อาการ สาเหตุ การรักษาประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือภาวะขาดประจำเดือน Amenorrhea - Symptoms, Causes, Diagnosis and Treatment

ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea)

ภาวะขาดประจำเดือน หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ คือการที่ไม่มีประจำเดือนนานราว 3-6 เดือน อาการคือการไม่มีประจำเดือน โดยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะขาดประจำเดือน

แชร์

ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือ ภาวะขาดประจำเดือน

ประจำเดือน เกิดจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอก กลายเป็นเลือดและเนื้อเยื่อออกมาทางช่องคลอด ซึ่งการมีรอบเดือนนั้นเป็นผลมาจากการควบคุมของระบบอวัยวะสืบพันธุ์อันซับซ้อน โดยสมองส่วนล่าง (hypothalamus) ทำหน้าที่ควบคุมต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ซึ่งควบคุมการตกไข่ รังไข่ทำหน้าที่สร้างไข่และฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งมดลูกจะตอบสนองต่อฮอร์โมนดังกล่าวและสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาขึ้น พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและการตั้งครรภ์

ภาวะขาดประจำเดือน หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ คือการที่ไม่มีประจำเดือนนานราว 3-6 เดือน โดยผู้หญิง 1 ใน 4 คนมักเคยประสบกับภาวะดังกล่าวอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต 

ประเภทของภาวะขาดประจำเดือน

  • ภาวะขาดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ คือ การไม่มีประจำเดือนเมื่ออายุครบ 15 ปี หรือหลังเข้าวัยเจริญพันธุ์มาแล้ว 5 ปี ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมหรืออาจเกิดขึ้นภายหลัง
  • ภาวะขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ คือ การไม่มีประจำเดือนเป็นเวลา 3-6 เดือน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการตั้งครรภ์ การให้นมบุตร ความเครียด หรือโรคเรื้อรัง

อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ

อาการหลักคือการไม่มีประจำเดือน โดยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะขาดประจำเดือน

  • อาการจากภาวะหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบ มีขนขึ้นที่หน้าหรือร่างกาย ช่องคลอดแห้ง
  • น้ำนมไหล
  • สิว
  • ปวดศีรษะ
  • การมองเห็นเปลี่ยนไป

สาเหตุที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนขาดไป

  • ภาวะขาดประจำเดือนจากสาเหตุตามธรรมชาติ เช่น การตั้งครรภ์ การให้นมบุตร หรือวัยหมดประจำเดือน 
  • การใช้ยา เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาควบคุมความดันโลหิต ยาต้านอาการทางจิต ยาต้านเศร้า เคมีบำบัด
  • ปัจจัยทางด้านการดำเนินชีวิต เช่น การออกกำลังกายมากเกินไป การใช้พลังงานของร่างกายสูง ไขมันในร่างกายต่ำ น้ำหนักตัวน้อยกว่าน้ำหนักตัวมาตราฐานราว 10% ซึ่งมักพบในนักกีฬาหรือนักเต้นบัลเล่ต์ หรือเป็นโรคที่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดปกติ ได้แก่ โรคล้วงคอ (bulimia) หรือ ภาวะไม่อยากอาหารจากปัญหาทางจิตใจ (anorexia) จะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนและการตกไข่ จนทำให้ประจำเดือนไม่มา นอกจากนี้การที่มีความเครียดทางจิตใจก็ส่งผลต่อฮอร์โมนและรอบเดือนได้
  • ระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุล เนื่องจากปัญหาทางสุขภาพ เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ซึ่งส่งผลให้ระดับฮอร์โมนสูงอยู่ตลอดเวลา ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ อันได้แก่ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ เนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง หรือภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร
  • ปัญหาทางด้านอวัยวะสืบพันธุ์
    • ภาวะมีพังผืดในโพรงมดลูก เนื่องจาก Asherman's syndrome ซึ่งอาจเกิดจากการผ่าคลอด การรักษาพังผืดมดลูก หรือการขูดมดลูก
    • ไม่มีอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น มดลูก ปากมดลูก หรือช่องคลอด ตั้งแต่กำเนิด
    • ช่องคลอดตีบหรืออุดตัน ขัดขวางการไหลของประจำเดือน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะขาดประจำเดือน ได้แก่ ความเครียด การออกกำลังเข้มข้นมากจนเกินไป น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป การรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ โรคเรื้อรัง มีประวัติของคนในครอบครัวเข้าสู่วัยทองก่อนวัยหรือมีภาวะขาดประจำเดือน หรือมีโรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง

ภาวะแทรกซ้อนหากมีภาวะขาดประจำเดือน

  • ภาวะมีบุตรยากในผู้ที่มีภาวะตกไข่ไม่สม่ำเสมอ
  • เสี่ยงต่อภาวะแท้งบุตรหากภาวะขาดประจำเดือนเกิดจากความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมนในร่างกาย
  • เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนและโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนไม่เพียงพอ
  • ปวดท้องน้อย หากภาวะขาดประจำเดือนเกิดจากปัญหาทางด้านกายภาพ 
  • เกิดความเครียดทางจิตใจเนื่องจากประจำเดือนไม่มาตามปรกติ

Amenorrhea Banner 2

การตรวจวินิจฉัย

  • การซักถามประวัติและตรวจร่างกาย 
    แพทย์จะซักถามประวัติการมีประจำเดือนและทำการตรวจภายใน หากผู้ป่วยจดบันทึกการมีประจำเดือนเอาไว้จะช่วยในการวินิจฉัยสาเหตุของโรคได้
  • การตรวจการตั้งครรภ์
  • การตรวจเลือด
  • การตรวจพันธุกรรม เพื่อประเมินว่ามีภาวะรังไข่หยุดทำงานหรือไม่ โดยเฉพาะผู้ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี 
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่าย เช่น อัลตราซาวด์รังไข่และมดลูก หรือการตรวจ MRI เพื่อตรวจต่อมใต้สมอง

รักษาภาวะขาดประเดือน หรือ ประจำเดือนมาไม่ปกติ

ภาวะขาดประจำเดือนจากการตั้งครรภ์ การให้นมบุตร การหมดประจำเดือนไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา หากภาวะขาดประจำเดือนเกิดจากปัญหาด้านอื่น ๆ การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตอาจช่วยได้ โดยเริ่มรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น ยกน้ำหนักหรือออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และจัดการกับความเครียดที่มี บางรายอาจจะต้องรับประทานยาฮอร์โมน เช่น เอสโทรเจน แคลเซียม หรือวิตามินดี แพทย์อาจทำการผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีพังผืดในมดลูก เนื้องอกต่อมใต้สมอง มีผนังกั้นช่องคลอดหรือภาวะเยื่อพรหมจรรย์ไม่เปิด

การป้องกันประจำเดือนมาไม่ปกติ

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบห้าหมู่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ
  • จัดการกับความเครียด 
  • พบสูตินรีแพทย์ตามนัดเพื่อเข้ารับการตรวจภายในและตรวจแปบสเมียร์
  • จดบันทึกการมีรอบเดือนในแต่ละครั้ง เพื่อดูว่าเริ่มมีรอบเดือนวันใดและนานเท่าไร? ประจำเดือนขาดบ้างหรือไม่?

การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์

  • สอบถามคนในครอบครัวว่ามีใครเคยมีภาวะขาดประจำเดือนหรือไม่ ?
  • จดบันทึกอาการที่มี วันและระยะเวลาที่มีประจำเดือน ยาและอาหารเสริมที่กำลังรับประทาน ปัญหาที่กระทบจิตใจที่กำลังเผชิญอยู่ รวมถึงคำถามที่ต้องการถามแพทย์ เช่น 
    • ภาวะขาดประจำเดือนเกิดจากอะไร?
    • จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมหรือไม่?
    • ควรเข้ารับการรักษาด้วยวิธีใดบ้าง?

นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจเตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่แพทย์มักจะถามไว้ล่วงหน้าได้

  • มีประจำเดือนครั้งล่าสุดเมื่อไร?
  • มีเพศสัมพันธ์เป็นประจำหรือไม่?
  • คุมกำเนิดหรือไม่?
  • กำลังเผชิญกับความเครียดใด ๆ หรือไม่?
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือไม่?
  • ออกกำลังกายเป็นประจำหรือไม่?
  • มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หรือไม่?

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 03 ต.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Oncology
  • Link to doctor
    พญ. นลินา ออประยูร

    พญ. นลินา ออประยูร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology