ภาวะน้ำหนักเกิน อาการ สาเหตุ การรักษาและป้องกันโรคอ้วน (Obesity)- Symptoms, Causes, Treatment, Prevented

โรคอ้วน

โรคอ้วน เกิดขึ้นเมื่อมีปริมาณไขมันในร่างกายที่มากเกินไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และมะเร็ง

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


โรคอ้วน

โรคอ้วน เกิดขึ้นเมื่อมีปริมาณไขมันในร่างกายที่มากเกินไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และมะเร็ง โรคที่ซับซ้อนนี้อาจเป็นผลมาจากปัจจัยที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม อาหาร ปัจจัยส่วนบุคคล ตลอดจนการเลือกออกกำลังกาย การลดน้ำหนักสามารถช่วยรักษาและป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้ โดยอาจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง รวมถึงการเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหาร และออกกำลังกายเพิ่มขึ้น ทั้งนี้แพทย์อาจให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์แก่คนไข้ เช่น การให้ยา หรือขั้นตอนทางการแพทย์อื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการลดน้ำหนัก

โรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักเกิน มีอาการอย่างไร

โดยทั่วไปคนไข้จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอ้วนหากดัชนีมวลกายหรือ BMI สูงถึง 30 หรือมากกว่า ค่าดัชนีมวลกายสามารถประมาณไขมันในร่างกายได้ แต่ไม่สามารถวัดไขมันในร่างกายได้อย่างแม่นยำ ค่าดัชนีมวลกายอาจสูงในคนที่มีกล้ามเนื้อมาก ซึ่งอาจไม่มีไขมันส่วนเกินในร่างกายได้เช่นกัน

ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

คุณอาจปรึกษาแพทย์หากคุณกังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่อาจเกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัว

สาเหตุของโรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักเกิน

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วนมีหลายประการ ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม พฤติกรรมการเผาผลาญ และฮอร์โมน การรับแคลอรี่มากเกินไปเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญออกผ่านกิจกรรมหรือการออกกำลังกายตามปกติเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคอ้วนได้เช่นกัน

ปัจจัยเสี่ยงโรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักเกิน

มีปัจจัยหลายประการที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคอ้วนรวมถึงปัจจัยดังต่อไปนี้

  • อิทธิพลทางพันธุกรรม
    ปริมาณไขมันในร่างกายมีแนวโน้มที่จะมีความสัมพันธ์กับพันธุกรรม นอกเหนือจากไขมันส่วนเกินในร่างกายแล้ว พันธุกรรมอาจมีส่วนในการเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงาน การเผาผลาญแคลอรี่ รวมไปถึงการควบคุมความอยากอาหาร
  • ทางเลือกของไลฟ์สไตล์
    การเลือกวิถีชีวิตมีส่วนสำคัญในการสะสมของไขมันส่วนเกินในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอ้วน อาจรวมถึง
    • การบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
    • เครื่องดื่มแคลลอรี่สูง
    • การไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
  • โรคและยาอื่น ๆ
    โรคอ้วนอาจเป็นผลมาจากปัญหาทางการแพทย์บางอย่าง เช่น โรคข้ออักเสบ โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง และกลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลี่  ยิ่งไปกว่านั้นอาจเป็นผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาต้านอาการชัก ยาเบาหวาน ยาต้านอาการซึมเศร้า สเตียรอย ด์และเบต้าบล็คเกอร์
  • ประเด็นทางสังคมและเศรษฐกิจ
    พบว่าโรคอ้วนเกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมและเศรษฐกิจ ผู้คนที่คุณอยู่ใกล้ชิด อาจมีอิทธิพลต่อน้ำหนักของคุณเนื่องจากอาจรับประทานอาหารและทำกิจกรรม รวมถึงอาจมีวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกัน
  • อายุ
    แม้ว่าโรคอ้วนจะเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่ระบบบางอย่าง เช่น ฮอร์โมน การเผาผลาญและปริมาณของกล้ามเนื้อ จะเปลี่ยนไปและส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนักตัว
  • ปัจจัยอื่น ๆ
    ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจทำให้ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้นและนำไปสู่โรคอ้วนอาจรวมถึง:
    • การตั้งครรภ์
    • การเลิกสูบบุหรี่
    • การขาดการนอนหลับ
    • ความเครียด
    • ไมโครไบโอม
    • ความพยายามในการลดน้ำหนักอย่างไม่ถูกต้องก่อนหน้า

ภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วน

ผู้ที่เป็นโรคอ้วนอาจมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไปนี้มากขึ้น

การป้องกันไม่ให้น้ำหนักเกิน

คุณอาจลดความเสี่ยงของโรคอ้วนได้โดย

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
  • หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้คุณต้องทาน
  • ตรวจสอบน้ำหนักตัวเป็นประจำ
  • คงพฤติกรรมที่สม่ำเสมอ

โรคอ้วน มีวิธีการวินิจฉัยอย่างไร

แพทย์อาจทำการทดสอบบางอย่างเพื่อวินิจฉัยโรคอ้วนและตรวจสอบปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอ้วน การทดสอบอาจรวมถึง

  • การทบทวนประวัติสุขภาพ
  • การตรวจร่างกาย
  • การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย
  • การวัดรอบเอว
  • ตรวจสอบปัญหาสุขภาพอื่น ๆ
  • การตรวจเลือด

โรคอ้วน มีวิธีการรักษายอย่างไร

วัตถุประสงค์ของการรักษาคือการเข้าถึงและรักษาน้ำหนักให้แข็งแรง คุณอาจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและนิสัยบางอย่างของคุณหรือแพทย์อาจแนะนำทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพรวมทั้งนักกำหนดอาหารที่ปรึกษาด้านพฤติกรรมหรือผู้เชี่ยวชาญด้านโรคอ้วนอาจทำงานร่วมกับคุณเพื่อสร้างโปรแกรมลดน้ำหนักที่ช่วยให้คุณเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามแผนได้

โปรแกรมอาจแนะนำให้คุณปฏิบัติตามแผนการดำเนินชีวิตที่มีสุขภาพดี ได้แก่ :

  • การเปลี่ยนแปลงอาหาร
    จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการลดแคลอรี่และฝึกนิสัยการกินที่ดีต่อสุขภาพ แผนการรับประทานนี้อาจใช้เวลาประมาณหกเดือนขึ้นไปโดยดำเนินการต่อเนื่องอย่างน้อยหนึ่งปี แผนนี้อาจรวมถึง
    • การลดปริมาณแคลอรี่
    • ทำให้อิ่มโดยการเลือกรับประทาน เช่น การบริโภคผักและผลไม้จำนวนมากที่มีแคลอรี่น้อย
    • เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
    • การจำกัดปริมาณอาหารบางกลุ่ม เช่น คาร์โบไฮเดรตและไขมัน
    • การทดแทนมื้ออาหาร
  • การออกกำลังกายและการทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ
    การออกกำลังกายและกิจกรรมทางกายอื่น ๆ เป็นส่วนสำคัญของการรักษา

นอกเหนือจากโปรแกรมลดน้ำหนักแพทย์อาจแนะนำ

  • ยาลดน้ำหนักทางการแพทย์
  • ขั้นตอนและการผ่าตัดบางอย่าง เช่น
    • ขั้นตอนการส่องกล้องเพื่อลดน้ำหนัก
    • การผ่าตัดลดน้ำหนักเช่น
      • การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารโดยการทำ Bypass
      • แถบรัดกระเพาะอาหารที่ปรับได้
      • การผ่าตัดลำไส้เล็กส่วนต้น (Biliopancreatic diversion with duodenal switch)
      • การผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหารแบบ Gastric sleeve
  • การรักษาอื่น ๆ เช่น การสกัดกั้นสัญญาณประสาท

การป้องกันไม่ให้น้ำหนักกลับคืนมาหลังการรักษาโรคอ้วน

วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการป้องกันไม่ให้น้ำหนักขึ้นคือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอประมาณ 45-60 นาทีต่อวัน แพทย์อาจกิจกรรมการออกกำลังกายอื่น ๆ ที่เหมาะสมต่อสภาพร่างกายของคุณ และควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อรักษาน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพในระยะยาว


ประเมินดัชนีมวลกายของคุณ เพื่อรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

เผยแพร่เมื่อ: 25 ต.ค. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. ธัชนันท์ พรธารักษ์เจริญ

    ผศ.พญ. ธัชนันท์ พรธารักษ์เจริญ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย

    พญ. ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ปฐมา จรรย์แสง ผ่องสุวรรณ

    พญ. ปฐมา จรรย์แสง ผ่องสุวรรณ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    ไทรอยด์ และมะเร็งไทรอยด์
  • Link to doctor
    นพ. ธีรวุฒิ คลังเจริญชัย

    นพ. ธีรวุฒิ คลังเจริญชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
  • Link to doctor
    พญ. ณิชกานต์ หลายชูไทย

    พญ. ณิชกานต์ หลายชูไทย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมหมวกไต, ความผิดปกติของแคลเซียมและกระดูก, อินซูลินปั๊ม, โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป, ไขมันในเลือดสูง, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคต่อมใต้สมอง, โรคไทรอยด์
  • Link to doctor
    นพ. วิน ภาคสุข

    นพ. วิน ภาคสุข

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
  • Link to doctor
    นพ. อมรพรรณ เลิศฤทธิ์

    นพ. อมรพรรณ เลิศฤทธิ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ.  ปิยนุช  ปิยสาธิต

    พญ. ปิยนุช ปิยสาธิต

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรกรรมทั่วไป, โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป, อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
  • Link to doctor
    พญ. ศศิภัสช์ ช้อนทอง

    พญ. ศศิภัสช์ ช้อนทอง

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคความผิดปกติของต่อมหมวกไต, โรคทางเมแทบอลิก, ความดันโลหิตสูงจากภาวะผิดปกติของต่อมไร้ท่อ, ความผิดปกติ แปรปรวนของสภาวะสารน้ำและเกลือแร่, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคต่อมใต้สมอง, โรคไทรอยด์, เนื้องอกและมะเร็งต่อมไทรอยด์