เลสิก (LASIK), PRK, Femto LASIK, ReLEx SMILE, SMILE Pro

เลสิก (LASIK) เร็ว ชัด ด้วย Visumax 800 ฟรี! ส่วนลด

เลสิก (LASIK) คือ เทคนิคการผ่าตัดแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติแบบถาวรเพื่อรักษาปัญหาสายตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง โดยการใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ชนิดพิเศษ Femtosecond Laser เปิดฝากระจกตาชั้นนอก

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


เลสิก (LASIK)

เลสิก (LASIK) คือ เทคนิคการผ่าตัดแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติแบบถาวรเพื่อรักษาปัญหาสายตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง โดยการใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ชนิดพิเศษ Femtosecond Laser เปิดฝากระจกตาชั้นนอก และใช้ Excimer Laser ปรับความโค้งของกระจกตาชั้นใน เพื่อให้แสงตกกระทบลงบนจอประสาทตาในตำแหน่งที่เหมาะสม เลสิกช่วยให้มองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน ตำแหน่งของภาพไม่คลาดเคลื่อนแม้ในที่สว่างน้อย หมดกังวลเรื่องข้อจำกัดในการมองเห็น และไม่จำเป็นต้องสวมใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์อีกต่อไป เลสิกช่วยให้ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น มีอิสระที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างใจ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่

ภาวะสายตาผิดปกติ มีสาเหตุเกิดจากอะไร?

ภาวะสายตาผิดปกติ (Refractive errors) มีสาเหตุเกิดจากความโค้งของกระจกตาที่มากหรือน้อยเกินไป ไม่พอดีกับขนาดและความยาวลูกตา ทำให้แสงจากวัตถุไม่ตกกระทบในระยะที่พอดีกับจอประสาทตา ส่งผลให้มองเห็นภาพไม่ชัด

ภาวะสายตาผิดปกติ มีกี่ชนิด?

ภาวะสายตาผิดปกติทั่วไปมี 4 ชนิด ได้แก่

  1. สายตาสั้น (Myopia, nearsightedness) คือ ภาวะที่แสงโฟกัสหน้าจุดรับภาพ หรือแสงจากวัตถุโฟกัสก่อนถึงจอประสาทตา อันมีสาเหตุจากกระจกตาโค้งมากเกินไป หรือกระบอกตายาวเกินไป ทำให้เห็นวัตถุในระยะใกล้ได้ชัด แต่มองเห็นวัตถุในระยะไกลไม่ชัดหรือเห็นภาพมัวในระยะไกล
  2. สายตายาวแต่กำเนิด (Hyperopia, farsightedness) คือ ภาวะที่แสงโฟกัสหลังจุดรับภาพ หรือแสงจากวัตถุโฟกัสหลังจอประสาทตา อันมีสาเหตุจากกระจกตาโค้งน้อยกว่าปกติ (กระจกตาแบน) หรือกระบอกตาสั้นเกินไป ทำให้เห็นวัตถุไม่ชัดทั้งในระยะใกล้และไกล
  3. สายตาเอียง (Astigmatism) คือ ภาวะที่มองเห็นเป็นภาพซ้อนไม่โฟกัสรวมเป็นภาพเดียว โดยเกิดจากการมีจุดโฟกัสของแสง 2 จุดตกกระทบที่จอประสาทตาไม่สม่ำเสมอในระนาบเดียวกัน ทำให้มองเห็นภาพไม่คมชัด
  4. สายตายาวตามอายุ (Presbyopia) คือ ภาวะที่มองเห็นใกล้ไม่ชัด หรือมองเห็นเป็นภาพซ้อนขณะมองใกล้ เกิดจากการที่อายุเพิ่มมากขึ้น ทำให้เลนส์ตาสูญเสียความยืดหยุ่นจนทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโฟกัสในระยะใกล้ได้ มักพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

การผ่าตัดแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ มีกี่วิธี?

