คนเรามีฟันกี่ซี่ (How many teeth do we have?)

คนเรามีฟันกี่ซี่? ฟันซี่แรกของเด็กอาจขึ้นได้เร็วสุดตั้งแต่ช่วงอายุ 3 เดือน ฟันน้ำนมของเด็กจะขึ้นตั้งแต่ช่วง 4 – 7 เดือน และจะเริ่มหลุดประมาณ 5-6 ขวบ ฟันแท้จะขึ้นมาแทนที่จนครบในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย

แชร์

คนเรามีฟันกี่ซี่

มนุษย์เราจะเกิดมาพร้อมเหงือกที่ยังไม่มีฟันขึ้น ฟันชุดแรกที่ขึ้นจะเรียกว่าฟันน้ำนม มักจะปรากฏให้เห็นในช่วงอายุ 6 เดือน ขณะที่ฟันชุดที่สอง หรือฟันแท้ จะเริ่มขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนมเมื่อมีอายุ 6 ขวบเป็นต้นไป ฟันเป็นส่วนสำคัญของโครงหน้าและมีบทบาทในการย่อยอาหารและการพัฒนาการพูดออกเสียง และถึงแม้ฟันจะดูคล้ายกระดูก แต่ฟันนั้นมีความแตกต่างจากกระดูก 

มนุษย์จะมีประเภท จำนวน และการเรียงตัวของฟันทั้งสองชุดที่สมมาตรกันระหว่างฝั่งซ้ายและขวาทั้งด้านบนและด้านล่างของช่องปาก เป็นเหมือนภาพเงาสะท้อนของกันและกันในแต่ละด้าน 

ฟันน้ำนม (Deciduous teeth) 

ฟันซี่แรกของเด็กอาจขึ้นได้เร็วสุดตั้งแต่ช่วงอายุ 3 เดือน แต่โดยทั่วไปแล้ว ฟันน้ำนมของเด็กจะขึ้นตั้งแต่ช่วง 4 – 7 เดือน ปกติฟันน้ำนมซี่ใหม่จะขึ้นทุก ๆ 6 เดือน และกว่าที่ฟันน้ำนมของเด็กจะขึ้นครบหมดนั้น ใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี จำนวนทั้งหมดของฟันเด็ก หรือฟันน้ำนม จะอยู่ที่ 20 ซี่ แบ่งเป็น ฟันบน 10 ซี่ ฟันล่าง 10 ซี่ 

ประเภท จำนวน และการเรียงตัวของฟันน้ำนม

  • ฟันหน้าตัด (ทั้งหมด 8 ซี่) เป็นฟัน 4 ซี่ที่อยู่ด้านหน้าขากรรไกรบนและล่าง ช่วยเรื่องการตัดและเคี้ยวอาหาร 
  • ฟันฉีกหรือฟันเขี้ยว (ทั้งหมด 4 ซี่) เป็นฟันรูปร่างแหลม อยู่ติดกับฟันหน้าตัด ช่วยเรื่องการฉีกอาหาร 
  • ฟันกรามน้ำนม (8 ซี่) เป็นฟันที่อยู่ด้านหลังของช่องปาก มีพื้นผิวกว้างและเรียบเพื่อใช้บดอาหาร 

ฟันน้ำนมเป็นรากฐานสำคัญของกระดูกขากรรไกรและการพัฒนาของโครงสร้างใบหน้า ทั้งยังมีส่วนในการเคี้ยวและการพูดด้วย แต่ฟันน้ำนมจะอยู่เพียงชั่วคราว และค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยฟันชุดที่แข็งแรงกว่าเมื่อเด็กโตขึ้น 

หากฟันน้ำนมผุ อาจส่งผลเสียต่อฟันแท้ได้ จึงควรหมั่นทำความสะอาดฟันน้ำนมเพื่อให้สะอาดและแข็งแรง 

วิธีดูแลรักษาฟันน้ำนม 

  • เริ่มทำความสะอาดฟันให้เด็กเป็นประจำ ตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้น  
  • เช็ดถูฟันแต่ละซี่ รวมถึงเหงือกของเด็กด้วยผ้าขนหนูสะอาดชุบน้ำอุ่น 
  • ให้เด็กงับผ้าขนหนูเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเหงือกขณะที่ฟันกำลังขึ้น 
  • เมื่อฟันหน้าน้ำนมขึ้นมาหลายซี่แล้ว ให้เปลี่ยนมาใช้แปรงสีฟัน โดยแนะนำให้ใช้แปรงสีฟันที่มีหัวเล็กเพื่อให้ทำความสะอาดฟันได้ทั่วถึงทุกซี่ 

ฟันผู้ใหญ่ ฟันแท้ (Permanent teeth)

ฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดประมาณ 5-6 ขวบ ฟันแท้มีจำนวนทั้งหมด 32 ซี่ โดยจะขึ้นจนครบในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย แต่อาจช้าสุดในช่วงอายุ 20 ต้น ๆ ฟันแท้จะเรียงตัวแบบสมมาตรกันทั้งในขากรรไกรบนและล่าง แต่ละประเภทจะอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด 

ฟันแท้ แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม

  • ฟันหน้าตัด (ทั้งหมด 8 ซี่) เป็นฟันแท้ 4 ซี่ที่อยู่ตรงกลางทั้งบนและล่าง ช่วยตัดอาหารขณะเคี้ยว และช่วยเรื่องการรับสัมผัสเนื้ออาหารและชนิดอาหารที่รับประทาน 
  • ฟันฉีกหรือฟันเขี้ยว (ทั้งหมด 4 ซี่) ฟันเขี้ยวจะมีรูปร่างแหลมกว่าฟันกลุ่มอื่น โดยจะอยู่ติดกับฟันหน้าตัดทั้งบนและล่าง มี 1 ซี่ด้านซ้าย และ 1 ซี่ด้านขวา ช่วยฉีกอาหารอย่างเนื้อสัตว์ เป็นต้น  
  • ฟันกรามน้อย (ทั้งหมด 8 ซี่) ฟันแท้กลุ่มนี้จะอยู่ระหว่างฟันเขี้ยวและฟันกราม มีด้วยกัน 2 ซี่ในแต่ละด้าน โดยจะมีลักษณะเหมือนกับฟันกราม เพียงแต่จะมีปุ่มฟัน 2 ปุ่ม ต่างจากฟันกรามที่จะมี 4 หรือ 5 ปุ่ม ฟันกรามน้อยช่วยฉีกและตัดอาหาร 
  • ฟันกราม (ทั้งหมด 12 ซี่) ฟันกรามจะอยู่ด้านในสุด มีหน้าที่บดอาหารก่อนกลืนเพื่อให้ร่างกายย่อยได้สะดวก ผู้ใหญ่ส่วนมากมีฟันกราม 3 ซี่ในแต่ละด้าน ซึ่งรวมถึงฟันคุด 1 ซี่ในแต่ละด้าน เป็นฟันที่จะโผล่ขึ้นมาช้าที่สุด 

โอกาสที่ฟันแท้ทั้ง 32 ซี่จะเรียงกันเป็นปกตินั้นเกิดขึ้นไม่บ่อย หากมีฟันเรียงซ้อนกันมากเกินไป หรือที่เรียกว่า ฟันซ้อนเก จะทำให้เกิดผลเสียต่อไปนี้  

  • ฟันเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ 
  • มีความเสี่ยงที่จะเกิดฟันผุมากขึ้น 
  • มีฟันคุด 
  • มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคปริทันต์อักเสบ (โรคเหงือกอักเสบ) 

ดังนั้น พวกเราบางคนจึงเลือกที่จะถอนฟันคุดเพราะเชื่อว่าจะช่วยลดโอกาสทำให้เกิดฟันซ้อนเกมากขึ้น  

ส่วนประกอบของฟัน มีอะไรบ้าง

แม้ฟันจะดูคล้ายคลึงกับกระดูก แต่ฟันแตกต่างจากกระดูก เพราะเมื่อเกิดแตกหักเสียหาย ฟันไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้เหมือนที่กระดูกสร้างแคลลัสขึ้น ความแตกต่างอีกอย่างระหว่างฟันและกระดูกคือ ฟันไม่มีไขกระดูก (Marrow) แต่จะมีโพรงประสาทฟันแทน 

ส่วนประกอบของฟัน ได้แก่ 

  • ชั้นเคลือบฟัน (Enamel): ชั้นเคลือบฟันเป็นเนื้อเยื่อแข็งที่แข็งที่สุดในร่างกายมนุษย์ อยู่ชั้นนอกสุดของตัวฟัน ช่วยป้องกันการสึกหรอจากการใช้งานในแต่ละวัน และป้องกันแบคทีเรียที่จะทำให้เกิดฟันผุ 
  • เนื้อฟัน (Dentin): เนื้อฟันเป็นชั้นที่อยู่ใต้ชั้นเคลือบฟัน แต่แข็งแรงน้อยกว่า หากเนื้อฟันไม่มีชั้นเคลือบฟันคอยปกป้อง จะมีโอกาสเสี่ยงที่เกิดฟันผุมากกว่า 
  • ชั้นเคลือบรากฟัน (Cementum): ชั้นเคลือบรากฟันเป็นเนื้อเยื่อที่คลุมรากฟันเอาไว้ ทำหน้าที่ยึดฟันให้อยู่กับขากรรไกร 
  • โพรงประสาทฟัน (Pulp): โพรงประสาทฟันจะอยู่ชั้นในสุดของฟัน มีเส้นเลือด เส้นประสาท และเนื้อเยื่ออยู่ภายใน 

ปัญหาเกี่ยวกับฟันที่พบบ่อย

ปัญหาเกี่ยวกับฟันที่พบบ่อย ได้แก่ 

  • นอนกัดฟัน: ปัญหานี้จะทำลายชั้นเคลือบฟันสึกหายไปเรื่อย ๆ ส่งผลให้ฟันเสียหายได้ง่ายมากขึ้น 
  • ฟันผุ: สภาพฟันผุนี้เกิดขึ้นเมื่อโดนแบคทีเรียทำลายชั้นเคลือบฟันที่อยู่ข้างนอกสุด 
  • ฟันคุด: ฟันคุดคือฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ มักจะติดฝังอยู่ในขากรรไกรหรือภายใต้เหงือก  
  • อาการเสียวฟัน: ปัญหานี้มักเกิดจากการที่ชั้นเคลือบฟันเสียหายไป หรือรากฟันโผล่ 
  • การบาดเจ็บที่เกิดกับตัวฟัน: การบาดเจ็บอาจเกิดจากการเล่นกีฬาหรือจากอุบัติเหตุ บางครั้งอาจทำให้ฟันบิ่นหรือแตกหักได้ 
  • ฟันเปลี่ยนสี: อาหาร เครื่องดื่ม ยา และปัจจัยอื่น ๆ อาจทำให้ฟันเปลี่ยนสีได้ 
  • ฟันเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ: ปัญหาเกี่ยวกับการเรียงตัวไม่เป็นระเบียบของฟัน ประกอบด้วย ฟันเก ฟันหมุน ฟันห่าง และฟันชิดกันเกินไป ปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปากได้ 
  • หนองที่ฟัน: การมีหนองที่ฟัน เกิดขึ้นได้เมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียในโพรงประสาทฟัน 
  • โรคเหงือก: โรคเหงือกเป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นที่เหงือกและเนื้อเยื่ออ่อนรอบ ๆ เหงือก แม้โรคนี้จะเกิดขึ้นที่เหงือก แต่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ฟัน และทำให้สูญเสียฟันได้ 

วิธีการรักษาฟัน ดูแลฟัน

วิธีที่นิยมใช้รักษาปัญหาเกี่ยวกับฟัน ได้แก่ 

  • การใส่ฟันเทียม 
  • การอุดฟัน 
  • การทำสะพานฟัน 
  • การทำครอบฟัน 
  • การใส่รากฟันเทียม 
  • การทำเคลือบพอร์เซเลนปิดหน้าฟัน (Porcelain Veneer) 
  • การจัดฟัน 
  • การฟอกสีฟัน 

การป้องกัน

สิ่งสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับฟัน คือการรักษาสุขภาพฟันให้ดีอยู่เสมอ มาตรการที่ช่วยป้องกันได้ ได้แก่ 

  • แปรงฟันนานอย่างน้อย 2 นาทีเป็นอย่างต่ำ วันละ 2 ครั้งต่อวัน โดยใช้แปรงสีฟันขนอ่อนและยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ 
  • พบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันและดูแลทำความสะอาดฟัน 
  • ใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปากปราศจากแอลกอฮอล์เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย 

คำถามที่พบบ่อย 

  • ถ้ามีฟันบางซี่หายไป จะเป็นอะไรหรือเปล่า
    พวกเราบางคนเกิดมาโดยมีฟันไม่ครบซี่ ขณะที่บางคนอาจสูญเสียฟันไปด้วยฟันผุ โรคเหงือก หรือการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับฟัน ปัจจัยที่แต่ละคนควรนำมาพิจารณา เพื่อตัดสินใจว่าจะใส่ฟันทดแทนหรือไม่ หลายครั้งพิจารณาได้จาก ตำแหน่งของฟันที่หายไป และเป้าหมายของการมีสุขภาพช่องปากที่ดี โดยทางเลือกสำหรับการใส่ฟันทดแทนในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี เช่น การทำรากฟันเทียม การทำสะพานฟัน และการทำฟันเทียม เป็นต้น  
  • ทำไมรู้สึกปวดฟันได้ เมื่อฟันมีปัญหา 
    ฟันแต่ละซี่จะมีเส้นเลือดและเส้นประสาทอยู่บริเวณในโพรงประสาทฟัน เมื่อโพรงประสาทฟันติดเชื้อแบคทีเรีย เส้นประสาทจะส่งสัญญาณความเจ็บปวดออกไป 

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค 

เนื่องจากฟันเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อระบบย่อยอาหาร พัฒนาการด้านการพูด และโครงสร้างใบหน้า เราจึงจำเป็นต้องดูแลรักษาให้ฟันมีสุขภาพดีไปได้ตราบนานเท่านาน การดูแลรักษาฟันอย่างถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาของฟันทุกขั้น เพื่อให้มีสุขภาพช่องปากที่ดีและมีรอยยิ้มที่สดใส สิ่งที่จะช่วยรักษาสุขภาพและความงามของฟันได้ คือ การพบทันตแพทย์เป็นประจำและหมั่นคอยดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากทุกวัน 

เผยแพร่เมื่อ: 11 ก.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ทพญ. กุลนันทน์ ดำรงวุฒิ

    ทพญ. กุลนันทน์ ดำรงวุฒิ

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมการรักษารากฟัน
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมรักษารากฟัน
  • Link to doctor
    ทพญ. จอมขวัญ แสงบัวแก้ว

    ทพญ. จอมขวัญ แสงบัวแก้ว

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมการรักษารากฟัน
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมรักษารากฟัน
  • Link to doctor
    ผศ.ทพญ. อินทรา วงศ์เยาว์ฟ้า

    ผศ.ทพญ. อินทรา วงศ์เยาว์ฟ้า

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมการรักษารากฟัน
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมรักษารากฟัน
  • Link to doctor
    ทพญ. เทพิน บุญญะพานิชสกุล

    ทพญ. เทพิน บุญญะพานิชสกุล

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมศัลยกรรมช่องปาก
  • Link to doctor
    ทพญ. บุญญนาถ กึนสี

    ทพญ. บุญญนาถ กึนสี

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
    ทันตกรรมทั่วไป, ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
  • Link to doctor
    ผศ.ทพ. ดร.   พรพจน์ เฟื่องธารทิพย์

    ผศ.ทพ. ดร. พรพจน์ เฟื่องธารทิพย์

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมสำหรับเด็ก
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมสำหรับเด็ก
  • Link to doctor
    ทพญ. กนกวรรณ เอื้อธรรมาภิมุข

    ทพญ. กนกวรรณ เอื้อธรรมาภิมุข

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมทั่วไป
    ทันตกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    ผศ.ทพ. ดร. ศุภศันส์ ทิศทวีรัตน์

    ผศ.ทพ. ดร. ศุภศันส์ ทิศทวีรัตน์

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมการรักษารากฟัน
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมรักษารากฟัน, ทันตกรรมหัตถการ
  • Link to doctor
    ผศ.ทพญ. ณฤษพร ชัยประกิจ

    ผศ.ทพญ. ณฤษพร ชัยประกิจ

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
    ทันตกรรมทั่วไป, ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
  • Link to doctor
    ทพ. จักรพันธุ์ สามไพบูลย์

    ทพ. จักรพันธุ์ สามไพบูลย์

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
    ทันตกรรมทั่วไป, ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
  • Link to doctor
    ทพญ. พิสชา พิทยพัฒน์

    ทพญ. พิสชา พิทยพัฒน์

    • ทันตกรรม
    • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
    ทันตกรรมทั่วไป, ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
  • Link to doctor
    ทพญ. รศนา บุญเพ็ง

    ทพญ. รศนา บุญเพ็ง

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมทั่วไป
    ทันตกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    ทพญ. นันทวรรณ์ กลการประเสริฐ

    ทพญ. นันทวรรณ์ กลการประเสริฐ

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม
  • Link to doctor
    ทพ. พีรทัศน์ พิทักษ์ธนากูล

    ทพ. พีรทัศน์ พิทักษ์ธนากูล

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมทั่วไป
    ทันตกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    ทพญ. โสพิศสุดา สุวรรณรุ่งเรือง

    ทพญ. โสพิศสุดา สุวรรณรุ่งเรือง

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมสำหรับเด็ก
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมสำหรับเด็ก
  • Link to doctor
    ทพญ.   เพียงจันทร์   จิตตนาสวัสดิ์

    ทพญ. เพียงจันทร์ จิตตนาสวัสดิ์

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมสำหรับเด็ก
    ทันตกรรมสำหรับเด็ก
  • Link to doctor
    ทพ. ชัยพล ฉวีวรรณากร

    ทพ. ชัยพล ฉวีวรรณากร

    • ทันตกรรม
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมจัดฟัน
  • Link to doctor
    ศ.ทพญ. สุวรรณี ลัภนะพรลาภ

    ศ.ทพญ. สุวรรณี ลัภนะพรลาภ

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมจัดฟัน
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมจัดฟัน
  • Link to doctor
    ทพญ. สุนิสา รัตนวรพันธุ์

    ทพญ. สุนิสา รัตนวรพันธุ์

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมประดิษฐ์
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมประดิษฐ์
  • Link to doctor
    ทพญ. วไลภรณ์ สุรรังสิกุล

    ทพญ. วไลภรณ์ สุรรังสิกุล

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมหัตถการ
    ทันตกรรมหัตถการ
  • Link to doctor
    ทพญ.  คุนันยา  พิมลบุตร

    ทพญ. คุนันยา พิมลบุตร

    • ทันตกรรม
    เวชศาสตร์ช่องปาก, ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    ทพ. พรชัย จรัสเจริญวิทยา

    ทพ. พรชัย จรัสเจริญวิทยา

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมจัดฟัน
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมจัดฟัน
  • Link to doctor
    ทพญ.   แอน เจียรจิตเลิศ

    ทพญ. แอน เจียรจิตเลิศ

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมสำหรับเด็ก
    ทันตกรรมสำหรับเด็ก
  • Link to doctor
    ทพญ. วิมลกาญจน์ ดำรงรัตน์นุวงศ์

    ทพญ. วิมลกาญจน์ ดำรงรัตน์นุวงศ์

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมโรคเหงือก
  • Link to doctor
    ทพญ. พัชรวรรณ สุขุมาลินท์

    ทพญ. พัชรวรรณ สุขุมาลินท์

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมหัตถการ
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมหัตถการ
  • Link to doctor
    ทพ. ธนภัทร บ่อคำ

    ทพ. ธนภัทร บ่อคำ

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมทั่วไป
    ทันตกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    ทพ. พรวิทย์ จารุกิจโสภา

    ทพ. พรวิทย์ จารุกิจโสภา

    • ทันตกรรม
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมรักษารากฟัน