ผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อ (Unicompartment Knee Arthoplasty)

ผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อ UKA

ปัจจุบันเมื่อมีการศึกษาพบว่า ข้อเข่าเสื่อมโดยส่วนใหญ่มักจะเริ่มที่ฝั่งครึ่งข้อทางด้านในก่อน เมื่อเป็นมากขึ้นจึงเกิดความเสื่อมไปยังอีก 2 ส่วน จึงเกิดแนวคิดที่จะผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมเพียงบางส่วนเฉพาะจุด

แชร์

ผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อ UKA

กายวิภาคของข้อเข่าของเราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ ครึ่งข้อทางด้านใน ครึ่งข้อทางด้านนอก และข้อลูกสะบ้าด้านหน้า

ในอดีตนั้น การผ่าตัดข้อเข่าเทียมนั้นมีเฉพาะการผ่าตัดแบบเปลี่ยนทั้งข้อ โดยจะทำการผ่าตัดนำกระดูกบริเวณผิวข้อทั้ง 3 ส่วนออก แล้วใส่ข้อเข่าเทียมเข้าไปแทนที่

ในปัจจุบันเมื่อมีการศึกษาพบว่าข้อเข่าเสื่อมโดยส่วนใหญ่มักจะเริ่มที่ฝั่งครึ่งข้อทางด้านในก่อน เมื่อเป็นมากขึ้นจึงเกิดความเสื่อมไปยังอีก 2 ส่วน จึงเกิดแนวคิดที่จะผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมเพียงบางส่วนเฉพาะจุดที่เกิดอาการเสื่อมเกิดขึ้น

ข้อดีของการผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อ

การผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อ คือการผ่าตัดนำผิวข้อเฉพาะครึ่งข้อด้านที่มีปัญหาออก และแทนที่ด้วยข้อเทียม  ซึ่งมีข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับการผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบเปลี่ยนทั้งข้อหลายอย่าง ได้แก่ แผลผ่าตัดเล็ก อาการปวดหลังผ่าตัดน้อย เสียเลือดน้อย การฟื้นตัวเร็ว ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดน้อย และมีการเคลื่อนที่ของเข่าที่เป็น ธรรมชาติมากกว่า

อย่างไรก็ดีไม่ใช่ว่าผู้ป่วยทุกคนจะเหมาะสำหรับการผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อ แพทย์จำเป็นต้องซักประวัติ ตรวจร่างกาย และทำการเอ็กซเรย์ เพื่อประเมินดูว่าคุณเหมาะสมสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อหรือไม่  ซึ่งตามสถิติพบว่าประมาณครึ่งนึงของผู้ป่วยที่มาผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้นเหมาะสมที่จะรักษาโดยการผ่าตัดแบบครึ่งข้อได้

ทั้งนี้ในห้องผ่าตัดแพทย์จะทำการเตรียมข้อเข่าเทียมไว้ทั้งแบบครึ่งข้อ และแบบเปลี่ยนทั้งข้อ  และตัดสินใจเลือกตามข้อบ่งชี้ที่เหมาะสมในห้องผ่าตัดอีกครั้ง

หลังการผ่าตัด สามารถทำกิจกรรมได้เหมือนกับผ่าตัดแบบเปลี่ยนทั้งข้อหรือไม่?

หลังการการผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อสามารถทำกิจกรรมได้ ไม่ต่างกันกับการผ่าตัดแบบเปลี่ยนทั้งข้อ และยังให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับข้อเข่าเดิมของผู้ป่วยมากกว่า

 



บทความโดย
นพ.ไววิทย์ สงวนวงศ์วาน

ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ
เฉพาะทางการผ่าตัดต่อกระดูกและเปลี่ยนข้อเทียม
ประวัติแพทย์ คลิก

เผยแพร่เมื่อ: 02 ก.ย. 2021

แชร์