การผ่าตัดแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติมีหลายวิธี ทั้งวิธีการทำ PRK, LASIK (Blade LASIK), Femto LASIK, ReLEx SMILE และ SMILE Pro โดยจักษุแพทย์จะเป็นผู้แนะนำวิธีการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมเฉพาะบุคคล การผ่าตัดแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ มีวิธีดังต่อไปนี้

PRK

PRK (Photorefractive keratectomy) คือ วิธีการแก้ไขภาวะค่าสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์วิธีแรก ด้วยเทคนิคการลอกผิวกระจกตาชั้นนอกสุดออก (Epithelium) โดยการใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) หรือสารละลายแอลกอฮอล์เจือจาง จากนั้นจึงทำการปรับความโค้งของกระจกตาชั้นในด้วยเอ็กไซเมอร์เลเซอร์เพื่อให้ได้ค่าสายตาที่เป็นปกติ  

หลังการผ่าตัด จักษุแพทย์จะให้ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษแบบไม่มีค่าสายตา ครอบกระจกตาประมาณ 5-7 วัน เพื่อลดอาการระคายเคืองในระหว่างที่รอให้ร่างกายสร้างผิวกระจกตาชั้นนอกใหม่จนเสร็จสมบูรณ์แล้วจึงค่อยนำคอนแทคเลนส์ออก การทำ PRK เป็นวิธีการแก้ไขค่าสายตาสำหรับผู้ที่จักษุแพทย์ลงความเห็นว่าไม่เหมาะกับการทำเลสิกเนื่องจากมีกระจกตาบาง หรือตาแห้ง ข้อดีของการทำ PRK คือ ไม่มีการใช้เลเซอร์เปิดฝากระจกตา ช่วยรักษาความแข็งแรงตามธรรมชาติของกระจกตาเอาไว้ได้

Femto LASIK

Femto LASIK หรือ เลสิกไร้ใบมีด (Bladeless LASIK) คือ เทคนิคการผ่าตัดแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติโดยการใช้ Femtosecond Laser ในการแยกชั้นและเปิดฝากระจกตา จากนั้นจึงใช้ Excimer Laser ในการปรับแต่งกระจกตาทีละจุดเพื่อปรับความโค้งของกระจกตาให้เหมาะสมและได้ค่าสายตาที่เป็นปกติ แล้วจึงปิดฝากระจกตากลับสู่ตำแหน่งเดิม

การทำ Femto LASIK แตกต่างจากการทำเลสิกแบบดั้งเดิมที่ใช้ใบมีดด้วยการใช้ Femtosecond Laser ที่สามารถปล่อยเลเซอร์พัลส์ (Laser Pulse) สั้นระดับ 1 เฟมโตวินาที (1 ในพันล้านวินาที) ในการแยกชั้นกระจกตา เปิดฝากระจกตา และกำหนดความลึกของชั้นกระจกตาได้อย่างแม่นยำโดยไม่ทำให้เนื้อเยื่อโดยรอบเสียหาย อ่อนโยนต่อสภาพดวงตา ใช้ระยะเวลาการพักฟื้นสั้นกว่า และช่วยให้มีการมองเห็นที่มีคุณภาพได้อย่างรวดเร็ว

ReLEx SMILE

ReLEx SMILE (ReLEx: Refractive Lenticule Extraction) (SMILE: Small Incision Lenticule Extraction) คือ เทคโนโลยีการผ่าตัดแก้ไขค่าสายตาแบบแผลเล็กโดยไม่เปิดฝากระจกตาที่พัฒนามาจากการทำเลสิก (LASIK) และ Femto LASIK โดยการใช้ Femtosecond Laser แยกชั้นกระจกตา ให้ได้เป็นชิ้นกระจกตาแผ่นบาง ๆ ที่เรียกว่าเลนส์ติคูล (Lenticule) จากนั้น จักษุแพทย์จะทำการดึงแผ่นเลนส์ติคูลออกผ่านแผลเล็ก ๆ ด้านข้างเพื่อปรับความโค้งของกระจกตาให้เหมาะสมได้ค่าสายตาที่เป็นปกติ โดยแผลที่กระจกตาสามารถสมานได้เองโดยไม่ต้องเย็บ

ReLEx SMILE ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากการเปิดฝากระจกตา กระทบกระเทือนกระจกตาน้อยมาก และช่วยคงความโค้งตามธรรมชาติของกระจกตาเอาไว้ให้ได้มากที่สุด

SMILE Pro

SMILE Pro คือ เทคโนโลยีการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติทางสายตารุ่นล่าสุดด้วยนวัตกรรม Femtosecond Laser ที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบันด้วยเครื่อง Visumax 800 โดยทำการแยกชั้นเนื้อเยื่อกระจกตาบริเวณส่วนกลางออกเป็นแผ่นบาง ๆ ที่มีรูปร่างคล้ายเลนส์ หรือเรียกว่า “เลนส์ติคูล” (Lenticule) ซึ่งกระบวนการเลเซอร์จะใช้เวลาเพียง 8-10 วินาทีต่อ 1 ตา เร็วกว่า ReLEx SMILE แบบเดิมถึง 3 เท่า แล้วจึงดึงแผ่นเลนส์ติคูลออกจากกระจกตาผ่านแผลเล็ก ๆ ด้างข้างที่มีขนาดเพียง 2-4 มิลลิเมตรเท่านั้นเพื่อปรับรูปร่างและความโค้งของกระจกตาให้พอดีกับจุดหักเหของแสง ช่วยให้จุดรวมแสงตกกระทบลงบนตำแหน่งที่พอดีกับจอประสาทตา ทำให้การมองเห็นกลับมาเป็นปกติโดยไม่ทำลายผิวกระจกตาชั้นนอก

สมายล์ โปร (SMILE Pro) เป็นการผ่าตัดแผลเล็กที่ช่วยลดภาวะแทรกซ้อน ใช้เวลาผ่าตัดน้อย แผลหายไว สามารถใช้สายตาได้ในวันถัดไป ช่วยคงความแข็งแรงของกระจกตามากกว่าการทำเลสิกแบบทั่วไป ได้รับการยอมรับในวงการจักษุวิทยาว่ามีความแม่นยำและความปลอดภัยสูง

Lasik Proceduresภาพจาก: https://www.zeiss.com/

การตรวจวินิจฉัยก่อนการทำ LASIK

ในการพบกันครั้งแรก จักษุแพทย์จะทำการซักประวัติ อายุ โรคและยารักษาโรคประจำตัว และทำการตรวจวินิจฉัยสภาพดวงตาอย่างละเอียดว่ามีค่าสายตาสั้น ยาว เอียงเท่าไหร่ เพื่อประเมินคุณสมบัติว่าเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมในการทำเลสิคหรือไม่ โดยผู้เข้ารับการตรวจจะต้องมีค่าสายตาคงที่หรือมีการเปลี่ยนแปลงของค่าสายตาไม่เกิน 50 ใน 1 ปี

ตรวจวินิจฉัยสภาพดวงตา

  • จักษุแพทย์ตรวจสภาพดวงตาโดยการตรวจวัดการมองเห็น (Vision acuity Test) ตรวจวัดสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (Automated Refractometer) ตรวจสุขภาพดวงตาผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Slit-lamp Examination) ตรวจวัดความดันลูกตา (Eye Pressure Test) ตรวจจอประสาทตา (Retinal examination) ตรวจวัดความหนาของกระจกตา (Corneal Pachymetry Test) ตรวจวัดความโค้งของกระจกตา (Keratometry Test) และวัดค่าสายตาก่อนและหลังหยอดยาขยายม่านตา (Manifest Refraction and Cycloplegic Refraction) หากผู้เข้ารับการตรวจมีสุขภาพดวงตาที่สมบูรณ์ จักษุแพทย์จะทำนัดให้เข้ารับการทำเลสิค ตามวันและเวลาที่ผู้เข้ารับการรักษาสะดวก
  • หากผลการตรวจวินิจฉัยสภาพดวงตาของผู้เข้ารับการตรวจไม่สมบูรณ์ เช่น ตาอักเสบ ตาแห้ง หรือติดเชื้อที่ดวงตา จักษุแพทย์เฉพาะทางจะทำการรักษาอาการดังกล่าวให้หายดีก่อนแล้วจึงพิจารณาการทำเลสิค
  • สำหรับผู้ที่มีผลการตรวจวินิจฉัยไม่สามารถทำเลสิคได้ จักษุแพทย์จะพิจารณาการแก้ไขค่าสายตาด้วยวิธีการอื่นที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล เช่น การทำ PRK หรือการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL

หยุดยาบางชนิด

  • ผู้ที่ทานยารักษาสิวในกลุ่ม Isotretinoin เช่น Roaccutane หรือ Acnotin ให้งดการทานยาดังกล่าวอย่างน้อย 1 เดือนก่อนวันตรวจประเมินสภาพตาและก่อนผ่าตัด เนื่องจากยากลุ่มนี้อาจส่งผลข้างเคียงให้เยื่อบุตา และทำให้ผิวกระจกตาแห้งกว่าปกติ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือทานยารักษาโรคประจำตัว เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน ยาลดไขมัน ยารักษาความดัน ยารักษาโรคไทรอยด์ รวมทั้งยานอนหลับทุกชนิด ควรแจ้งให้จักษุแพทย์ทราบในนัดหมายครั้งแรกหรือก่อนการตรวจประเมินสภาพตาโดยไม่จำเป็นต้องงดยาก่อนวันเข้ารับการผ่าตัดแต่อย่างใด
  • ผู้ที่ทานยา Prednisone ยา Imitrex ยา Cardarone หรือยา Accutane * ต้องแจ้งให้จักษุแพทย์ทราบเพื่อพิจารณาการรักษา

งดการสวมใส่คอนแทคเลนส์

  • ก่อนวันตรวจประเมินสภาพตาและก่อนวันผ่าตัด ให้ผู้ที่สวมใส่คอนแทคเลนส์แบบแข็ง (Hard Lens) หรือแบบกึ่งแข็งกึ่งนิ่ม (Semi Hard Lens) งดการสวมใส่คอนเลนส์อย่างน้อย 21 วัน ผู้ที่สวมใส่คอนแทคเลนส์แบบนิ่ม (Soft Lens) งดการสวมใส่คอนแทคเลนส์อย่างน้อย 7 วัน ในระหว่างนี้ ผู้เข้ารับการตรวจสภาพดวงตาสามารถสวมใส่แว่นสายตาได้

Aw Banner Lasi K2 0

ขั้นตอนการทำ LASIK มีวิธีการอย่างไร?

เลสิก รพ. เมดพาร์ค ใช้มาตรฐานสากล (Gold standard) ในการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ประสิทธิภาพสูงโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและผลสำเร็จในการรักษาเป็นสำคัญ โดยหลังการผ่าตัดเสร็จสิ้น จักษุแพทย์และทีมสหวิชาชีพจะคอยตรวจประเมินสภาพดวงตาเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าผลการรักษาเป็นไปด้วยดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และมีพัฒนาการมองเห็นที่ดีขึ้น

ขั้นตอนก่อนการทำ LASIK

  • งดการแต่งหน้า การใช้เครื่องสำอาง การใส่ขนตาปลอม และการใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม หรือแอลกอฮอล์ 1 วัน ก่อนการผ่าตัดและในวันผ่าตัด เพื่อหลีกเลี่ยงเครื่องสำอางที่อาจตกค้างหรือทำความสะอาดได้ไม่หมดและอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในดวงตาหลังการผ่าตัด
  • ในวันเข้ารับการผ่าตัดและหลังวันผ่าตัด ให้พาบุคลลในครอบครัวหรือเพื่อนมาเป็นเพื่อนเพื่อช่วยเหลือในการเดินทาง

ขั้นตอนการทำ LASIK

1ภาพจาก: https://www.zeiss.com/

1. สร้างฝากระจกตา (Cornea flap creation) จักษุแพทย์หยอดยาชาในตาข้างที่จะทำการผ่าตัดเพื่อระงับความรู้สึกบริเวณดวงตาก่อนการผ่าตัด จากนั้นจึงใช้ Femtosecond Laser (Visumax 800) สร้างฝากระจกตาเป็นรูปทรงกลมเหนือบริเวณม่านตาและรูม่านตา

1 (2)ภาพจาก: https://www.zeiss.com/

2. เปิดฝากระจกตา (Cornea flap opening) จักษุแพทย์เปิดฝากระจกตาชั้นนอก เผยให้เห็นกระจกตาชั้นใน

1 (3)ภาพจาก: https://www.zeiss.com/

3. เลเซอร์แก้ไขค่าสายตา (Laser sculpting) จักษุแพทย์ใช้ Excimer Laser ปรับรูปร่างและความโค้งของกระจกตาชั้นในเพื่อแก้ไขค่าสายตาที่ผิดปกติ ช่วยให้แสงตกกระทบลงบนจอประสาทตาในตำแหน่งที่เหมาะสม

1 (4)ภาพจาก: https://www.zeiss.com/ 

4. ค่าสายตาได้รับการแก้ไข (Refractive errors correction) เมื่อการทำเลสิกเสร็จสิ้น จักษุแพทย์จะปิดฝากระจกตากลับสู่ตำแหน่งเดิมโดยไม่ต้องเย็บแผลแต่อย่างใด โดยความโค้งของกระจกตา จุดหักเหของแสง และการรวมแสงบนจอประสาทตาจะค่อย ๆ ปรับเปลี่ยน ค่าสายสั้น ยาว เอียงจะค่อย ๆ ปรับสมดุลการมองเห็นให้เป็นปกติ

ขั้นตอนหลังการทำ LASIK

  • หลังการผ่าตัด จักษุแพทย์ใส่ที่ครอบตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • จักษุแพทย์ และพยาบาลคอยติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเป็นระยะเวลา 30 นาที หลังการผ่าตัด 
  • พยาบาลหยอดยาตาเพื่อป้องอาการตาแห้งและอาการอักเสบติดเชื้อ
  • จักษุแพทย์ประเมินอาการหลังการรักษา หากไม่พบภาวะแทรกซ้อน ผู้ทำเลสิก สามารถกลับบ้านได้
  • ผู้ทำเลสิก สามารถเข้าห้องน้ำ ยืน เดิน ดื่มน้ำและทานอาหารได้ตามปกติ

การดูแลตนเองหลังการทำ LASIK

  • จักษุแพทย์จะทำนัดเพื่อติดตามอาการและประเมินผลการรักษาในวันถัดไป
  • ผู้ที่ทำเลสิก อาจมีอาการไม่สบายตา ตาแห้ง น้ำตาไหล เปลือกตาบวม และตาไม่สู้แสงในสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด โดยอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเรื่อย ๆ
  • หยอดยาปฏิชีวนะตรงเวลาทุกครั้งตามจักษุแพทย์สั่ง และทำความสะอาดรอบดวงตาวันละ 1-2 ครั้ง
  • ระวังไม่ให้น้ำเข้าตา งดการล้างหน้า เป็นเวลา 1 สัปดาห์
  • ห้ามขยี้ตา บีบตา และให้ใส่ที่ครอบตาเวลานอนตอนกลางคืน 1 สัปดาห์ 
  • งดกิจกรรมหนัก หรือการออกกำลังกายที่อาจทำให้มีเหงื่อไหลเข้าตาเป็นเวลา 1 สัปดาห์
  • งดการว่ายน้ำและดำน้ำ เป็นเวลา 1 เดือน
  • หลีกเลี่ยงการดูจอหรือการใช้สายตาเป็นเวลานาน ๆ 2 สัปดาห์ และควรพักสายตาเป็นระยะ
  • พบจักษุแพทย์ตามนัดหมายที่ รพ. ทุกครั้ง เพื่อติดตามอาการและประเมินผลการรักษา

ข้อดีของการทำ LASIK (ก่อน-หลังทำ SMILEpro)

ข้อดีของการทำ LASIK

  • แม่นยำและตรงจุด (Precision and Accuracy) LASIK ใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ประสิทธิภาพสูง Femtosecond Laser และ Excimer Laser ในการแก้ไขค่าสายตาโดยการปรับรูปร่างและความโค้งของกระจกตาได้อย่างแม่นยำและตรงจุด ช่วยแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติสั้น ยาว เอียงให้เป็นปกติ และทำให้มีการมองเห็นที่ชัดขึ้น
  • รวดเร็วและไม่เจ็บ (Fast and Pain-free) LASIK เป็นการแก้ไขค่าสายตาโดยการยิงเลเซอร์ประสิทธิภาพสูงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทำให้รู้สึกเจ็บและไม่ต้องเย็บแผลแต่อย่างใด โดยหลังการพักฟื้น แผลผ่าตัดจะค่อย ๆ สมานติดกันได้เองภายใน 2-3 เดือน
  • พักฟื้นสั้นและหายเร็ว (Minimal Downtime and Quick Recovery) LASIK เป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็กที่ช่วยให้แผลหายเร็ว ใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นสั้น และสามารถใช้สายตาได้ภายใน 1 วันหลังการผ่าตัด ผู้ที่ทำ LASIK สามารถสังเกตได้ถึงการมองเห็นที่ชัดเจนขึ้นภายใน 2-3 วัน
  • ค่าสายตาปกติในระยะยาว (Long Lasting-Result) ผู้ที่ผ่านการทำ LASIK จำนวนมากสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องสวมใส่แว่นสายตาหรือพึ่งพาอุปกรณ์ช่วยการมองเห็นอื่น ๆ แม้อายุจะเพิ่มมากขึ้น
  • ปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น (Improved Quality of Life) LASIK ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดอุปสรรคในการใช้ชีวิต ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างใจต้องการ ทั้งการเล่นกีฬา การอ่านหนังสือ การเล่นโซเชียลมีเดียผ่านอุปกรณ์สื่อสาร หรือการขับรถ เมื่อข้อจำกัดในการใช้ชีวิตน้อยลง ก็สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ตั้งใจไว้ได้มากขึ้น

LASIK เหมาะกับใคร

  • ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  • มีค่าสายตาคงที่ใน 1 ปี
  • มีสุขภาพดวงตาที่แข็งแรง
  • มีความหนาของกระจกตาที่เพียงพอ
  • ไม่มีโรคเกี่ยวกับกระจกตา หรือโรคประจำตัว เช่น เบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

LASIK ไม่เหมาะกับใคร

  • ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับกระจกตา ตาแห้งรุนแรง ตาอักเสบ ตาแพ้แสง กระจกตาโป่ง กระจกตาถลอก แผลเป็นบนกระจกตา
  • ผู้ที่มีโรคตาชนิดอื่น ๆ เช่น ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม งูสวัดขึ้นตา ตาแห้งเรื้อรัง กระจกตาติดเชื้อ 
  • ผู้ที่มีความหนาของกระจกตาไม่เพียงพอ
  • ผู้ที่มีค่าสายตาไม่คงที่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงของค่าสายตาเกิน 50 ใน 1 ปี
  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ คุณแม่กำลังให้นมบุตร
  • ผู้ที่มีสายตายาวตามอายุ (จักษุแพทย์จะพิจารณารักษาด้วยวิธีอื่นที่เหมาะสม)

เลสิก (lasik), Prk, Femto Lasik, Re L Ex Smile, Smile Pro

LASIK มีอัตราการประสบความสำเร็จแค่ไหน

จากผลการศึกษาผู้ที่แก้ไขค่าสายตาด้วยการทำ LASIK พบว่ามีอัตราความสำเร็จหลังการผ่าตัดที่น่าพึงพอใจที่ระหว่าง 96-98% แบ่งตามสัดส่วนดังต่อไปนี้

  • 99% มีระดับการมองเห็น 20/40 หรือดีกว่า
  • 90% มีระดับการมองเห็น 20/20 ซึ่งเป็นระดับการมองเห็นของผู้ที่มีค่าสายตาเป็นปกติ

ผลการศึกษานี้ บ่งบอกถึงความสำเร็จของการแก้ไขค่าสายตาด้วยวิธีการทำ LASIK เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ผลการรักษาอาจแตกต่างกันไปตามสุขภาพของแต่ละบุคคล

LASIK ปลอดภัยไหม

LASIK เป็นหนึ่งวิธีการผ่าตัดที่ปลอดภัยที่สุดในปัจจุบัน โดยมีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ต่ำกว่าร้อยละ 1 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ที่องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาหรือ FDA ให้การรับรองมาตรฐานความปลอดภัย

เลสิก (LASIK) รพ.เมดพาร์ค

ศูนย์จักษุ รพ. เมดพาร์ค กรุงเทพ ประเทศไทย นำโดยทีมจักษุแพทย์ผู้ชำนาญการระดับอาจารย์แพทย์ที่มีประสบการณ์สูงในการทำ LASIK ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ มีความพร้อมในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคจักษุ และภาวะสายตาผิดปกติทั่วไปและที่มีความยากซับซ้อนอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอนทั้งก่อนและหลังการรักษาทั้งการทำ LASIK, PRK, Femto LASIK และเทคโนโลยีรุ่นล่าสุด SMILE Pro ด้วยเทคโนโลยีช่วยผ่าตัดระบบ AI ที่ทันสมัยและอุปกรณ์การตรวจวินิจฉัยประสิทธิภาพสูงมาตรฐาน JCI ผสานเทคนิคการผ่าตัดและรักษาขั้นสูงที่ช่วยให้มีความรวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัย ช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งให้การดูแลติดตามผลหลังการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เข้ารับการรักษามีค่าสายตาที่เป็นปกติ ปราศจากภาวะแทรกซ้อน สามารถฟื้นตัวได้เร็ว มีสุขภาพดวงตาที่แข็งแรง และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีอิสระ


คลิปวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับการทำ LASIK เพื่อรักษาสายตา

True or False: 10 ความเชื่อการทำเลสิครักษาสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 12 ม.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ฐิติมา หวังเจริญ

    พญ. ฐิติมา หวังเจริญ

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    • โรคของกระจกตา
    โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดลอกต้อเนื้อโดยไม่เย็บ, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
  • Link to doctor
    พญ. วรรณรัตน์ สาธิตพิฐกุล

    พญ. วรรณรัตน์ สาธิตพิฐกุล

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคตาแห้งและโรคกระจกตา, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, ต้อกระจก
  • Link to doctor
    พญ. มณฑิรา เจิมจุติธรรม

    พญ. มณฑิรา เจิมจุติธรรม

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, Ophthalmology, โรคต้อเนื้อ, โรคตาแห้งและโรคกระจกตา, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
  • Link to doctor
    พญ. วิมลรัตน์ ประทีปะเสน

    พญ. วิมลรัตน์ ประทีปะเสน

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
  • Link to doctor
    พญ. สุภาวดี เอื้อจงมานี

    พญ. สุภาวดี เอื้อจงมานี

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, ภาวะสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, โรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอุตตัน, การผ่าตัดต้อกระจก
  • Link to doctor
    ศ.พญ. งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ

    ศ.พญ. งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, โรคต้อเนื้อและการผ่าตัดโดยใช้กาวชีวภาพ, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาโดยใช้สเต็มเซลล์, การผ่าตัดต้อกระจก
  • Link to doctor
    รศ.พิเศษ นพ. ภาคภูมิ คัมภีร์พันธุ์

    รศ.พิเศษ นพ. ภาคภูมิ คัมภีร์พันธุ์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
    การผ่าตัดต้อกระจก, ผ่าตัดต้อกระจกหลังทำเลสิก, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ใส่คอนแทคเลนส์, โรคกระจกตาโก่ง, การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยสายตาเลือนรางและเทคโนโลยีช่วยการมองเห็น
  • Link to doctor
    พญ.   ณัฐรินทร์   ภูษิตโภยไคย

    พญ. ณัฐรินทร์ ภูษิตโภยไคย

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    Ophthalmology, โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
  • Link to doctor
    พญ. อุษณีย์ เหรียญประยูร

    พญ. อุษณีย์ เหรียญประยูร

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคต้อเนื้อและการผ่าตัดโดยใช้กาวชีวภาพ, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาโดยใช้สเต็มเซลล์, การผ่าตัดต้อกระจก