Normal Blood Pressure Banner

ความดันปกติ ความดันสูง ความดันต่ำ เท่าไหร่ ความดันสูงเกิดจาก

ความดันปกติ ของผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป โดยทั่วไปอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท แบ่งเป็น ค่าความดันโลหิตตัวบน หรือค่าสูง (Systolic blood pressure) อยู่ที่ 120-129 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิตตัวล่าง หรือค่าต่ำ

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ความดันปกติ (Normal Blood Pressure)

ความดันปกติ เท่าไหร่

ความดันปกติ ของผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป โดยทั่วไปอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท แบ่งเป็น ค่าความดันโลหิตตัวบน หรือค่าสูง (Systolic blood pressure) อยู่ที่ 120-129 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิตตัวล่าง หรือค่าต่ำ (Diastolic blood pressure) อยู่ที่ 80-84 มิลลิเมตรปรอท ตามตารางความดันโลหิต ดังต่อไปนี้

ระดับความดันโลหิต

ค่าความดันโลหิต

     ค่าซิสโตลิก (Systolic)

และ/หรือ

       ค่าไดแอสโตลิก (Diastolic)

ความดันโลหิตปกติ

น้อยกว่า 120 มม. ปรอท

   และ

น้อยกว่า 80 มม. ปรอท

ความดันโลหิตสูงกว่าปกติ

ระหว่าง 120-129 มม. ปรอท

   และ

น้อยกว่า 80 มม. ปรอท

ความดันโลหิตสูงระดับที่ 1

ระหว่าง 130-139 มม. ปรอท

 และ/หรือ

ระหว่าง 80-89 มม. ปรอท

ความดันโลหิตสูงระดับที่ 2

 ระหว่าง 140-179 มม. ปรอท

 และ/หรือ

ระหว่าง 90-109 มม. ปรอท

ความดันโลหิตสูงวิกฤติ

มากกว่า 180 มม. ปรอท

 และ/หรือ

มากกว่า 110 มม. ปรอท

ความดันโลหิตตัวบนสูง

มากกว่า 140 มม. ปรอท

และ

น้อยกว่า 90 มม. ปรอท

ความดันโลหิต คืออะไร

ความดันโลหิต คือ แรงดันภายในหลอดเลือดแดงที่เกิดจากการบีบและคลายตัวของหัวใจ เพื่อส่งเลือดให้ไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แบ่งเป็น

  1. ค่าตัวบน หรือค่าสูง (Systolic blood pressure) คือ ค่าแรงดันในหลอดเลือดแดงขณะหัวใจบีบตัว
  2. ค่าตัวล่าง หรือค่าต่ำ (Diastolic blood pressure) คือ ค่าแรงดันในหลอดเลือดแดงขณะหัวใจคลายตัว

 ความดันปกติ แบ่งตามช่วงอายุ

ช่วงอายุ

ค่าตัวบน (มม. ปรอท)

ค่าตัวล่าง (มม. ปรอท)

ความดันปกติ ทารก

60-90 มม. ปรอท

20-60 มม. ปรอท

ความดันปกติเด็ก อายุ 3-6 ปี

80-110 มม. ปรอท

55-75 มม. ปรอท

ความดันปกติเด็ก อายุ 7-17 ปี

90-120 มม. ปรอท

60-80 มม. ปรอท

ความดันปกติผู้หญิง

120-80 มม. ปรอท

140-90 มม. ปรอท

ความดันปกติผู้ชาย

120-80 มม. ปรอท

140-90 มม. ปรอท

ความดันปกติ อายุ 20 ปี

120-122 มม. ปรอท

79-81 มม. ปรอท

ความดันปกติ อายุ 30 ปี

121-123 มม. ปรอท

80-82 มม. ปรอท

ความดันปกติ อายุ 40 ปี

122-125 มม. ปรอท

81-83 มม. ปรอท

ความดันปกติ อายุ 50 ปี

123-126 มม. ปรอท

82-84 มม. ปรอท

ความดันปกติ อายุ 60 ปี

124-127 มม. ปรอท

83-85 มม. ปรอท

ความดันปกติ อายุ 70 ปี

125-125 มม. ปรอท

84-86 มม. ปรอท

ความดันปกติ อายุ 80 ปี

126-129 มม. ปรอท

85-87 มม. ปรอท

*ความดันปกติผู้สูงอายุ

ไม่ควรเกิน 160/90 มม.

 

Message Image 1746686010620(1)

วิธีวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน

การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน เป็นไปเพื่อติดตามและควบคุมระดับความดันโลหิต เพื่อรวบรวมและนำข้อมูลที่ได้ส่งแพทย์เพื่อประกอบการวินิจฉัยและรักษา ทั้งนี้ ผู้วัดความดันจะต้องเตรียมเครื่องวัดให้พร้อม ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้อง และต้องวัดความดันโลหิตต่อเนื่องอย่างน้อย 7 วันติดต่อกัน โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ 1.) หลังตื่นนอนตอนเช้า และ 2.) ก่อนเข้านอนตอนกลางคืน ตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • วัดความดันโลหิตในช่วงเช้า 2 ครั้งติดกัน ภายใน 1 ชม. หลังตื่นนอนหรือหลังปัสสาวะ โดยให้เว้นระยะห่างกัน 1 นาที 
  • วัดความดันโลหิตก่อนเข้านอน 2 ครั้งติดกัน โดยให้เว้นระยะห่างกัน 1 นาที 
  • ก่อนวัดความดันโลหิต 5 นาที ให้นั่งเก้าอี้หลังพิงพนักเพื่อไม่ให้หลังเกร็ง วางเท้าทั้ง 2 ข้างราบกับพื้น เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย ไม่นั่งไขว่ห้าง กำมือ พูดคุย หรือขยับตัวไปมา
  • วัดความดันโลหิตแขนข้างที่ไม่ถนัด หรือข้างที่มีความดันโลหิตสูงกว่า โดยวางแขนให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ
  • ในการวัดความดันโลหิตก่อนเข้านอน ควรนั่งพักอย่างน้อย 30 นาที และทิ้งระยะห่าง 1 ชม. หลังรับประทานอาหารเย็น การออกกำลังกาย การทำกิจกรรมหนัก การสูบบุหรี่ ดื่มชา หรือกาแฟ

ตัวอย่างการวัดความดันโลหิตที่บ้าน

ผู้ที่มีค่าความดันโลหิตสูงกว่า 180/110 มม. ปรอท ควรพบแพทย์ทันที

เวลาวัด

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

การอ่านผล

   

ตัวบน

ตัวล่าง

ตัวบน

ตัวล่าง

ค่าเฉลี่ยตัวบน

ค่าเฉลี่ยตัวล่าง

 ตอนเช้า

110

80

112

84

115

(120+112)/2

85

(80+84)/2

ตอนกลางคืน

120

75

110

82

118

(120+110)/2

78

(75+82)/2

ความดันโลหิตสูงเกิดจาก

ความดันโลหิตสูงเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งที่หาสาเหตุพบและหาสาเหตุไม่พบ เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น กรรมพันธุ์ ความเครียด การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การทานอาหารรสเค็มจัด อาหารโซเดียมสูง การไม่ออกกำลังกาย การพักผ่อนน้อย ภาวะหรือโรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคไตเรื้อรัง โรคทางต่อมไทรอยด์ หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รวมถึงการใช้ยาบางชนิด และการตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุและสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รักษาที่ต้นเหตุ ได้แก่

  • ภาวะฮอร์โมนอัลโดสเตอโรนสูงจากต่อมหมวกไต (เช่น กลุ่มอาการคอนน์)
  • เนื้องอกต่อมหมากไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (เนื้องอกที่หลั่งฮอร์โมนทีโคลามีน)
  • กลุ่มอาการคุชชิง (ภาวะฮอร์โมนคอร์ติซอลเกิน)
  • โรคอะโครเมกาลี หรือโรคเจ้ายักษ์ (ภาวะโกรทฮอร์โมนเกิน)
  • ภาวะหลอดเลือดไตตีบแคบ
  • ภาวะหลอดเลือดแดงเอออร์ตาตีบแคบ

อาการความดันโลหิตสูงที่ควรพบแพทย์

ความดันโลหิตสูงวิกฤติ (Hypertensive crisis) ที่ระดับ 180/110 มม. ปรอท ร่วมกับมีอาการดังต่อไปนี้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ควรรีบนำตัวส่ง รพ. ทันที ได้แก่

  • ปวดหัวรุนแรงเฉียบพลัน
  • เจ็บหน้าอกรุนแรง เจ็บกลางอกเหมือนมีของหนักมากดทับ
  • เจ็บหน้าอกร้าวไปขากรรไกร แขนซ้าย และอาจมีอาการร่วม เช่น  เหงื่อออก หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ หายใจลำบาก 
  • เจ็บหน้าอกหรือปวดท้องอย่างเฉียบพลันหรือรุนแรง และ/หรือร้าวทะลุไปด้านหลัง
  • หายใจถี่ หายใจลำบาก หายใจไม่ออก
  • ใจสั่น ชีพจรเต้นไม่เป็นจังหวะ
  • พูดลำบาก พูดไม่ชัด สับสน มึนงง
  • มองเห็นไม่ชัด ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน
  • เหน็บชา แขนขาอ่อนแรง โดยเฉพาะซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
  • ปวดหัวเฉียบพลัน ร่วมกับปวดตึงบริเวณท้ายทอย และคลื่นไส้ อาเจียน
  • เหนื่อยง่ายผิดปกติ
  • ชักเกร็ง

ความดันโลหิตต่ำเกิดจาก

ความดันโลหิตต่ำเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ภาวะขาดน้ำ การตั้งครรภ์ การเสียเลือด ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ปัญหาต่อมไทรอยด์ อาการแพ้อย่างรุนแรง ติดเชื้ออย่างรุนแรง หรือการขาดสารอาหาร รวมถึงยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคพาร์กินสัน หรือยาต้านซึมเศร้าบางชนิด นอกจากนี้ ความดันโลหิตต่ำอย่างฉับพลัน ยังอาจเกิดจาก การเปลี่ยนท่ากะทันหัน เช่น จากท่านอนเป็นท่านั่ง วัยที่เพิ่มขึ้น โรคเบาหวาน หรือความผิดปกติของระบบประสาท

อาการความดันโลหิตต่ำที่ควรพบแพทย์

ความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน (90/60 มม. ปรอท) ร่วมกับภาวะช็อคและหมดสติ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ควรรีบนำตัวส่ง รพ. ทันที ได้แก่

  • วิงเวียนศีรษะรุนแรงและต่อเนื่องโดยเฉพาะเมื่อยีน หรือลุก-นั่งเปลี่ยนท่า
  • เป็นลม หมดสติ 
  • สับสน มึนงง ขาดสมาธิ
  • หายใจเร็วและตื้น 
  • ผิวเย็น ผิวชื้น ผิวซีด
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ความดันโลหิตสูงควรทำอย่างไร

ความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมได้ด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เช่น การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การเลิกบุหรี่ การจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ และการผ่อนคลายความเครียด ทั้งนี้ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงต่อเนื่อง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการอย่างละเอียด เพื่อพิจารณาการทานยาลดและควบคุมความดัน รวมถึงการวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคลในกรณีที่แพทย์ตรวจพบโรคหรือภาวะที่เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคไต และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

