ศูนย์หัวใจ
โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก โดยในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 17.9 ล้านคน คิดเป็น 32% ของประชากรโลกที่เสียชีวิตจากทุกสาเหตุรวมกัน ปัจจุบันมีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าปีละ 7 หมื่นราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีในทุกช่วงวัย จากอุบัติการณ์ยังพบว่า มีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุสำคัญอย่าง “โรคหัวใจขาดเลือด” เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเมดพาร์ค เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด จึงเกิดการรวมตัวกันของอาจารย์แพทย์ในโรงเรียนแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง ร่วมกับทีมสหวิชาชีพที่มีความชำนาญเฉพาะทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดครบทุกสาขา ได้แก่
- อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
- ศัลยศาสตร์โรคหัวใจและทรวงอก
- กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ
- วิสัญญีวิทยาสำหรับการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดใหญ่และทรวงอก
- รังสีวิทยาการตรวจภาพหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ
- นักกำหนดอาหาร
- พยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
ซึ่งการรวมตัวของแพทย์และบุคลากรนี้เกิดขึ้นเพื่อให้การดูแลรักษาคนไข้ที่ต้องการแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง ประสบความสำเร็จในการรักษาโรคยากและซับซ้อนมาแล้วหลายครั้ง นอกจากนี้ ภายในศูนย์ยังติดตั้งเครื่องมือแพทย์ที่รองรับการรักษาได้หลากหลายรูปแบบในเวลาเดียวกัน และมีการอัปเดตเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา จึงมั่นใจได้ว่าจะสามารถช่วยให้คนไข้กลับมามีสุขภาพแข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีอายุยืนยาวขึ้น
ทำไมต้องศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเมดพาร์ค
- ดูแลสุขภาพคนไข้โดยทีมอาจารย์แพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ พร้อมด้วยทีมสหวิชาชีพ และแพทย์สาขาต่าง ๆ ที่มีความชำนาญ มีประสบการณ์สูง ทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างแท้จริง เปิดโอกาสให้คนไข้ขอความเห็นที่สองทางการแพทย์ (Second Medical Opinion) จากแพทย์ท่านอื่นในศูนย์ เป็นการเพิ่มทางเลือกในการรักษาให้ตรงตามความต้องการ สอดคล้องพฤติกรรมของคนไข้ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลังเสร็จสิ้นการรักษา
- ศัลยแพทย์ให้การรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีความยากและซับซ้อนได้สำเร็จหลายครั้ง เช่น รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจซับซ้อน รักษาหลอดเลือดแดงโป่งพองโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดทรวงอก หรือทำบอลลูนแก้ไขหลอดเลือดหัวใจตีบตัน 100% ซึ่งแต่ละเคสที่ให้การรักษา สามารถช่วยให้คนไข้มีสุขภาพดี และมีความสุขกับสมาชิกครอบครัวได้ยาวนานขึ้น
- ออกแบบเส้นทางพิเศษภายในศูนย์หัวใจเพื่อประโยชน์สูงสุดในการรักษาคนไข้ เชื่อมต่อจากห้องตรวจ ชั้น 8 ไปยังห้องผ่าตัด ชั้น 9 ทำให้แพทย์สามารถรักษาคนไข้ในช่วงเวลาวิกฤต (Golden Period) ได้ทันท่วงที
- มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น ห้องผ่าตัดระบบไฮบริด (Hybrid operating room) ติดตั้งเครื่องถ่ายภาพเอกซเรย์หลอดเลือดแบบสองระนาบ (Artis Icono BiPlane Angiography System) นวัตกรรมที่ช่วยให้แพทย์สามารถสวนหลอดเลือดและผ่าตัดได้ในเวลาเดียวกัน เหมาะสำหรับการผ่าตัดที่มีความซับซ้อน ต้องใช้วิธีรักษาผสมผสานหลายรูปแบบและต้องการความต่อเนื่อง เครื่องมือนี้ช่วยเซฟเวลาและลดปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการต้องเคลื่อนย้ายคนไข้ ช่วยให้ผลลัพธ์ออกมาดี และมีประสิทธิภาพสูงสุด
- บุคลากรทางการแพทย์ของศูนย์หัวใจได้รับการฝึกอบรมเป็นประจำ เพื่อพัฒนาศักยภาพและฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ พร้อมรับมือทุกเหตุการณ์ ณ ศูนย์จำลองสถานการณ์ (Simulation Center)
โรคและภาวะผิดปกติ
- ภาวะหลอดเลือดแดงช่องท้องโป่งพอง (Abdominal aortic aneurysm)
- ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome : ACS)
- โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องทรวงอก (Thoracic aortic aneurysm)
- ภาวะเลือดเซาะเข้าผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ปริแยกชั้น (Aortic dissection)
- โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ (Aortic valvular stenosis)
- โรคลิ้นหัวใจรั่ว (Aortic valve regurgitation)
- ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว (Atherosclerosis, arteriosclerosis)
- โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (Arteriovenous malformation)
- ภาวะหัวใจห้องบนเต้นระรัว (Atrial fibrillation)
- โรคหัวใจเต้นพลิ้ว (Atrial flutter)
- โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วแต่กำเนิด (Atrial septal defect : ASD)
- โรคหัวใจห้องบนเต้นเร็วผิดจังหวะ (Atrial tachycardia)
- ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia)
- ภาวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (Tachycardia)
- ภาวะหัวใจสลาย (Broken heart syndrome)
- โรคใหลตาย (Brugada syndrome)
- ภาวะช็อกจากโรคหัวใจ (Cardiogenic shock)
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ (Cardiomyopathy)
- โรคหลอดเลือดแดงคาโรติกตีบ (Carotid artery disease)
- อาการเจ็บหน้าอก (Chest pain)
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart disease)
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary artery disease)
- ภาวะหลอดเลือดหัวใจบีบเกร็งตัว (Coronary artery spasm)
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ (Dilated cardiomyopathy)
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart attack)
- ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure)
- โรคลิ้นหัวใจ (Heart valve disease)
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ (Hypertrophic cardiomyopathy)
- โรคคาวาซากิ (Kawasaki disease)
- ภาวะหัวใจส่งกระแสไฟฟ้าผิดปกติระยะคิวทียาว (Long QT syndrome)
- โรคลิ้นหัวใจไมทรัล (Mitral valve disease)
- โรคลิ้นหัวใจหย่อน (Mitral valve prolapse)
- โรคลิ้นหัวใจไมทรัลรั่ว (Mitral valve regurgitation)
- โรคลิ้นหัวใจไมทรัลตีบ (Mitral valve stenosis)
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocardial ischemia)
- ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis)
- โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน (Patent ductus arteriosus : PDA)
- โรคอกบุ๋ม (Pectus excavatum)
- โรคน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน (Pericardial effusion)
- เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis)
- โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral artery disease : PAD)
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด PVC (Premature ventricular contractions : PVCs)
- ภาวะเส้นเลือดไปปอดตีบ (Pulmonary atresia)
- ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary embolism)
- ภาวะความดันเลือดในปอดสูง (Pulmonary hypertension)
- ภาวะลิ้นหัวใจห้องล่างขวาตีบ (Pulmonary valve disease)
- โรคหัวใจรูห์มาติก (Rheumatic heart disease)
- โรคปมไฟฟ้าหัวใจเสื่อม (Sick sinus syndrome)
- โรคหลอดเลือดสมองขนาดเล็กขาดเลือด (Small vessel disease)
- ภาวะ SCAD (Spontaneous coronary artery dissection : SCAD)
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden cardiac arrest)
- ภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วผิดปกติ (Supraventricular tachycardia)
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว TOF (Tetralogy of Fallot : TOF)
- หลอดเลือดแดงเอออร์ตาในทรวงอกโป่งพอง (Thoracic aortic aneurysm)
- กลุ่มอาการ TOS (Thoracic outlet syndrome : TOS)
- ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient ischemic attack : TIA)
- โรคหลอดเลือดใหญ่หัวใจสลับขั้ว (Transposition of the Great Arteries : TGA)
- โรคลิ้นหัวใจไตรคัสปิดตัน (Tricuspid atresia)
- โรคลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว (Tricuspid valve regurgitation)
- ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว (Ventricular fibrillation)
- ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะที่หัวใจห้องล่าง (Ventricular tachycardia)
- ผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว (Ventricular septal defect : VSD)
- อาการใจสั่น (Heart palpitations)
บริการตรวจวินิจฉัยและหัตถการ
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography : EKG/ECG)
- ตรวจสมรรถภาพการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Ankle Bracial Index : ABI)
- ตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiography)
- ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงร่วมกับการฉีดฟองอากาศ (Echocardiography with Bubble Test)
- ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางหลอดอาหาร (Transesophageal Echocardiography : TEE)
- ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST) ด้วยการเดินบนสายพาน หรือปั่นจักรยาน (เหมาะสำหรับผู้มีอุปสรรคด้านการทรงตัว เดิน วิ่ง ได้ไม่สะดวก)
- ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงร่วมกับการออกกำลังกาย (Stress Echocardiography) เป็นการเดินบนสายพาน หรือปั่นจักรยาน (เหมาะสำหรับผู้มีอุปสรรคด้านการทรงตัว เดิน วิ่ง ได้ไม่สะดวก)
- ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงร่วมกับการใช้ยาโดบูทามีนกระตุ้น (Dobutamine Stress Echocardiography) เหมาะสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายไม่ได้ เช่น ผู้มีปัญหาข้อเข่า ผู้สูงอายุ เป็นต้น
- ตรวจภาวะเป็นลมด้วยเตียงปรับระดับ (Tilt Table Test)
- ตรวตติดตามบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter Monitoring)
- ตรวจวัดความดันโลหิตต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ (Ambulatory Blood Pressure Monitoring : ABPM)
- ตรวจติดตามบันทึกภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Event Monitoring)
- ตรวจสอบด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker) และเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (Automated Implantable Cardioverter-Defibrillator)
- ตรวจวัดปริมาณหินปูนสะสมที่หลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Calcium Scoring) ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ใช้เวลาตรวจน้อย ทราบผลแม่นยำ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะหัวใจที่รุนแรงขึ้นได้
- ตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Coronary Artery)
- ตรวจหัวใจและหลอดเลือดด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI)
- ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการใช้เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (MIBI Stress Test)
ความชำนาญพิเศษ
- กลุ่มหลอดเลือดหัวใจ
- การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน หลอดเลือดหัวใจตีบตัน 100%
- การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและขดลวด
- การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยหัวกรอกากเพชรโดยเครื่องกรอความถี่สูง
- กลุ่มหลอดเลือด
- การขยายหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบด้วยการทำบอลลูนและขดลวด
- การผ่าตัดสอดสายสวนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง
- กลุ่มไฟฟ้าหัวใจ
- รักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจและรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าความถี่สูง
- การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจถาวร
- การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชั่วคราว
- การใส่เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติด้วยสัญญาณไฟฟ้า
- การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจสองด้านบีบตัวประสานงานดีขึ้น
- การกระตุกไฟฟ้าหัวใจเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ
- การปิดรยางค์หัวใจห้องซ้ายบน
- กลุ่มลิ้นหัวใจ
- การใส่ลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวน
- การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ
- การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
- การรักษาโรคลิ้นหัวใจไมทรัลตีบด้วยไมตรัลคลิป
- การขยายลิ้นหัวใจไมทรัลด้วยบอลลูน
- การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัลผ่านกล้องแบบเปิดแผลขนาดเล็ก
- กลุ่มหัวใจผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
- การรักษารูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องบนผ่านสายสวน
- การผ่าตัดปิดรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องบน และผ่าตัดปิดรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่าง
- การผ่าตัดซ่อมหลอดเลือดสำหรับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีความซับซ้อน
- การรักษาอื่น ๆ
- การผ่าตัดปอดด้วยวิธีส่องกล้องแผลเล็ก
- การผ่าตัดปอดแบบเปิด
- การใช้สายสวนจี้เส้นประสาทอัตโนมัติบริเวณหลอดเลือดแดงของไต
- การรักษาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Arterial Disease: PAD) ที่กีดขวางการไหลเวียนเลือดไปยังแขนขา ด้วยการขยายหลอดเลือดแดงด้วยบอลลูนหรือขดลวด
แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง
- โปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจ
- โปรแกรมตรวจพิเศษเพื่อสุขภาพหัวใจ