ตรวจ MRI หัวใจ หรือ ตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า - Cardiac Magnetic Resonance Imaging (MRI)

ตรวจ MRI หัวใจ หรือตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Cardiac MRI

ตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ ตรวจ MRI เป็นการถ่ายภาพหัวใจโดยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุในการสร้างภาพ ช่วยในการตรวจปัญหาในห้องหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ และประเมินการไหลเวียนของเลือดในหัวใจ นับเป็นวิธีที่ปลอดภัย

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Cardiac MRI คืออะไร?

ตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ ตรวจ Cardiac MRI  (Cardiovascular MRI) เป็นการถ่ายภาพหัวใจโดยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุในการสร้างภาพ ช่วยในการตรวจปัญหาในห้องหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ และประเมินการไหลเวียนของเลือดในหัวใจ นับเป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด และไม่รุกล้ำ

ตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า - Cardiac Mri

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตรวจโรคอะไรได้บ้าง?

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถตรวจวินิจฉัยโรคทางหลอดเลือดและหัวใจ ดังต่อไปนี้

  • อาการปวดเค้นในอก
  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง โรคผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ปริแตกเซาะ โรคผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด
  • โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด พร้อมทั้งตรวจดูผลการผ่าตัดซ่อมหัวใจว่าได้ผลหรือไม่
  • เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบและบีบรัดหัวใจ
  • โรคทางกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น เนื้องอกในหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว และกลุ่มโรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ
  • โรคหัวใจขาดเลือด
  • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  • โรคลิ้นหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจรั่ว

การวินิจฉัยด้วยการตรวจ MRI หัวใจ - Cardiac MRI diagnosis

ทำไมแพทย์ถึงทำการตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI ?

  • ตรวจเพื่อประเมินความเสียหายของหัวใจ หลังจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือประเมินบริเวณของกล้ามเนื้อหัวใจที่เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอเนื่องจากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
  • ตรวจเพื่อระบุตำแหน่งที่ต้องทำการผ่าตัดด้วยการจี้ด้วยความร้อน
  • ตรวจเพื่อวางแผนการรักษาโรคหัวใจ
  • ตรวจเพื่อประเมินผลการรักษาโรคหัวใจ

ขั้นตอนของการตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Cardiac MRI มีอะไรบ้าง?

ก่อนตรวจ MRI หัวใจ

ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากกำลังตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด หรือมีเครื่องมือแพทย์อื่น ๆ ภายในร่างกาย และในวันที่เข้ารับการตรวจควรพาเพื่อนหรือคนในครอบครัวมาด้วยเพื่อให้ช่วยขับรถให้ ผู้ที่กลัวที่แคบ สามารถแจ้งแพทย์ไว้ล่วงหน้า เพื่อที่จะแพทย์จะได้จัดเตรียมยานอนหลับไว้ให้

ระหว่างตรวจ MRI หัวใจ

ผู้ป่วยจะนอนหงายบนเตียงที่เคลื่อนที่เข้าไปในเครื่อง MRI ได้ แพทย์อาจทำการฉีดสารทึบรังสีผ่านหลอดเลือดดำ เพื่อช่วยให้ถ่ายภาพเนื้อเยื่อและหลอดเลือดหัวใจได้คมชัดมากขึ้น โดยขณะที่เครื่องทำการส่งคลื่นวิทยุไปยังบริเวณหน้าอก ผู้ป่วยควรนอนนิ่ง ๆ เพื่อช่วยให้ภาพถ่ายคมชัด หัตถการนี้จะใช้เวลาประมาณ 30-90 นาที โดยระหว่างที่เข้ารับหัตถการผู้ป่วยสามารถสื่อสารกับรังสีแพทย์ที่อยู่อีกห้องผ่านไมโครโฟนได้

หลังตรวจ MRI หัวใจ

แพทย์จะทำการนัดเพื่อพูดคุยถึงผลการตรวจ โดยปกติแล้วหลังหัตถการ ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ หากผู้ป่วยได้รับการฉีดสารทึบรังสี ผู้ป่วยอาจรู้สึกขมในปาก บางรายอาจรู้สึกคลื่นไส้หรือเวียนศีรษะ ผู้ป่วยที่รับประทานยานอนหลับ อาจรู้สึกอ่อนเพลียจนกว่ายาจะหมดฤทธิ์

หากมีอาการของโรคหัวใจ ควรพบแพทย์โดยทันที

หมอหัวใจ ตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า - Cardiac Mri

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

การตรวจ Cardiac MRI หัวใจ หรือตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นหัตถการที่ช่วยให้ตรวจหัวใจได้ละเอียด แม่นยำ โดยไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดและไม่ใช้รังสี โดยระหว่างที่เข้ารับการตรวจนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องนอนนิ่ง ๆ เพื่อภาพที่คมชัด

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 11 ก.พ. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคหัวใจและหลอดเลือด, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    พญ. ศิริพร อธิสกุล

    พญ. ศิริพร อธิสกุล

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. อนุรักษ์ เจียมอนุกูลกิจ

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี

    รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    การรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวน, การรักษาโรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตันโดยการใส่สายสวน, การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน
  • Link to doctor
    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    • เวชศาสตร์นิวเคลียร์หัวใจ
    หัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจและหลอดเลือด, การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด
  • Link to doctor
    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจล้มเหลว การวินิจฉัย การรักษาและการป้องกัน, การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการดามขดลวด, โรคหัวใจแต่กำเนิด, การใช้อัลตราซาวน์ในเส้นเลือดหัวใจเพื่อช่วยการวินิจฉัยและรักษา, การใช้หุ่นยนต์ช่วยในการสวนหัวใจ ขยายหลอดเลือด และใส่ขดลวด, การลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน
  • Link to doctor
    นพ. ชัยศิริ วรรณลภากร

    นพ. ชัยศิริ วรรณลภากร

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคความดันโลหิตสูง, โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรง , การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคหลอดเลือดส่วนปลายบริเวณแขนขาตีบ, อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ
  • Link to doctor
    ศาสตราธิคุณ นพ. วสันต์ อุทัยเฉลิม

    ศาสตราธิคุณ นพ. วสันต์ อุทัยเฉลิม

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด