วิธีตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากและการรักษา มะเร็งต่อมลูกหมาก - Prostate cancer

มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer)

มะเร็งต่อมลูกหมาก การสังเกตอาการผิดปกติและตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก ช่วยเพิ่มโอกาสให้แพทย์ตรวจพบมะเร็งระยะเริ่มต้นได้เร็วขึ้นและสามารถรักษามะเร็งให้หายขาดได้

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


มะเร็งต่อมลูกหมาก คืออะไร?

มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นในต่อมลูกหมาก ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว ต่อมลูกหมากจะมีรูปร่างเหมือนและขนาดเท่าผลเกาลัดเล็ก ๆ โดยทำหน้าที่ผลิตน้ำเลี้ยงอสุจิเพื่อหล่อเลี้ยงและลำเลียงตัวอสุจิ มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้ชาย โดยปกติแล้วมะเร็งต่อมลูกหมากจะเกิดขึ้นช้า ๆ และในช่วงแรกจะยังไม่แพร่กระจายออกจากต่อมลูกหมากและอาจไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง มะเร็งต่อมลูกหมากบางชนิดเติบโตช้าและรักษาเพียงเล็กน้อยก็หายหรือไม่ต้องรักษาเลยก็ได้ แต่บางชนิดมีความรุนแรง และสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว หากตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากพบในระยะเริ่มแรกจะยังไม่ลุกลามและเนื้อร้ายยังอยู่ในต่อมลูกหมาก โดยมะเร็งชนิดนี้จะยังรักษาให้หายได้

มะเร็งต่อมลูกหมาก มีอาการอย่างไร?

ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกอาจไม่รู้สึกถึงอาการใด ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากที่ลุกลามมากขึ้นแล้วอาจมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น

การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก

สังเกตอาการผิดปกติและตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก ช่วยเพิ่มโอกาสให้แพทย์ตรวจพบมะเร็งระยะเริ่มต้นได้เร็วขึ้นและสามารถรักษามะเร็งให้หายขาดได้

อาการแบบไหนที่ควรพบแพทย์?

ให้ปรึกษาแพทย์ทันทีหากมีอาการข้างต้นและทำให้รู้สึกกังวล หรือถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการเลยแต่ต้องการจะตรวจมะเร็ง ก็สามารถพบแพทย์ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในวงการแพทย์ยังเป็นที่ถกเถียงกันเรื่องของความเสี่ยงและผลประโยชน์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชายที่มีสุขภาพดีอยู่แล้ว และทางการแพทย์ที่ยังให้คำแนะนำในการตรวจคัดกรองที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เป็นการส่วนตัวหากต้องทำการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยผู้ป่วยและแพทย์จะร่วมกันเลือกวิธีการตรวจหรือการรักษาที่เหมาะกับผู้ป่วยได้ดีที่สุด

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีสาเหตุเกิดจากอะไร?

ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าอะไรเป็นสาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งโดยปกติแล้ว มะเร็งต่อมลูกหมากจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดความผิดปกติกับเซลล์บางส่วนในต่อมลูกหมาก ทั้งนี้ การกลายพันธุ์ในดีเอ็นเอของเซลล์ที่ผิดปกติทำให้เซลล์ร้ายนี้เติบโตและเกิดการแบ่งตัวเร็วกว่าเซลล์ปกติ โดยภาวะมะเร็งนี้ เซลล์ที่ผิดปกติจะยังคงเติบโตเรื่อย ๆ และเซลล์ที่แข็งแรงก็จะตายไป เซลล์ที่ผิดปกตินี้จะสะสมและก่อตัวเป็นเนื้องอกที่สามารถเติบโตและลุกลามไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง โดยเซลล์ที่ผิดปกติบางเซลล์สามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้อีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • อายุมากขึ้น ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้นเช่นกัน
  • เชื้อชาติ แม้จะยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ระบุได้อย่างแน่ชัด แต่ชายผิวสีมักมีแนวโน้มเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้มากกว่าชายเชื้อชาติอื่น นอกจากนี้ มะเร็งต่อมลูกหมากที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยชาวผิวสีมีแนวโน้มที่จะลุกลามหรือรุนแรงกว่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยสัญชาติอื่น
  • ประวัติครอบครัว ชายที่มีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเช่นกัน นอกจากนี้ หากสมาชิกในครอบครัวมียีนที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม (BRCA1 หรือ BRCA2) หรือมีประวัติครอบครัวที่เป็นมะเร็งเต้านมติดต่อกันมาหลายรุ่น ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้นเช่นกัน
  • โรคอ้วน ผู้ที่เป็นโรคอ้วนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากที่รุนแรงและรักษาได้ยาก

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก

ปัจจุบัน ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า ควรมีการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากในคนที่มีสุขภาพแข็งแรงโดยไม่มีอาการหรือไม่ ทางการแพทย์ยังไม่เห็นด้วยกับตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากและยังไม่แน่ใจว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีประโยชน์หรือไม่ อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากในช่วงวัย 50 ปีหรือเร็วกว่านั้นได้สำหรับคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมาก ทั้งนี้ ให้ปรึกษาแพทย์หากมีอาการที่กังวล รวมถึงขอความเห็นเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของการตรวจคัดกรองจากแพทย์ได้เลย ซึ่งข้อมูลจากแพทย์ก็จะช่วยให้เลือกวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากได้เหมาะกับอาการที่สุด

วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • การตรวจทางทวารหนัก (Digital Rectal Exam: DRE) การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยวิธีนี้ แพทย์จะสวมถุงมือหล่อลื่นแล้วสอดนิ้วเข้าไปในทวารหนัก เพื่อตรวจดูต่อมลูกหมากที่อยู่ติดกับทวารหนัก หากแพทย์พบความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อเยื่อ รูปร่างหรือขนาดของต่อมลูกหมาก แพทย์อาจขอตรวจเพิ่มเติมตามความจำเป็น
  • การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากวิธีนี้แพทย์จะเอาตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดที่แขนมาวิเคราะห์หาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นสารที่ต่อมลูกหมากผลิตขึ้นเองตามธรรมชาติ ทั้งนี้ การมีสารนี้เพียงเล็กน้อยในเลือดถือว่าเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตาม หากพบสารนี้ในระดับที่สูงกว่าปกติ อาจบ่งชี้ถึงการติดเชื้อ การอักเสบ การขยายตัวหรือมะเร็งในต่อมลูกหมากได้

    การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากร่วมกับการตรวจทางทวารหนักช่วยให้สามารถระบุได้ว่ามีมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรก ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ประโยชน์และความเสี่ยงของการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันในแวดวงการแพทย์

    แพทย์มีวิธีตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากอย่างไร?

    หากพบความผิดปกติหลังการตรวจทางทวารหนักหรือการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ เช่น

    • การทำอัลตราซาวด์ หากการตรวจอื่น ๆ ทำให้เกิดความกังวล แพทย์อาจใช้วิธีการตรวจอัลตราซาวด์ทางทวารหนักเพื่อประเมินต่อมลูกหมากเพิ่มเติม ด้วยวิธีนี้ แพทย์จะสอดอุปกรณ์ขนาดเล็ก ๆ และมีรูปร่างเหมือนซิการ์เข้าไปในทวารหนัก โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะใช้คลื่นเสียงเพื่อสร้างภาพของต่อมลูกหมาก
    • การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของต่อมลูกหมาก (mp-MRI) แพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีนี้ หากการตรวจทางทวารหนักและการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากพบบริเวณที่ผิดปกติ และวิธีตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะมีโอกาสตรวจพบมะเรได้ถึงร้อยละ 60-80
    • การตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากด้วยเครื่องเพทซีที (Positron Emission Tomography/ Computed Tomography: PET/CT Scan) ด้วยสารเภสัชรังสี 68Ga- PSMA เป็นการถ่ายภาพทางรังสีจากการฉีดสารเภสัชที่มีชื่อว่า 68Ga- PSMA รังสีที่ใช้มีปริมาณน้อยมาก แล้วใช้เครื่องเพทซีทีถ่ายภาพเพื่อหาความผิดปกติต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งเป็นการตรวจที่มีความไวและแม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ
    • การเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมาก แพทย์จะมีการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมาก แล้วหากผลการตรวจเบื้องต้นระบุว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมโดยการเก็บตัวอย่างเซลล์จากต่อมลูกหมาก (Prostate Biopsy) ไปตรวจเพิ่ม ในขั้นตอนนี้ แพทย์มักใช้เข็มบาง ๆ สอดเข้าไปในต่อมลูกหมากเพื่อเก็บเนื้อเยื่อ แพทย์จะนำตัวอย่างเนื้อเยื่อมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจดูว่ามีเซลล์มะเร็งอยู่หรือไม่
    • การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับการตรวจด้วยวิธีอื่น (MRI Fusion) ปัจจุบันการตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับการตรวจด้วยวิธีอื่นมีการพัฒนาและใช้กันทั่วโลก เพื่อช่วยตรวจชิ้นเนื้อและการวินิจฉัยต่อมลูกหมาก ซึ่งมีโอกาสในการตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากสูง 

      ตรวจการลุกลามของมะเร็งต่อมลูกหมาก

      เมื่อการตรวจตัวอย่างชิ้นเนื้อยืนยันว่ามีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้น ขั้นตอนต่อมาคือดูว่า เซลล์มะเร็งนั้นร้ายแรงแค่ไหน นักพยาธิวิทยาในห้องปฏิบัติการจะตรวจเซลล์มะเร็งจะดูอีกว่า เซลล์ดังกล่าวแตกต่างจากเซลล์ที่ไม่เป็นมะเร็งมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ ระดับที่สูงขึ้นจากการแบ่งความรุนแรงของมะเร็งจะบ่งชี้ว่า เซลล์มะเร็งสามารถลุกลามมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว 

      โดยอิงเกณฑ์การให้คะแนนความรุนแรงของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากที่ใช้กันแพร่หลายที่เรียกว่า Gleason Score ทั้งนี้ เกณฑ์แบบ Gleason score จะแสดงเป็นตัวเลขถึงสองหลัก โดยอาจมีตั้งแต่ 2 (มะเร็งที่ไม่ลุกลาม) ไปถึงถึง 10 (มะเร็งที่ลุกลามมาก) และบ่อยครั้ง ตัวเลขการให้คะแนนจะสูงในเกือบทุกกรณี ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แล้ว จะมีการนำเกณฑ์แบบ Gleason score มาใช้ในการประเมินตัวอย่างชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากที่ส่งตรวจ โดยคะแนนจะอยู่ตั้งแต่ 6 ถึง 10 ซึ่ง คะแนน 6 บ่งชี้ว่า เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในระดับต่ำ คะแนน 7 บ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระดับปานกลาง และคะแนนตั้งแต่ 8 ถึง 10 แสดงถึงมะเร็งระดับรุนแรง นอกจากนี้ ยังมีการนำการตรวจยีนมาใช้มากขึ้นเพื่อประเมินความเสี่ยงและตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะลุกลาม 

      ตรวจการแพร่กระจายของมะเร็งต่อมลูกหมาก

      หลังจากตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากแล้ว แพทย์จะทำการระบุว่า มะเร็งต่อมลูกหมากดังกล่าวอยู่ในระยะใด หากแพทย์สงสัยว่า มะเร็งอาจแพร่กระจายไปเยอะมาก แพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีการตรวจวินิฉัยด้วยภาพถ่ายอย่างใดอย่างหนึ่งเพิ่มเติมดังต่อไปนี้: 

      • สแกนกระดูก
      • การตรวจอัลตราซาวด์
      • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
      • เทคนิคการถ่ายภาพทางการแพทย์ด้วยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าการตรวจด้วยเครื่องเพทซีที (PET/CT) ด้วยสารเภสัชรังสี 68Ga- PSMA

      ทั้งนี้ แพทย์จะใช้ข้อมูลจากการตรวจเหล่านี้เพื่อระบุระยะของมะเร็ง โดยจะแสดงเป็นตัวเลขโรมันตั้งแต่ I ถึง IV ระยะต่ำสุดบ่งชี้ว่ามะเร็งยังอยู่ที่ต่อมลูกหมากและไม่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ส่วนในระยะที่ IV มะเร็งเติบโตออกนอกต่อมลูกหมากและอาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

      อย่างไรก็ตาม ระบบการกำหนดระยะของมะเร็งยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีความซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากแพทย์มีการปรับปรุงการวินิจฉัยและการรักษามะเร็งมากขึ้น โดยแพทย์จะใช้ข้อมูลเกี่ยวกับระยะมะเร็งเพื่อช่วยเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะกับผู้ป่วยที่สุด

      เผยแพร่เมื่อ: 04 ต.ค. 2020

      แชร์

      แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

    • Link to doctor
      นพ. สุดปรีดา ชัยนิธิกรรณ

      นพ. สุดปรีดา ชัยนิธิกรรณ

      • อายุรศาสตร์
      • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
      การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด, การดูแลแบบประคับประคอง
    • Link to doctor
      รศ.นพ.ดร. วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์

      รศ.นพ.ดร. วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์

      • อายุรศาสตร์
      • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
      การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด, การดูแลแบบประคับประคอง
    • Link to doctor
      MedPark Hospital Logo

      ผศ.นพ. วรัชญ์ วรนิสรากุล

      • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
      • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
      มะเร็งต่อมลูกหมาก, Prostate Disease, Laparoscopic Urologic Surgery, Prostatectomy Laser, Endourology and Urinary Stone Disease, Urological Cancer
    • Link to doctor
      MedPark Hospital Logo

      รศ.พญ. นภา ปริญญานิติกูล

      • อายุรศาสตร์
      • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
      อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    • Link to doctor
      นพ. จิรัฎฐ์ ธีราประดิษฐ์

      นพ. จิรัฎฐ์ ธีราประดิษฐ์

      • ศัลยศาสตร์
      • ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา
    • Link to doctor
      พญ. ศิยามล มิ่งมาลัยรักษ์

      พญ. ศิยามล มิ่งมาลัยรักษ์

      • อายุรศาสตร์
      • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
      การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด, การดูแลแบบประคับประคอง
    • Link to doctor
      นพ. อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์

      นพ. อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์

      • อายุรศาสตร์
      • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
      • อายุรศาสตร์โรคเลือด
      • การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด
      มะเร็งทางโลหิตวิทยา, การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์
    • Link to doctor
      พญ. สุรีรัตน์ จารุหทัย

      พญ. สุรีรัตน์ จารุหทัย

      • อายุรศาสตร์
      • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
      การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด, การดูแลแบบประคับประคอง
    • Link to doctor
      นพ. ยงยุทธ คงธนารัตน์

      นพ. ยงยุทธ คงธนารัตน์

      • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
      Radiation Oncology, Breast Cancer, มะเร็งต่อมลูกหมาก, Intensity-Modulated Radiotherapy (IMRT), Image-Guided Radiotherapy (IGRT), Stereotactic Radiotherapy (SRT), Stereotactic Radiosurgery (SRS)
    • Link to doctor
      นพ. วิกรม เจนเนติสิน

      นพ. วิกรม เจนเนติสิน

      • อายุรศาสตร์
      • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
      การวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคมะเร็ง, การรักษามะเร็งโดยเคมีบำบัด, การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า, การรักษามะเร็งด้านอิมมูโนบำบัด
    • Link to doctor
      นพ. วิรุณ  โทณะวณิก,พบ

      นพ. วิรุณ โทณะวณิก,พบ

      • ศัลยศาสตร์
      • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
      • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
      มะเร็งต่อมลูกหมาก, ฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก