ขั้นตอนการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ ภาวะแทรกซ้อน - Cystoscopy: Procedure, Complication, types of cystoscopy

การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy)

การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy) เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะแสบขัด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปัสสาวะลำบาก แพทย์จะทำการสอดกล้อง cystoscope ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะ

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะคืออะไร?

การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy) เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยเยื่อบุผนังกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ โดยแพทย์จะทำการสอดกล้อง cystoscope ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะ ก่อนตรวจแพทย์อาจทายาชาเฉพาะที่หรือให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการส่องกล้อง

ส่องกล้อง cystoscope ตรวจกระเพาะปัสสาวะ มีกี่แบบ?

แพทย์อาจใช้กล้อง cystoscope แบบแข็งหรือแบบอ่อนขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการตรวจ

  1. กล้อง cystoscope แบบอ่อน แพทย์จะทำการสอดกล้องเข้าไปทางท่อปัสสาวะเพื่อตรวจดูกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ อาการระคายเคืองหรือเจ็บตอนส่องกล้องจะน้อยกว่าแบบแข็ง 
  2. กล้อง cystoscope แบบแข็ง สามารถใช้เพื่อตรวจดูภายในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะได้เช่นกัน มีข้อดีกว่าแบบอ่อนในเรื่องที่สามารถทำหัตถการที่เกี่ยวข้องได้หลากหลายกว่า

ส่องกล้อง cystoscope ตรวจกระเพาะปัสสาวะ มีกี่แบบ - Cystoscopy Types

ทำไมต้องส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ?

ในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจทำการส่องกล้องผ่านท่อไตไปพร้อมกับการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ เพื่อตรวจวินิจฉัยท่อไต ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงปัสสาวะจากไตไปยังกระเพาะปัสสาวะ

ก่อนส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ ควรเตรียมตัวอย่างไร?

  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์หรือกำลังรับประทานยา แพทย์อาจให้ผู้ป่วยปรับลดขนาดยา อย่างไรก็ตามไม่ควรงดรับประทานยาเอง เว้นแต่แพทย์สั่ง
  • เข้ารับการตรวจปัสสาวะเพื่อหาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หากพบการติดเชื้อ อาจต้องเข้ารับการรักษาให้หายดีเสียก่อนที่จะเข้ารับการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ 
  • งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะประเภทที่ต้องใช้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย
  • พาเพื่อนหรือคนในครอบครัวมาด้วยในวันที่เข้ารับการตรวจ

ขั้นตอนการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ มีวิธีการอย่างไร?

แพทย์จะให้ผู้เข้ารับการตรวจปัสสาวะทิ้งก่อนเข้ารับการตรวจ แล้วจึงทายาชาหรือให้ยาระงับความรู้สึกก่อนที่จะใส่กล้อง cystoscope ที่ทาเจลหล่อลื่นไว้แล้วเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะ จากนั้นแพทย์จะทำการปล่อยสารละลายน้ำเกลือผ่านเข้าไปทาง cystoscope เพื่อขยายกระเพาะปัสสาวะ ทำให้มองเห็นภาพเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะได้ชัดเจนขึ้น ระหว่างนี้ผู้เข้ารับการตรวจอาจรู้สึกปวดปัสสาวะ แพทย์จะทำการตรวจโพรงกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะและอาจจะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือผ่าตัดนำเนื้องอกออก จากนั้นจึงระบายสารละลายน้ำเกลือออกจากกระเพาะปัสสาวะหรือให้ผู้เข้ารับการตรวจไปปัสสาวะออก

การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะใช้เวลานานเท่าไร?

การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะเพื่อการตรวจวินิจฉัยจะใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที แต่การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะเพื่อการรักษาและตัดชิ้นเนื้อจะใช้เวลานานกว่า 

ทำไมต้องส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ - Why is Cystoscopy necessary

ผู้เข้ารับการตรวจจะรู้สึกตัวระหว่างการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะหรือไม่?

ผู้เข้ารับการตรวจจะรู้สึกตัวระหว่างการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะเพื่อการตรวจวินิจฉัย แพทย์จะทายาชาเฉพาะที่เพื่อลดความรู้สึกเจ็บ แต่การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะเพื่อการรักษาและตัดชิ้นเนื้อนั้น แพทย์อาจจะให้ยาสงบประสาทหรือยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย แล้วแต่ความเหมาะสมของคนไข้รายนั้น

การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะเจ็บหรือไม่?

ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดปัสสาวะหรือไม่สบายตัว แต่สามารถลดความรู้สึกเจ็บเนื่องจากยาชาและยาระงับความรู้สึก

ควรปฎิบัติตัวอย่างไร หลังการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ?

หากผู้ป่วยได้รับยาสงบประสาทหรือยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย ผู้ป่วยอาจต้องนอนพักจนกว่ายาจะหมดฤทธิ์ จึงจะสามารถกลับบ้านได้
อาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่ มีเลือดออกจากท่อปัสสาวะ รู้สึกแสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยในช่วงหนึ่งถึงสองวันแรก

ทั้งนี้ผู้เข้ารับการตรวจสามารถปฎิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ เพื่อบรรเทาอาการไม่สบายตัวได้

  • ดื่มน้ำมาก ๆ ตลอดทั้งวัน เพื่อกำจัดสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองออกจากกระเพาะปัสสาวะ โดย 2 ชั่วโมงหลังการตรวจ ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 2 แก้ว (16 ออนซ์) ทุกชั่วโมง
  • รับประทานยาแก้ปวด
  • ประคบอุ่นบริเวณที่ส่องกล้องเพื่อบรรเทาอาการปวด

ต้องใช้เวลานานเท่าไรกว่าจะรู้สึกดีขึ้นหลังการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ?

