เลือกหัวข้อที่อ่าน
- โควิด 19 สายพันธุ์ NB.1.8.1 อาการ
- กลุ่มเสี่ยงสูงโควิด 19
- ติดโควิด ทำอย่างไร
- วิธีป้องกันโควิด 19
- ตรวจ รักษาโควิด 19 รพ. เมดพาร์ค
โควิด (COVID)
โควิด 19 ที่แพร่ระบาดระลอกล่าสุดในไทยขณะนี้ คือ สายพันธุ์ NB.1.8.1 ซึ่งเป็นไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ลูกผสมของโอมิครอน (Omicron) ระหว่างสายพันธุ์ JN.1 และ XBB ผ่าน XDV.1.5.1 ซึ่งพบการระบาดครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม ปี 2025 ที่ประเทศจีน และได้แพร่กระจายไปทั่วโลกในเวลาต่อมา โควิด 19 สายพันธุ์ NB.1.8.1 มีลักษณะเด่น คือ ติดง่าย เป็นซ้ำได้ และสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยจะมีอาการคล้ายโรคโควิด 19 สายพันธุ์ก่อนหน้า เช่น มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล และเจ็บคอ จึงทำให้แยกอาการของโรคออกจากไข้หวัดใหญ่หรือไข้หวัดธรรมดาได้ยาก ผู้ที่ติดเชื้อส่วนมากมักไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ จึงทำให้เกิดการแพร่เชื้อติดต่อกันอย่างรวดเร็วโดยไม่รู้ตัว
โควิด 19 สายพันธุ์ NB.1.8.1 อาการ
อาการโควิด 19 สายพันธุ์ NB.1.8.1 คล้ายกับโรคโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอนก่อนหน้า และมีระดับความรุนแรงของอาการตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงรุนแรง ต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ดังนี้
- มีไข้ หนาวสั่น
- ไอแห้ง ไอต่อเนื่องแบบใหม่ (ไอต่อเนื่องเกิน 1 ชั่วโมง หรือไอต่อเนื่อง 3 ระลอกขึ้นไปภายใน 24 ชั่วโมง)
- เจ็บคอ ระคายเคืองในลำคอ
- คัดจมูก น้ำมูกไหล
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- หายใจลำบาก
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- ปวดหัว
- เบื่ออาหาร
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ท้องเสีย
- สูญเสียการรับรสหรือกลิ่น
ผู้ที่มีอาการข้างต้น ซึ่งคล้ายกับอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ให้สวมหน้ากากอนามัย แยกตัว และรีบตรวจ ATK หากผลเป็นบวก ให้รีบไปรักษาที่ รพ.
กลุ่มเสี่ยงสูงโควิด 19
กลุ่มเสี่ยงสูง 608 ต่อการติดโควิด 19 ซึ่งต้องเฝ้าระวัง ได้แก่
- คุณแม่ตั้งครรภ์ (สามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้)
- เด็กเล็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ทุกคน
- ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่เป็นโรคอ้วน มีน้ำหนักตัวเกิน 100 กิโลกรัม หรือมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI>35) มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
- ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด ไตวายเรื้อรัง หอบหืด เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง
ติดโควิด ทำอย่างไร
หากมีผลการตรวจ ATK เป็นบวก (2 ขีด) ซึ่งระบุติดโควิด 19 ให้ทำตามขั้นตอน ดังนี้
- เข้ารับการตรวจยืนยัน การติดเชื้อโควิด 19 ที่โรงพยาบาล
- กักตัวอยู่บ้าน หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น หรือสัตว์เลี้ยง
- รับยาต้านไวรัส กลุ่มเสี่ยงสูงที่ติดโควิด 19 สายพันธุ์ NB.1.8.1 หรือสายพันธุ์อื่น ๆ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ให้รีบพบแพทย์ที่ รพ. ทันที เพื่อรับยาต้านไวรัส Remdesivir ยา Molnupiravir หรือ ยา Paxlovid ตามความเหมาะสม ซึ่งยา Paxlovid เป็นยาที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การรับรองและแนะนำสำหรับผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีความเสี่ยงสูงและมีอาการไม่รุนแรงถึงปานกลาง ซึ่งเป็นทางเลือกในการรักษาที่ดีที่สุดในปัจจุบัน โดยยาจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากได้รับภายใน 2-3 วัน หรือในระยะแรกเริ่มของการติดเชื้อ
วิธีป้องกันโควิด 19
โควิด 19 มีวิธีการป้องกันดังนี้
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19
- ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อให้ภูมิคุ้มกันเป็นปัจจุบัน
- สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่ออยู่ในพื้นที่สาธารณะ
- หลีกเลี่ยงการอยู่รวมตัวกับกลุ่มคนจำนวนมาก
- ให้เว้นระยะห่าง เมื่ออยู่ในพื้นที่สาธารณะ
- หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
- อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท เพื่อลดความหนาแน่นของไวรัสในอากาศ
- หากมีอาการต้องสงสัย ให้แยกตัว หรือกักตัวทันที
ตรวจ รักษาโควิด 19 รพ. เมดพาร์ค
โรงพยาบาลเมดพาร์ค กรุงเทพ มีความพร้อมให้บริการตรวจ COVID-19 และโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจชนิดอื่น ๆ ตลอด 24 ชม. ด้วยการตรวจ RT-PCR การตรวจ ATK (Antigen test) หรือการตรวจชนิดอื่น ๆ โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางที่มีประสบการณ์ด้านโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจทั่วไปและเฉียบพลัน โรคติดเชื้อดื้อยา หรือโรคอุบัติใหม่ ด้วยห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มาตรฐาน ISO 15189 และ ISO 15190 และเทคโนโลยี MALDI-TOF ที่ทันสมัย ช่วยวิเคราะห์ ระบุชนิดของจุลชีพ และรายงานผลการตรวจได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำภายใน 20 นาที พร้อมด้วยเครื่องหัวใจและปอดเทียม (ECMO) สำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจหรือปอดล้มเหลวรุนแรง ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ คลินิกโรคติดเชื้อ ผู้ชำนาญการและบุคลากรการแพทย์สหสาขาที่ทำงานร่วมกันตลอด 24 ชม. เพื่อให้การจัดการรักษาโรค COVID-19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยให้ผู้รับการรักษาสามารถหายจากโรค และกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