อาการ สาเหตุ การรักษามะเร็งเต้านม - Symptoms, Causes and Treatment Breast Cancer

มะเร็งเต้านม (Breast Cancer)

มะเร็งเต้านม เกิดจากเซลล์ที่เจริญเติบโตรวดเร็วมากผิดปกติ โดยเฉพาะเซลล์ในท่อน้ำนมและเนื้อเยื่อบุผิวต่อมน้ำนมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดก้อนในเต้านมหรือมะเร็งเต้านม การเจริญเติบโตที่ผิดปกตินี้อาจลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่น ๆ

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


มะเร็งเต้านม

แม้ว่า มะเร็งเต้านม จะมีอุบัติการณ์ของโรคมากในเพศหญิง แต่ก็สามารถตรวจพบได้ในเพศชายเช่นเดียวกัน ในปัจจุบันอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมนั้นสูงขึ้นมาก อีกทั้งอัตราการเสียชีวิตก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องขอบคุณการตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม รวมถึงวิทยาการการรักษาที่ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม

มะเร็งเต้านมมีอาการอย่างไร?

  • คลำพบก้อนในเต้านม
  • ผิวบริเวณเต้านมหนาขึ้น หรือบุ๋มเหมือนลักยิ้ม หรือมีลักษณะเหมือนเปลือกส้ม
  • เต้านมมีขนาดหรือรูปร่างเปลี่ยนไป
  • หัวนมหดตัว
  • ผิวบริเวณลานนมลอกเป็นขุย

สาเหตุและอาการของมะเร็งเต้านม Breast Center Banner 5

อาการแบบไหนควรพบแพทย์?

หากคลำพบก้อนหรือสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของเต้านม ควรรีบพบแพทย์โดยทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย แม้ว่าผลการตรวจแมมโมแกรมครั้งล่าสุดจะไม่พบความผิดปกติใด ๆ ก็ตาม

มะเร็งเต้านม มีสาเหตุเกิดจากอะไร?

มะเร็งเต้านม เกิดจากเซลล์ที่เจริญเติบโตรวดเร็วมากผิดปกติ โดยเฉพาะเซลล์ในท่อน้ำนมและเนื้อเยื่อบุผิวต่อมน้ำนมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดก้อนในเต้านมหรือมะเร็งเต้านม การเจริญเติบโตที่ผิดปกตินี้อาจลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่น ๆ โดยสาเหตุของมะเร็งเต้านมนั้นอาจเกิดมาจากฮอร์โมน การดำเนินชีวิตประจำวัน และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม โรคมะเร็งเต้านมราว 5-10% มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม นักวิจัยพบยีนที่กลายพันธุ์แต่กำเนิด อันได้แก่ ยีน BRCA1 และ BRCA2 ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ที่สูงขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นมะเร็งเต้านม มีอะไรบ้าง?

  • เพศ: เพศหญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากกว่าเพศชาย 
  • อายุที่มากขึ้น: ความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้นตามอายุ 
  • ประวัติของคนในครอบครัวสายตรง: ผู้ที่มีมารดา น้องสาว หรือลูกสาวเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุยังน้อย มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้น
  • ยีนที่กลายพันธุ์แต่กำเนิด: ความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมจะสูงขึ้นหากคนในครอบครัวมียีน BRCA1 และ BRCA2 
  • มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับเต้านมหรือโรคมะเร็งเต้านม: หากมีประวัติเคยเป็นโรคเต้านมที่ไม่เป็นมะเร็ง (Lobular carcinoma in situ: LCIS) หรือมีภาวะก่อนเป็นมะเร็งในเต้านม (Atypical ductal hyperplasia: ADH) ความเสี่ยงก็จะเพิ่มมากขึ้น ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งในเต้านมข้างหนึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งในเต้านมอีกข้างเช่นกัน  
  • โรคอ้วน: หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมสูงมากขึ้น
  • การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร: หญิงที่มีบุตรคนแรกหลังอายุ 30 ปี หรือหญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้น 
  • ประจำเดือนและวัยทอง: การที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปีหรือการที่เข้าสู่วัยทองช้าจะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม 
  • การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน: เมื่อรับประทานฮอร์โมนทดแทน ซึ่งประกอบไปด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนเพื่อรักษาอาการวัยทอง ความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมจะสูงขึ้น และจะลดลงเมื่อเลิกรับประทาน
  • การสัมผัสกับรังสี: ผู้ที่สัมผัสกับรังสีตั้งแต่อายุยังน้อยจะมีความเสี่ยงสูง
  • การดื่มแอลกอฮอล์: ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จะมีความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่ม

โรคมะเร็งเต้านมป้องกันได้หรือไม่?

หญิงที่ไม่มีความเสี่ยงหรือมีความเสี่ยงต่ำ

  • ควรเข้ารับการตรวจคัดกรอง เช่น การตรวจเต้านมหรือแมมโมแกรม เป็นประจำ 
  • เรียนรู้วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง หมั่นสังเกตเต้านมว่ามีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปหรือมีความผิดปกติใด ๆ หรือไม่
  • จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ที่วันละ 1 แก้วหากต้องการดื่ม
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที
  • จำกัดการใช้ฮอร์โมนทดแทนโดยใช้ปริมาณต่ำที่สุดและระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม
  • รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพิ่มการรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี พืชตระกูลถั่ว ปลา และน้ำมันที่มีประโยชน์ เช่น น้ำมันมะกอก

หญิงที่มีความเสี่ยงสูง

  • การป้องกันด้วยการรรับประทานยา: รับประทานยายับยั้งเอสโตรเจนเพื่อลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม โดยก่อนเริ่มการรับประทานยาดังกล่าวต้องมีการประเมินความเสี่ยงและแนะนำถึงข้อดีข้อเสียของการรับประทานยาดังกล่าว
  • การผ่าตัดป้องกัน: หญิงบางรายอาจตัดสินใจที่จะเข้ารับการผ่าตัดป้องกันการเป็นโรคโดยทำการผ่าตัดเต้านมหรือรังไข่ที่ยังไม่เป็นโรคออก เพื่อลดความเสี่ยง

Breast Cencer ตรวจเต้านมด้วยมือ - Breast self-exams

มะเร็งเต้านมมีวิธีตรวจวินิจฉัยอย่างไร?

  • การตรวจเต้านมด้วยมือ เพื่อตรวจดูความผิดปกติของผิวหนังบริเวณเต้านมและก้อนในเต้านมหรือรักแร้
  • การตรวจแมมโมแกรม ซึ่งช่วยคัดกรองหรือตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านม 
  • การตรวจอัลตราซาวด์เต้านม เพื่อตรวจดูว่ามีก้อนเนื้อหรือถุงน้ำในเต้านมหรือไม่
  • การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ เพื่อตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อเยื่อว่ามีเซลล์มะเร็งหรือไม่ เป็นเซลล์มะเร็งชนิดใด ระดับของมะเร็ง และสถานะของตัวรับฮอร์โมนในเซลล์มะเร็ง เพื่อช่วยในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
  • การ MRI เต้านม เพื่อตรวจดูขนาด ตำแหน่ง และขอบเขตของเนื้องอกและมะเร็ง

รับมืออย่างไร เมื่อเป็นมะเร็งเต้านม?

การทราบข่าวว่าตนเองเป็นมะเร็งเต้านมนั้นเป็นเรื่องที่หนักหนา อีกทั้งผู้ป่วยยังมีภาระกิจที่จะต้องตัดสินใจสำคัญ ๆ เรื่องวิธีการรักษา ผู้ป่วยจึงควรเตรียมใจและกายให้พร้อมก่อนเข้ารับการรักษา

  • หาความรู้เพิ่มเติมเรื่องมะเร็งเต้านม โดยถามแพทย์ถึงชนิด ระดับ และสถานะตัวรับฮอร์โมนของมะเร็ง ข้อดีและข้อเสียของวิธีการรักษาแต่ละแบบ 
  • พูดคุยกับผู้ที่หายจากมะเร็งเต้านมหรือนักจิตวิทยาให้คำปรึกษาที่เคยให้คำปรึกษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมาก่อน การที่ได้ระบายความคิด ความรู้สึกกับผู้ที่เคยผ่านเหตุการณ์เหมือนกันจะช่วยบรรเทาและจัดการกับความเครียดหรือความทุกข์ใจได้ 
  • พูดคุยกับเพื่อนสนิทหรือคนในครอบครัว บุคคลเหล่านี้ถือเป็นหน่วยสนับสนุนที่จำเป็นขณะที่ต้องเผชิญกับมะเร็ง โดยผู้ป่วยสามารถพูดคุยระบายความทุกข์ใจ หรืออาจให้พวกเขาเหล่านี้ช่วยดูแล เช่น เตรียมอาหารให้ ในช่วงที่ร่างกายเหนื่อยล้าจากการเข้ารับการรักษา

การจัดการกับความอ่อนล้าของร่างกายเมื่อเป็นมะเร็งเต้านม มีกี่วิธี?

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมักรู้สึกอ่อนล้าระหว่างหรือหลังเข้ารับการรักษา การรักษาแบบแพทย์ทางเลือก(Complementary Medicine) ที่นำไปเสริมกับการการแพทย์แผนปัจจุบัน  สามารถช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้าได้

  • สอบถามแพทย์ว่าสามารถออกกำลังกายเบา ๆ เช่น โยคะ ไทเก๊ก เดิน หรือว่ายน้ำ ได้หรือไม่
  • ฝึกเทคนิคการลดความเครียด เช่น ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 
  • เขียนไดอารี่เพื่อระบายอารมณ์ความรู้สึกระหว่างที่เข้ารับการรักษา

Breast Cencer ดูแลแบบประคับประคอง - Palliative care

ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม แบบประคับประคอง

การดูแลแบบประคับประคองมีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและทำให้ผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตหรืออาการป่วยร้ายแรงนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการดูแลแบบประคับประคองนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับมือกับการอาการต่าง ๆ ของโรคร้ายแรงภายใต้การดูแลของทีมสหวิชาชีพ ซึ่งประกอบไปด้วยแพทย์ พยาบาล และบุคลากรวิชาชีพ การได้รับความร่วมมือจากตัวผู้ป่วยเองและครอบครัวจะช่วยให้การดูแลรักษาทางเลือกนี้ช่วยเติมเต็มการรักษาหลัก อันได้แก่ การผ่าตัด รังสีรักษา หรือเคมีบำบัด ได้อย่างสำเร็จลุล่วง

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

เรื่องราวจากประสบการณ์จริง

อาการของมะเร็งเต้านม - Breast Cancer Infographic Th

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 11 ก.ย. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. บัณฑิต สุนทรเลขา

    นพ. บัณฑิต สุนทรเลขา

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • การผ่าตัดช่องท้องผ่านกล้อง
    Laparoscopic Adrenalectomy, Laparoscopic Appendectomy, Laparoscopic Cholecystectomy, Laparoscopic Colorectal Surgery, Laparoscopic Gastrectomy, Laparoscopic Herniorrhaphy, Laparoscopic Pancreatectomy, Laparoscopic Small Bowel Resection, Laparoscopic Splenectomy, การปลูกถ่ายไต
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. ศรันย์ ทองวิทูโกมาลย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery
  • Link to doctor
    พญ. วิไลรัตน์ ประเสริฐ

    พญ. วิไลรัตน์ ประเสริฐ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery
  • Link to doctor
    พญ. รับพร สุขพานิช

    พญ. รับพร สุขพานิช

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Thyroid Surgery, Parathyroid Surgery
  • Link to doctor
    นพ. มาวิน วงศ์สายสุวรรณ

    นพ. มาวิน วงศ์สายสุวรรณ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery
  • Link to doctor
    นพ. อธิศพันธุ์ จุลกทัพพะ

    นพ. อธิศพันธุ์ จุลกทัพพะ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
    Breast Surgery, Vascular Surgery, General Surgery
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. วรเทพ กิจทวี

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
  • Link to doctor
    พญ. จียิน  วรวิทธิ์เวท

    พญ. จียิน วรวิทธิ์เวท

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์ตกแต่งเพื่อความงาม
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์เพื่อเสริมสร้าง
    Reconstructive Microsurgery, Breast Cosmetic and Reconstruction, Lymphatic Surgery, Facial Paralysis Reconstruction, Facial Reanimation, Endoscopic Carpal Tunnel Release
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. สมชาย ธนะสิทธิชัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
  • Link to doctor
    รศ.นพ. กฤษณ์ จาฏามระ

    รศ.นพ. กฤษณ์ จาฏามระ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery, Surgical Oncology
  • Link to doctor
    พญ. ณภัทร สายโกสุม

    พญ. ณภัทร สายโกสุม

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery
  • Link to doctor
    นพ. พุทธิพร เย็นบุตร

    นพ. พุทธิพร เย็นบุตร

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast and Thyroid Surgery, Breast Conserving Surgery, Breast Reconstruction with Autologous Flap and Prosthesis, Transaxillary Endoscopic Thyroidectomy
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. สิกฤษฏิ์ เด่นอริยะกูล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery, General Surgery
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. นวลพรรณ พลชัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    General Surgery
  • Link to doctor
    ศาสตราจารย์ ดร.นพ. พรชัย โอเจริญรัตน์

    ศาสตราจารย์ ดร.นพ. พรชัย โอเจริญรัตน์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา
    Breast Surgery, Breast Oncoplastic Surgery, Thyroid Surgery, Parathyroid Surgery, Head and Neck Surgery