ความดันโลหิตสูงกินอะไรหาย

อาหารที่ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรทาน ได้แก่ ผักใบเขียว ผลไม้รสเปรี้ยว ธัญพืชไม่ขัดสีที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามิน และแร่ธาตุ รวมถึงแหล่งโปรตีนไขมันต่ำ ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ ถั่วและเมล็ดธัญพืชที่มีไขมันดี ไฟเบอร์ และแมกนีเซียมที่ช่วยควบคุมและลดความดันโลหิต นอกจากนี้ยังควรเลือกน้ำมันในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันอโวคาโด แทนไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ และควรจำกัดปริมาณโซเดียม ไขมันอิ่มตัว และน้ำตาลที่บริโภคในแต่ละวันอีกด้วย

S  42647600 0

ความ ดัน ขึ้น 200 ควร ทำ อย่างไร

ความดันโลหิตสูง 200 มม. ปรอท ขึ้นไป ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่มีความจำเป็นต้องนำส่งแพทย์ที่ รพ. อย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจถี่ หรือมีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง เช่น อาการชา ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน อ่อนเพลียมาก หรือพูดลำบาก โทร 1669 ทันที หรือแผนกฉุกเฉินของ รพ. ทันที

หากไม่มีอาการ ให้นั่งอยู่นิ่ง ๆ 2-3 นาที แล้ววัดความดันโลหิตใหม่อีกครั้ง หากความดันโลหิตยังคงสูงต่อเนื่องแม้ไม่มีอาการไม่ควรลดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน ควรรีบพบแพทย์ที่ รพ. เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง

แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลเมดพาร์ค โทร. 02-090-3119 ตลอด 24 ชั่วโมง

บทความที่เกี่ยวข้อง


เผยแพร่เมื่อ: 14 พ.ค. 2025

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย

    นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน (ทางคลินิก)
    โรคภูมิแพ้, เวชศาสตร์ป้องกัน
  • Link to doctor
    พญ. ตุลยา ดิเรกวุฒิกุล

    พญ. ตุลยา ดิเรกวุฒิกุล

    • เวชศาสตร์ป้องกัน
    เวชศาสตร์ป้องกัน
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรรณวรา ปริตกุล

    ผศ.พญ. พรรณวรา ปริตกุล

    • เวชศาสตร์ป้องกัน
    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    เวชศาสตร์ป้องกัน
  • Link to doctor
    ผศ.(พิเศษ) นพ. สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์

    ผศ.(พิเศษ) นพ. สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์

    • เวชศาสตร์ครอบครัว
    Family Medicine, เวชศาสตร์ป้องกัน
  • Link to doctor
    นพ. พศวัต วุฒิไกรวิทย์

    นพ. พศวัต วุฒิไกรวิทย์

    • เวชศาสตร์ป้องกัน
    เวชศาสตร์ป้องกัน, เวชศาสตร์วิถีชีวิต, อาชีวเวชศาสตร์, การสร้างเสริมสุขภาพ, การแพทย์ทางไกล
  • Link to doctor
    พญ. นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์

    พญ. นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
    อายุรกรรมทั่วไป, เวชศาสตร์ป้องกัน
  • Link to doctor
    นพ. ทวีสิน ธีระธนานนท์

    นพ. ทวีสิน ธีระธนานนท์

    • เวชศาสตร์ป้องกัน
    เวชศาสตร์ป้องกัน, Checkup and Health Promotion
  • Link to doctor
    นพ. โอภาส นวสิริพงศ์

    นพ. โอภาส นวสิริพงศ์

    • เวชศาสตร์ป้องกัน
    เวชศาสตร์ป้องกัน, Checkup and Health Promotion
  • Link to doctor
    นพ. เสฏฐศิริ แสงสุวรรณ

    นพ. เสฏฐศิริ แสงสุวรรณ

    • เวชศาสตร์ป้องกัน
    • เวชศาสตร์ทางทะเล
    • อาชีวเวชศาสตร์
    เวชศาสตร์ป้องกัน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ทางทะเล