ส่วนใหญ่แล้วผู้เข้ารับการตรวจจะรู้สึกเป็นปกติภายในหนึ่งหรือสองวัน เว้นแต่ว่ามีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจด้วย ซึ่งการพักฟื้นอาจนานขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนของการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะมีอะไรบ้าง?

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย โดยความเสี่ยงจะสูงขึ้นตามอายุ และความผิดปกติทางกายวิภาคของระบบทางเดินปัสสาวะ 
  • มีเลือดออก โดยปัสสาวะอาจมีสีชมพูหรือแดงบ้าง หรือเช็ดทำความสะอาดแล้วพบเลือดบนกระดาษทิชชู่ อย่างไรก็ตามภาวะเลือดออกมากนั้นพบได้น้อยมาก 
  • ความรู้สึกไม่สบายตัว ผู้เข้ารับการตรวจอาจรู้สึกปวดท้อง ปัสสาวะแสบขัดเล็กน้อย ซึ่งอาการมักค่อย ๆ ดีขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ

  • ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่ออก
  • มีเลือดสดหรือลิ่มเลือดในปัสสาวะ
  • ปวดท้องและคลื่นไส้
  • มีไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส
  • ปวดอุ้งเชิงกรานมาก
  • ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นเหม็น ร่วมกับแสบขัด

จะทราบผลการตรวจการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะเมื่อไร?

แพทย์จะแจ้งผลการตรวจในวันที่ตรวจ เว้นแต่ว่ามีการตัดชิ้นเนื้อส่งไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 3-7 วันกว่าจะทราบผล โดยแพทย์จะแจ้งให้ทราบหากพบบริเวณที่ท่อปัสสาวะอุดตันหรือตีบตัน นิ่ว เนื้อเยื่อหรือเนื้องอกที่ผิดปกติ

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

อาการปวด ปัสสาวะเป็นเลือด หรือปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะอาจก่อให้เกิดความวิตกกังวลใจ  การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะเป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็ว เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ และผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 20 พ.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

    นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

    นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. กวิน ตังธนกานนท์

    นพ. กวิน ตังธนกานนท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคไต
    ไตวายเฉียบพลัน, โรคไตอักเสบ, การบําบัดทดแทนหน้าที่ไตโดยการฟอกเลือด, โรคความดันโลหิตสูง, นิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ, การปลูกถ่ายไต, การกรองพลาสมา, การดูแลป้องกันไตเสื่อม, การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ, โรคและความผิดปกติทางไต, โรคไตจากเบาหวาน, การฟอกเลือดทางหน้าท้อง, ความผิดปกติ แปรปรวนของสภาวะสารน้ำและเกลือแร่, ความผิดปกติของกระดูกจากโรคทางไต รวมทั้งกระดูกพรุน, โภชนบำบัดในโรคไต
  • Link to doctor
    นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

    นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    การบีบขับปัสสาวะผิดปกติ, Laparoscopic Urologic Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

    นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ระบบสืบพันธ์ุ
  • Link to doctor
    นพ.  วิชัย เจริญวงศ์

    นพ. วิชัย เจริญวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

    รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

    ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ศ.นพ. กิตติณัฐ กิจวิกัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

    นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

    • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. ชลัยรัชฎ์ สุขอวยชัย

    ผศ.พญ. ชลัยรัชฎ์ สุขอวยชัย

    • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    Cystitis, Urological Surgery, การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

    นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    การเปลี่ยนไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตและการเปลี่ยนไตจากผู้เสียชีวิต, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ, การรักษาภาวะหย่อยสมรรถภาพทางเพศ, ชายวัยทอง
  • Link to doctor
    นพ. วิรุณ  โทณะวณิก,พบ

    นพ. วิรุณ โทณะวณิก,พบ

    • ศัลยศาสตร์
    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    มะเร็งต่อมลูกหมาก, ฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
  • Link to doctor
    นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

    นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. กิตติพงษ์ พินธุโสภณ

    ผศ.นพ. กิตติพงษ์ พินธุโสภณ

    • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    ศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะในเด็ก, ภาวะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ, โรคปัสสาวะไหลย้อนแต่กำเนิด, ท่อปัสสาวะเปิดต่ำ
  • Link to doctor
    นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

    นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. นภิสวดี  ว่องชวณิชย์

    ผศ.พญ. นภิสวดี ว่องชวณิชย์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคไต
    ไตวายเฉียบพลัน, การป้องกันและรักษาโรคไตด้วยโภชนบำบัด, ความผิดปกติ แปรปรวนของสภาวะสารน้ำและเกลือแร่, โรคไตอักเสบ, การบําบัดทดแทนหน้าที่ไตโดยการฟอกเลือด, โรคความดันโลหิตสูง, นิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ, การปลูกถ่ายไต, การกรองพลาสมา, การดูแลป้องกันไตเสื่อม, การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ, โรคกระดูกต่าง ๆ ที่เกิดจากไตทำงานผิดปกติ รวมทั้งกระดูกพรุน