ตรวจวัดพื้นผิวและรูปร่างกระจกตาด้วยเทคนิค Corneal topography

การตรวจวัดพื้นผิวและรูปร่างกระจกตาด้วยเทคนิค Corneal topography

การตรวจตาด้วยเครื่องมือพิเศษ corneal topography เป็นการตรวจวิเคราะห์กระจกตาอย่างละเอียด ให้ข้อมูลลักษณะพื้นฐานทางกายภาพของกระจกตา ไม่ว่าจะเป็นค่าความโค้ง กำลังการหักเหแสง รูปร่างและความหนาของกระจกตา

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


การตรวจวัดพื้นผิวและรูปร่างกระจกตาด้วยเทคนิค Corneal topography

การตรวจตาด้วยเครื่องมือพิเศษ corneal topography เป็นการตรวจวิเคราะห์กระจกตาอย่างละเอียด ให้ข้อมูลลักษณะพื้นฐานทางกายภาพของกระจกตา ไม่ว่าจะเป็นค่าความโค้ง กำลังการหักเหแสง รูปร่างและความหนาของกระจกตา ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์มากในการรักษาผู้ป่วยโรคตา เช่น กระจกตาโก่ง ทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนก่อนการเลเซอร์แก้ไขสายตา (PRK, LASIK, SMILE Pro) และผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์เทียม

การตรวจวัดพื้นผิวและรูปร่างกระจกตาด้วยเทคนิค Corneal topography คืออะไร?

กระจกตาเป็นส่วนที่อยู่บริเวณหน้าสุดของดวงตา มีความใส และมีหน้าที่สำคัญในการหักเหแสงที่เข้ามาสู่ดวงตา ดังนั้นหากผิวกระจกตาไม่เรียบ รูปร่างของกระจกตาผิดปกติไปก็จะส่งผลให้มองเห็นภาพไม่ชัดหรือบิดเบี้ยวได้

Corneal topography เป็นแผนที่แสดงลักษณะพื้นผิวของกระจกตา คล้ายกับการทำแผนที่แสดงความสูงต่ำของพื้นผิวต่างๆกัน มีภูเขาซึ่งสูงกว่าบริเวณโดยรอบ มีที่ราบ มีทะเลที่เป็นการทรุดตัวของแผ่นดิน เดิมทีเดียวเครื่องมือสำหรับถ่ายภาพ corneal topography จะให้ข้อมูลพื้นผิวกระจกตาด้านหน้าเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ได้แก่ Placido disk-based system, elevation-based systems (เช่น scanning-slit technology, Scheimpflug imaging system) ควบรวมอยู่ในเครื่องมือเดียว ทำให้ได้ข้อมูลพื้นผิวทั้งด้านหน้าและด้านหลังของกระจกตา (หรือเรียกได้ว่าเป็น tomography-based corneal topography) จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นแบบจำลองสามมิติ การตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษนี้จึงให้ข้อมูลลักษณะทางกายภาพของกระจกตาอย่างละเอียด ทั้งรูปร่าง ความหนา รูปแบบของสายตาเอียง รวมไปถึงขนาดและตำแหน่งของรูม่านตา และบางเครื่องมือสามารถวัดความพร่าแสงได้อีกด้วย

ประโยชน์ของการตรวจวัดพื้นผิวและรูปร่างกระจกตาด้วยเทคนิค Corneal topography

  • ตรวจคัดกรองก่อนทำเลเซอร์แก้ไขสายตา
    ผู้ที่มีค่าสายตาผิดปกติและต้องการทำเลเซอร์แก้ไขสายตา เช่น PRK LASIK SMILE Pro ต้องได้รับการตรวจประเมินด้วยเครื่อง corneal topography เพื่อวิเคราะห์รูปร่างของกระจกตา รูปแบบของค่าสายตาเอียง เนื่องจากหากรูปร่างของกระจกตาโก่งผิดปกติจะเป็นข้อห้ามของการทำเลเซอร์กระจกตาเพื่อแก้ไขสายตา
  • วินิจฉัยและตรวจติดตามโรคกระจกตาโก่ง
    โรคกระจกตาโก่งในระยะเริ่มต้นนั้นตรวจไม่เห็นด้วยกล้องจักษุจุลทรรศน์ (Slit Lamp Examination) เครื่องมือ Tomography-based Corneal Topography จึงมีความสำคัญมากในการวินิจฉัย ตรวจวิเคราะห์ ตรวจติดตาม และรักษาโรคกระจกตาโก่ง
  • างแผนการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์เทียม
    ก่อนผ่าตัดต้อกระจก ผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการตรวจวัดความโค้งของกระจกตา (Keratometry) เพื่อนำมาคำนวณเบอร์เลนส์แก้วตาเทียม การตรวจวัดพื้นผิวและรูปร่างของกระจกตาด้วยเทคนิค Corneal Topography จะช่วยให้การวัดความโค้งของกระจกตานั้นละเอียดและแม่นยำขึ้น ให้ข้อมูลค่าสายตาเอียงจากกระจกตา ความพร่าแสง ซึ่งจะช่วยจักษุแพทย์ในการวางแผนเลือกเลนส์ตาเทียม
  • ตรวจประเมินโรคกระจกตา
    เช่น ต้อเนื้อ เนื้องอกที่ผิวกระจกตา แผลเป็นที่กระจกตา หรือกระจกตาเสื่อม อาจทำให้ความโค้งกระจกตาเปลี่ยน และเกิดภาวะสายตาเอียงผิดปกติได้
  • ประโยชน์ด้านอื่น ๆ
    เช่น เพื่อการสวมใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง (Hard/ Rigid Gas Permeable (RGP)/ Scleral Contact Lenses) การแก้ไขสายตาเอียงหลังปลูกถ่ายกระจกตา

การตรวจวัดพื้นผิวและรูปร่างกระจกตาด้วยเทคนิค Corneal topography

ผู้ที่เหมาะเข้ารับการตรวจวัดพื้นผิวและรูปร่างกระจกตาด้วยเทคนิค Corneal topography

  • ผู้ที่ตั้งใจจะเข้ารับการผ่าตัดด้วยเลเซอร์แก้ไขสายตา - PRK, LASIK, และ SMILE Pro: จำเป็นต้องได้รับการตรวจวิเคราะห์กระจกตาอย่างละเอียดด้วยเครื่อง corneal topography
  • ผู้ที่ค่าสายตาเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแว่นบ่อย ๆ: เนื่องจากค่าสายตาที่เพิ่มขึ้นมากผิดปกติอาจเป็นสัญญาณของโรคกระจกตาโก่ง
  • ผู้ที่จะผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์เทียม: การตรวจวัดความโค้งของกระจกตาด้วยเทคนิค corneal topography ให้รายละเอียดมากขึ้นในเรื่องค่าสายตาเอียง รูปแบบสายตาเอียง แกนสายตาเอียง และยังช่วยคัดกรองภาวะกระจกตาที่ผิดปกติออกไป จึงมีประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะในผู้ที่ต้องการใส่เลนส์เทียมชนิดหลายระยะ (multifocal IOL)
  • ผู้ป่วยโรคกระจกตา: โรคกระจกตาต่างๆ เช่น กระจกตาโก่ง แผลเป็นที่กระจกตา โรคกระจกตาเสื่อม เครื่องมือนี้จะช่วยประเมินโรค และวางแผนการรักษา
  • ผู้ที่ต้องการใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง: การตรวจวัดพื้นผิวและรูปร่างของกระจกตาจะช่วย โดยเฉพาะกับคอนแทคเลนส์ประเภท RGP (Rigid Gas Permeable Lenses) หรือแบบ Scleral Lenses

การเตรียมความพร้อมก่อนตรวจวัดพื้นผิวและรูปร่างกระจกตาด้วยเทคนิค Corneal topography

โดยทั่วไป ท่านสามารถเข้ารับการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษนี้ได้ทันที หากท่านใส่คอนแทคเลนส์ จักษุแพทย์อาจขอให้หยุดใส่คอนแทคเลนส์ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 3 วัน

ขั้นตอนการตรวจวัดพื้นผิวและรูปร่างกระจกตาด้วยเทคนิค Corneal topography

ในขั้นตอนการตรวจ ท่านนั่งลงหน้าเครื่องตรวจวัดพื้นผิวและรูปร่างของกระจกตา วางคางและหน้าผาก ณ จุดที่กำหนด จ้องแสงไฟด้านในตัวเครื่อง จากนั้นเครื่องจะสแกนอัตโนมัติและแปลงข้อมูลที่ได้เป็นแผนที่กระจกตา ทั้งหมดนี้ใช้เวลาเพียง 2-3 นาที ตลอดการตรวจไม่มีสิ่งใดสัมผัสกับดวงตาของท่าน

ความเสี่ยงของการตรวจวัดพื้นผิวและรูปร่างกระจกตาด้วยเทคนิค Corneal topography

ขั้นตอนการตรวจ Corneal Topography นั้นคล้ายกับการถ่ายภาพดวงตา มีความรวดเร็ว และไม่เจ็บ ดังนั้นจึงมีความปลอดภัยและไม่มีความเสี่ยง

ผลการตรวจวัดพื้นผิวและรูปร่างกระจกตาด้วยเทคนิค Corneal topography

เครื่องมือนี้จะแปลงข้อมูลพื้นผิวและรูปร่างของกระจกตาเป็นแผนที่ ยกตัวอย่างเช่น

  • Axial curvature map: ใช้สำหรับดูความโค้งของกระจกตาด้านหน้า ณ ตำแหน่งต่างๆ ซึ่งค่าความโค้งจะสัมพันธ์กับค่ากำลังการหักเหแสงของกระจกตา (diopter) และแสดงผลเป็นสี โดยสีโทนร้อน (แดง ส้ม เหลือง) แสดงถึงกำลังการหักเหแสงมาก สีโทนเย็น (ฟ้า น้ำเงิน ม่วง) แสดงถึงกำลังการหักเหแสงน้อย
  • Elevation map: แผนที่แสดงรูปร่างความโค้งนูนของกระจกตา โดยเทียบกับเส้นโค้งอ้างอิง (best-fit sphere; BFS) โดยสีโทนร้อนคือกระจกตาโค้งนูนสูงกว่าเส้นโค้งอ้างอิง และสีโทนเย็นคือกระจกตาโค้งต่ำกว่าเส้นโค้งอ้างอิง
  • Pachymetry map: เป็นแผนที่แสดงความหนาของกระจกตาทั้งแผ่น โดยสีโทนเย็นแสดงกระจกตาที่หนา ขณะที่สีโทนอุ่นจะแสดงกระจกตาที่บาง (ในผลตรวจจะแสดงตัวเลข)

นอกจากนี้ เครื่องที่ตรวจอาจมาพร้อมซอฟต์แวร์ตรวจกระจกตาโก่ง ตัววัดความขุ่นกระจกตา (Corneal Densitometer) เครื่อง Corneal Wavefront Aberrometer และเครื่องวิเคราะห์ต้อกระจก

ขั้นตอนหลังการตรวจวัดพื้นผิวและรูปร่างกระจกตาด้วยเทคนิค Corneal topography

จักษุแพทย์จะอธิบายผลการตรวจให้ผู้รับการตรวจทราบ โดยอาจแจ้งผลในวันเดียวกันกับวันที่ตรวจหรือในนัดถัดไป

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

การตรวจพื้นผิวและรูปร่างของกระจกตาด้วยเทคนิค Corneal Topography เป็นเครื่องมือตรวจตาที่รวดเร็วและไม่เจ็บ ให้ข้อมูลคุณลักษณะทางกายภาพและการหักเหแสงของกระจกตาอย่างละเอียด ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคตา หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพตาหรือการตรวจวัดพื้นผิวและรูปร่างของกระจกตา จักษุแพทย์ที่โรงพยาบาลยินดีให้คำปรึกษา

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 31 มี.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    รศ.พิเศษ นพ. ภาคภูมิ คัมภีร์พันธุ์

    รศ.พิเศษ นพ. ภาคภูมิ คัมภีร์พันธุ์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
    การผ่าตัดต้อกระจก, ผ่าตัดต้อกระจกหลังทำเลสิก, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ใส่คอนแทคเลนส์, โรคกระจกตาโก่ง, การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยสายตาเลือนรางและเทคโนโลยีช่วยการมองเห็น
  • Link to doctor
    พญ.   ณัฐรินทร์   ภูษิตโภยไคย

    พญ. ณัฐรินทร์ ภูษิตโภยไคย

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    Ophthalmology, โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
  • Link to doctor
    รศ.พญ. วรรณรัตน์ สาธิตพิฐกุล

    รศ.พญ. วรรณรัตน์ สาธิตพิฐกุล

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคตาแห้งและโรคกระจกตา, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, ต้อกระจก
  • Link to doctor
    พญ. อุษณีย์ เหรียญประยูร

    พญ. อุษณีย์ เหรียญประยูร

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคต้อเนื้อและการผ่าตัดโดยใช้กาวชีวภาพ, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาโดยใช้สเต็มเซลล์, การผ่าตัดต้อกระจก
  • Link to doctor
    พญ. สุภาวดี เอื้อจงมานี

    พญ. สุภาวดี เอื้อจงมานี

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, ภาวะสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, โรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอุตตัน, การผ่าตัดต้อกระจก
  • Link to doctor
    พญ. มณฑิรา เจิมจุติธรรม

    พญ. มณฑิรา เจิมจุติธรรม

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, Ophthalmology, โรคต้อเนื้อ, โรคตาแห้งและโรคกระจกตา, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
  • Link to doctor
    ศ.พญ. งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ

    ศ.พญ. งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, โรคต้อเนื้อและการผ่าตัดโดยใช้กาวชีวภาพ, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาโดยใช้สเต็มเซลล์, การผ่าตัดต้อกระจก
  • Link to doctor
    พญ. ฐิติมา หวังเจริญ

    พญ. ฐิติมา หวังเจริญ

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    • โรคของกระจกตา
    โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดลอกต้อเนื้อโดยไม่เย็บ, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
  • Link to doctor
    พญ. วิมลรัตน์ ประทีปะเสน

    พญ. วิมลรัตน์ ประทีปะเสน

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
  • Link to doctor
    รศ. นพ. ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์

    รศ. นพ. ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาโรคต้อหิน
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    การผ่าตัดต้อกระจก, ต้อกระจก, โรคต้อหิน, การผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วยที่มีอาการม่านตาผิดปกติ