โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) สาเหตุ การตรวจวินิจฉัยและการรักษา - Scoliosis - Causes, Diagnosis and Treatment

โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

โรคกระดูกสันหลังคด เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังเกิดการบิดตัวและโค้งงอออกด้านข้าง โดยมีอาการที่สังเกตได้ คือ ความสูงไหล่ หรือ สะโพก 2 ข้างไม่เท่ากัน สะบัก หรือ หน้าอกข้างหนึ่ง ยืดออกไม่สมดุลกับอีกข้าง

แชร์

โรคกระดูกสันหลังคด

โรคกระดูกสันหลังคด เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังเกิดการบิดตัวและโค้งงอออกด้านข้าง โดยมีอาการที่สังเกตได้ คือ

  • ความสูงไหล่ หรือ สะโพก 2 ข้างไม่เท่ากัน
  • สะบัก หรือ หน้าอกข้างหนึ่ง ยืดออกไม่สมดุลกับอีกข้าง
  • ลำตัว หรือ สะโพก เอียงออกด้านข้าง ทำให้ศีรษะกับเชิงกรานไม่ตรงกัน

ภาวะกระดูกสันหลังคด พบได้ประมาณ 3% ของประชากร โดยส่วนใหญ่จะสังเกตุพบตั้งแต่ช่วงวัยเด็กหรือช่วงเข้าสู่วัยรุ่น พบได้ในเด็กทั้ง 2 เพศเท่าๆกัน แต่เพศหญิงมีโอกาสที่จะหลังคดเพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตจนต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดมากกว่าเพศชายประมาณ 8 เท่า

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่มีกระดูกสันหลังคดมักไม่มีอาการอื่นนอกจากเสียบุุคลิกภาพ แต่ในรายที่มีความผิดรูปมากขึ้นอาจทำให้ลำตัวเอียงจนเสียสมดุลและเกิดอาการปวดหลัง ในบางรายที่อาการรุนแรงและผิดรูปมาก อาจทำให้ช่องอกมีขนาดเล็กลงและขัดขวางการทำงานของปอดและหัวใจ ทำให้สมรรถภาพร่างกายลดลง และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สาเหตุของภาวะหลังคด

แบ่งหลักๆได้ 3 ประเภท ได้แก่

  • หลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุ พบได้มากที่สุด ส่วนหนึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับกรรมพันธ์ในครอบครัว จะเริ่มแสดงอาการเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น และผิดรูปมากขึ้นตามการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ความผิดปกติของรูปร่างกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด เช่นการเชื่อมติดกันของกระดูกเพียงด้านเดียว มักสังเกตุเห็นได้ตั้งแต่อายุน้อย
  • ความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น ภาวะสมองพิการ, การบาดเจ็บของไขสันหลัง, ภาวะกล้ามเนื้อฝ่อ กระดูกสันหลังคดประเภทนี้มักจะมีความผิดรูปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่วนใหญ่มักจำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัด

การตรวจร่างกายเบื้องต้นเองที่บ้าน

การตรวจเบื้องต้นที่บ้าน สามารถทำได้โดยให้ผู้ป่วยยืนขาชิดกัน แล้วก้มตัวไปข้างหน้าให้สะโพกงอ 90 องศา ถ้ามีภาวะกระดูกสันหลังคด จะเห็นว่าความโค้งนูนของหลัง 2 ข้างไม่เท่ากัน

สาเหตุ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

การตรวจทางรังสีวิทยาในโรงพยาบาล

การตรวจทางรังสีวิทยาในโรงพยาบาลจะมีความละเอียดมากขึ้น

  • เอกซเรย์กระดูกสันหลัง เป็นวิธีมาตรฐานในการวัดมุมกระดูกสันหลังที่คด และประเมินความยืดหยุ่นของหลังโดยการเอกซเรย์ท่าเอียงลำตัว
  • CT-scan ช่วยบอกรูปร่างของกระดูกสันหลังที่ผิดปกติในแต่ละระดับ ช่วยในการวางแผนการผ่าตัด
  • MRI ใช้ในกรณีที่สงสัยความผิดปกติของไขสันหลังและเส้นประสาท ที่อาจพบร่วมกับภาวะกระดูกสันหลังคดได้

การพิจารณาทางเลือกในการรักษา มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

To select the appropriate treatment, your doctor will consider the following factors.

  • อายุ เนื่องจากภาวะกระดูกสันหลังคดมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการเจริญเติบโต ผู้ป่วยที่ตรวจพบหลังคดตั้งแต่อายุน้อย จะมีโอกาสที่หลังจะคดเพิ่มขึ้นได้มาก
  • ระดับของกระดูกที่คด กระดูกสันหลังส่วนอก มีโอกาสที่จะคดเพิ่มขึ้น มากกว่ากระดูกสันหลังส่วนอื่น
  • ความรุนแรงของความคด ในผู้ป่วยที่มีมุมกระดูกคดมาก จะยิ่งมีโอกาสที่จะคดมากขึ้น
  • เพศ เพศหญิงมีแนวโน้มที่หลังจะคดมากขึ้น มากกว่าเพศชาย

Treatments

ทางเลือกในการรักษา ได้แก่ การเฝ้าสังเกตอาการ การใส่อุปกรณ์พยุงหลัง และการผ่าตัด

การเฝ้าสังเกตอาการภาวะหลังคด

ใช้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ เมื่อพบภาวะหลังคดที่ไม่รุนแรง (มุมน้อยกว่า 20-25 องศา) หรือตรวจพบหลังคดในช่วงอายุที่เข้าสู่วัยรุ่นแล้ว โอกาสที่หลังจะคดมากขึ้นมีไม่มาก แพทย์มักจะแนะนำให้สังเกตอาการและตรวจติดตามทุก 4 - 6 เดือน จนพ้นช่วงเจริญเติบโต

ผู้ป่วยหลังคดสามารถทำกิจกรรมทุกอย่างได้ตามปกติ งานวิจัยบางชิ้นให้ข้อสรุปว่า ผู้ป่วยที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีแนวโน้มที่หลังจะคดเพิ่มขึ้นน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ออกกำลังกาย

การใส่อุปกรณ์พยุงหลัง (Bracing)

ใช้ในผู้ป่วยที่ยังอยู่ในช่วงเจริญเติบโตไม่เต็มที่ (ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 14 ปี และผู้ชายอายุน้อยกว่า 16 ปี) และมีมุมหลังคดที่ไม่รุนแรงมาก (25 - 40 องศา) โดยอุปกรณ์พยุงหลังไม่ได้ช่วยทำให้หลังคดน้อยลง แต่อาจช่วยชะลอการคดเพิ่มของหลังได้ โดยอุปกรณ์ทำจากวัสดุพลาสติกที่ดัดให้เข้ากับสรีระ ใส่ไว้ในเสื้อผ้าและสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ปกติ แต่จะต้องใส่อย่างน้อยวันละ 16 - 23 ชั่วโมง จึงจะเห็นผล ความร่วมมือของผู้ป่วยจึงมีความสำคัญมาก

การผ่าตัดกระดูกสันหลังคด

ในผู้ป่วยที่มุมหลังคดมากกว่า 45 องศา หรือมีแนวโน้มที่จะคดมากขึ้นอย่างรวดเร็ว แพทย์มักจะแนะนำให้รักษาโดยการผ่าตัด เพื่อแก้ไขแนวกระดูกที่คด และป้องกันการคดเพิ่มในอนาคต เทคนิคที่ใช้ในการผ่าตัดมีหลายวิธี ขึ้นกับลักษณะของผู้ป่วยแต่ละราย

  • ผ่าตัดใส่โลหะดามกระดูก แก้ไขความผิดรูป และเชื่อมกระดูกสันหลังจากทางด้านหลัง เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
  • การผ่าตัดเข้าทางด้านหน้าและช่องอกเพื่อเชื่อมกระดูกสันหลังทางด้านหน้า
  • การผ่าตัดใส่โลหะดามกระดูกชนิดยืดออกได้ (Magnetic growing rod) ใช้ในผู้ป่วยที่อายุน้อย โดยใส่อุปกรณ์ที่สามารถยืดออกได้ด้วยการใช้รีโมทจากภายนอก เพื่อควบคุมความรุนแรงของกระดูกสันหลังคดขณะที่รอให้ผู้ป่วยเจริญเติบโตเต็มที่ จึงมาผ่าตัดเชื่อมกระดูกอีกครั้ง

ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังคด มักอยู่ในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์อยู่แล้ว การมีความผิดปกติของรูปร่างจึงมีผลต่อสภาพจิตใจ ทำให้เกิดความโกรธ ความไม่มั่นใจ และความกลัวการเคลื่อนไหว กลัวการเข้าสังคมได้ ครอบครัวจึงมีส่วนสำคัญในการให้กำลังใจและสนับสนุน ให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ ในรายที่มีความผิดปกติรุนแรงอาจต้องปรึกษาจิตแพทย์หรือเข้าร่วมกลุ่มบำบัดร่วมด้วย

วีดีโอเกี่ยวกับภาวะกระดูกสันหลังคด

EP.1 กระดูกสันหลังคด คืออะไร อาการเป็นอย่างไร

EP.2 สาเหตุ ปัจจัย ที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกสันหลังคด

EP.3 ขั้นตอนการตรวจ และการรักษาโรคกระดูกสันหลังคด

EP.4 การผ่าตัด และแนวทางการรักษาโรคกระดูกสันหลังคด

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 12 ก.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    นพ. ชัยวัฒน์ ปิยะสกุลแก้ว

    นพ. ชัยวัฒน์ ปิยะสกุลแก้ว

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. อัคคพงษ์ นิติสิงห์

    รศ.นพ. อัคคพงษ์ นิติสิงห์

    • ศัลยกรรมประสาท
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ประสาทศัลยศาสตร์, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. กฤษดากร ขจรกิตติศักดิ์

    นพ. กฤษดากร ขจรกิตติศักดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. วิทย์ โคธีรานุรักษ์

    นพ. วิทย์ โคธีรานุรักษ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. เตมีธ์  เสถียรราษฎร์

    นพ. เตมีธ์ เสถียรราษฎร์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล

    นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