ตรวจความพร้อมเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อการฝังตัวของตัวอ่อนที่สมบูรณ์ - Endometrial Receptivity Analysis (ERA)

ตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก (ERA) เพื่อการฝังตัวของตัวอ่อนที่สมบูรณ์

การตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial Receptivity Analysis: ERA)เป็นการตรวจความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกและตรวจรหัสพันธุกรรมเพื่อประเมินว่าเยื่อบุโพรงมดลูกพร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนหรือไม่ ช่วยให้แพทย์ประเมินช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้รับบริการ

แชร์

การตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก

ความเครียด ความกดดันกับการต้องเผชิญกับภาวะตัวอ่อนไม่ฝังตัวซ้ำ ๆ ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของคู่รักที่ต้องการทำเด็กหลอดแก้ว แต่ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย เช่น การตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้กับผู้ที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยาก

ตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก คืออะไร?

การตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial Receptivity Analysis: ERA) เป็นการตรวจความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกและตรวจรหัสพันธุกรรมเพื่อประเมินว่าเยื่อบุโพรงมดลูกพร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนหรือไม่ ช่วยให้แพทย์ประเมินช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เข้ารับการรักษาควรได้รับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ก่อนทำการย้ายตัวอ่อนเข้าไปในครรภ์ ช่วยเพิ่มโอกาสการฝังตัวของตัวอ่อน การตั้งครรภ์และการดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไป เพราะการฝังตัวของตัวอ่อนจะสำเร็จได้ในช่วงที่มดลูกมีความพร้อมเท่านั้น

เยื่อบุโพรงมดลูก คืออะไร?

เยื่อบุโพรงมดลูก คือ เนื้อเยื่อที่บุอยู่ภายในมดลูก ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ได้แก่ stratum basalis เป็นชั้นเนื้อเยื่อที่ติดกับชั้นกล้ามเนื้อเรียบของมดลูก ไม่ลอกหลุดในระยะที่มีประจำเดือน และ stratum functionalis ซึ่งจะมีการหนาตัวและหลุดลอกในช่วงที่มีประจำเดือน

ฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะส่งผลให้มดลูกหนาตัวขึ้น พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน

 เนื้อเยื่อที่บุอยู่ภายในมดลูก อยู่ส่วนไหนของร่างกาย - Era Test

ความพร้อมของมดลูก คืออะไร?

ความพร้อมของมดลูก  (Endometrial Receptivity)  เกิดขึ้นเมื่อเยื่อบุมดลูกหนาพอสำหรับการฝังตัวและเลี้ยงดูตัวอ่อน โดยระยะเวลาที่พร้อมหรือหน้าต่างแห่งความพร้อม (window of receptivity) นั้นจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ

เมื่อเข้าสู่ช่วงวันที่ 20-24 ของรอบเดือนปกติ (28 วัน) เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกจะเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการแสดงออกของยีน การหลั่งโมเลกุล และการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับตัวอ่อน ทั้งนี้ความสำเร็จของการฝังตัวอ่อนยังขึ้นอยู่กับระยะของตัวอ่อน นั่นคือตัวอ่อนต้องอยู่ในระยะบลาสโตซีส blastocyst วันที่ 5 หรือ วันที่ 6 และมีโครโมโซมเป็นปกติ (euploidy) ตัวอ่อนที่ผิดปกติมักจะฝังตัวไม่ได้หรือเกิดภาวะแท้งตั้งแต่ระยะแรก

การตั้งครรภ์จะไม่เกิดขึ้น ในกรณีดังต่อไปนี้

  • ไม่ตรงกับช่วงที่มดลูกมีความพร้อมสำหรับการฝังตัว
  • ตัวอ่อนไม่โต
  • ตัวอ่อนมีความผิดปกติทางโครโมโซม
  • เยื่อบุโพรงมดลูกไม่มีการแสดงออกของพันธุกรรมอย่างเหมาะสมหรือไม่อยู่ในช่วงที่พร้อมต่อการฝังตัว

ความพร้อมของมดลูกเป็นสิ่งจำเป็นในการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติและการทำเด็กหลอดแก้ว ทั้งนี้ช่วงระยะเวลาที่พร้อมนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและการแสดงออกทางพันธุกรรมของเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก

ทำไมผู้ที่ทำเด็กหลอดแก้วถึงควรเข้ารับการตรวจความพร้อมเยื่อบุโพรงมดลูก?

การตรวจความพร้อมเยื่อบุโพรงมดลูกเหมาะสำหรับหญิงที่มีประวัติตัวอ่อนไม่ฝังตัวหรือทำเด็กหลอดแก้วไม่สำเร็จหลายครั้ง การตรวจความพร้อมเยื่อบุโพรงมดลูกสามารถตรวจการแสดงออกของรหัสพันธุกรรมถึง 236 รหัส เพื่อระบุช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน เพราะช่วงเวลาที่เหมาะสมจะเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ โดยช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมมักจะอยู่ในช่วงวันที่ 19-23 ของรอบเดือน ผู้หญิงราว 80 % จะมีความพร้อมในช่วงนี้ ส่วนอีก 20 % ที่มักจะมีความพร้อมก่อนหรือหลังช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งการที่สามารถระบุได้ว่าหน้าต่างของความพร้อมกำลังเปิดหรือปิดอยู่ ก่อนที่จะทำการย้ายตัวอ่อน มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำเด็กหลอดแก้ว

ขั้นตอนการตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก - Era Test

ขั้นตอนการตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกมีอะไรบ้าง?

  • ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องรับประทานยาหรือฉีดยาตามที่แพทย์สั่ง เพื่อกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก แพทย์จะทำการอัลตราซาวนด์และตรวจเลือดเพื่อติดตามการตอบสนองของร่างกายต่อยา
  • แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจวิเคราะห์การแสดงของพันธุกรรม
  • แพทย์จะทำการประเมินว่าเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกพร้อมต่อการฝังตัวหรือไม่ 
  • หากมดลูกไม่พร้อมต่อการฝังตัว แพทย์จะทำการปรับการให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และเลื่อนการย้ายตัวอ่อนออกไปยังรอบเดือนหน้าเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ผลการตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกมีอะไรบ้าง?

ผลการตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท

  • Receptive result: เยื่อบุโพรงมดลูกมีความพร้อมสูงสุดสำหรับการฝังตัว ผู้เข้ารับการรักษาได้รับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในปริมาณที่เหมาะสม สามารถทำการย้ายตัวอ่อนได้
  • Pre-receptive result: ผู้เข้ารับการรักษาได้รับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนไม่เพียงพอ ดังนั้นเยื่อบุโพรงมดลูกจึงไม่พร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนนานขึ้น เป็นเวลาอย่างน้อย 12-24 ชั่วโมง ก่อนทำการย้ายตัวอ่อนเข้าไปในครรภ์ 
  • Post-receptive result: ผู้เข้ารับการรักษาได้รับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเร็วเกินไป ควรทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจอีกครั้งเพื่อยืนยันช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ควรได้รับฮอร์โมน

ในบางครั้งผลที่ได้อาจสรุปไม่ได้ แต่มักพบได้น้อย

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

สำหรับผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก ความพยายามในการตั้งครรภ์อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย ทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ที่โรงพยาบาลเมดพาร์ค พร้อมที่จะให้คำแนะนำ ถึงวิธีการตรวจและการรักษาที่เหมาะสมกับประวัติสุขภาพของผู้เข้ารับการรักษาแต่ละคน หากสนใจเข้ารับคำปรึกษา ติดต่อ ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เมดพาร์คไอวีเอฟ โทร. 02-090-3020

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 20 มี.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. นลินา ออประยูร

    พญ. นลินา ออประยูร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Oncology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery