่คาดหวังจากการพบแพทย์
คำถามที่แพทย์จะถามมีดังนี้

  • ตำแหน่งของต้นคอที่มีอาการเจ็บปวด
  • คุณเคยมีอาการปวดที่คล้ายคลึงกันซึ่งท้ายสุดแล้วอาการดีขึ้นเองหรือไม่
  • คุณมีปัญหาในระบบขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระหรือไม่
  • คุณมีอาการปวดเมื่อยหรือรู้สึกอ่อนแรงที่แขน มือ ขา หรือเท้าหรือไม่
  • คุณมีปัญหาในการเดินหรือการทรงตัวหรือไม่
  • คุณประกอบอาชีพอะไร และลักษณะกิจวัตรในแต่ละวัน
  • คุณเคยบาดเจ็บบริเวณคอหรือไม่

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 04 ส.ค. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ชัยวัฒน์ ปิยะสกุลแก้ว

    นพ. ชัยวัฒน์ ปิยะสกุลแก้ว

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. อัคคพงษ์ นิติสิงห์

    รศ.นพ. อัคคพงษ์ นิติสิงห์

    • ศัลยกรรมประสาท
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ประสาทศัลยศาสตร์, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล

    นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. วิทย์ โคธีรานุรักษ์

    นพ. วิทย์ โคธีรานุรักษ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. เทวเจษฎา ภาเรือง

    นพ. เทวเจษฎา ภาเรือง

    • ศัลยกรรมประสาท
    • ศัลยกรรมไขสันหลัง
    ประสาทศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. เตมีธ์  เสถียรราษฎร์

    นพ. เตมีธ์ เสถียรราษฎร์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. กฤษดากร ขจรกิตติศักดิ์

    นพ. กฤษดากร ขจรกิตติศักดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