มองเห็น จุดดำลอยไปมา มองเห็นเส้นดำ ๆ เห็นหยากไย่ลอยไปมา

มองเห็น จุดดำลอยไปมา มองเห็นเส้นดำ ๆ เห็นหยากไย่ลอยไปมา

มองเห็น จุดดำลอยไปมาในตา (Black spots in vision) เห็นหยากไย่ลอยไปมาเมื่อแหงนมองฟ้า หรือเห็นแสงแฟลชวาบในตา อาจเป็นสัญญาณวุ้นตาเสื่อม สาเหตุที่ทำให้เห็นจุดดำ เส้นดำ ๆ หรือหยากไย่คล้ายใยแมงมุมในตา

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


มองเห็น จุดดำลอยไปมา (Black spot in vision)

มองเห็น จุดดำลอยไปมาในตา (Black spot in vision) เห็นหยากไย่ลอยไปมาเมื่อแหงนมองฟ้า หรือเห็นแสงแฟลชวาบในตา อาจเป็นสัญญาณวุ้นตาเสื่อม สาเหตุที่ทำให้เห็นจุดดำ เส้นดำ ๆ หรือหยากไย่คล้ายใยแมงมุมในตา หรืออาจเป็นสัญญาณความผิดปกติของจอประสาทตา เช่น จอประสาทตาฉีกขาด จอประสาทตาลอก หรือเลือดออกในวุ้นตาที่เป็นอันตรายและจำเป็นต้องให้การรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและสูญเสียการมองเห็นถาวร อาการมองเห็น จุดดำลอยไปมาที่เกิดจากความผิดปกติของจอประสาทตา สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้หากพบแพทย์ทันทีที่เริ่มมีอาการ ผู้ที่เห็นจุดดำลอย หยากไย่ หรือแสงแฟลชในตา ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจอาการโดยละเอียด

มองเห็น จุดดำลอยไปมา เกิดจากอะไร

โดยทั่วไป อาการมองเห็นจุดดำลอยไปมา หยากไย่ลอยในตา หรือเห็นแสงแฟลชวาบ มักมีสาเหตุจากวุ้นตาเสื่อมตามวัยจากอายุที่เพิ่มขึ้นหรือภาวะสายตาสั้น วุ้นตามีลักษณะเป็นเจลใสคล้ายไข่ขาว อยู่ระหว่างเลนส์ตาและจอประสาทตา ทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้แสงผ่าน เมื่ออายุมากขึ้น วุ้นตาจะเสื่อมสภาพลงกลายเป็นน้ำใส ในขณะที่บางส่วนหดตัว หรือจับตัวเป็นตะกอนขนาดเล็กทึบแสง และหลุดออกจากชั้นจอตาด้านในผ่านหน้าจุดรับภาพ ทำให้มองเห็นเป็นจุดดำลอยในตา 
วุ้นตาเสื่อม ยังอาจมีสาเหตุจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคหรือภาวะบางอย่าง เช่น เบาหวานขึ้นตา จอประสาทตาลอก หรือจอประสาทตาฉีกขาด ที่ทำให้เห็นจุดดำลอยไปมา แสงวาบ หรือหยากไย่ลอยในตาคล้ายฝุ่นติดอยู่บนเลนส์กล้องที่ไม่ว่าจะกลอกตาไปทิศทางไหนก็มองเห็น ผู้ที่มีอาการควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

 วุ้นตาเสื่อม อาการอย่างไร What are the symptoms of eye floaters?

วุ้นตาเสื่อม อาการอย่างไร

  • มองเห็น จุดดำลอยไปมา มองเห็นเส้นดำ ๆ ลอยไปมา เวลามองฟ้าแจ้ง
  • เห็นหยากไย่ลอยไปมา เห็นเส้นคล้ายใยแมงมุมลอยในตา เวลากลอกตา
  • เห็นแสงแฟลช ไฟวาบ ฟ้าแลบ เวลาลืมตาหรือหลับตา ทั้งในที่มืดหรือที่สว่าง

วุ้นตาเสื่อม ที่ควรรีบพบแพทย์

  • มองเห็นเงาตะกอนดำเพิ่มจำนวนมากขึ้นหลายจุดในระยะเวลาสั้น ๆ
  • จุดดำลอยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ตาข้างเดียว
  • มองเห็นฟ้าแลบ แสงวาบ แสงแฟลชถี่ ๆ เห็นเงาดำบดบังบางส่วนของภาพ
  • สูญเสียการมองเห็นด้านข้าง ที่ตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง การมองเห็นแคบลง
  • ได้รับอุบัติเหตุทางตา เส้นเลือดอุดตันในตา เลือดออกในตา เลือดคั่งในตา 
  • สูญเสียการมองเห็นกะทันหัน ตาพร่ามัวฉับพลัน การมองเห็นลดลงอย่างรวดเร็ว

การวินิจฉัยจุดดำลอย หยากไย่ แสงแฟลชในตา How are black spots, cobwebs, flashing lights in vision diagnosed?

การวินิจฉัยจุดดำลอย หยากไย่ แสงแฟลชในตา

จักษุแพทย์จะตรวจวินิจฉัยจุดดำลอย หยากไย่ หรือแสงแฟลชในตาโดยการซักประวัติหากมีสายตาสั้น บุคคลในครอบครัวมีประวัติจอประสาทตาฉีกขาดและหลุดลอก ประวัติอุบัติเหตุ โรคประจำตัวและยารักษาโรค จากนั้นจะทำการตรวจร่างกาย และตรวจเฉพาะทางบางชนิดขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ดังนี้

ซักประวัติทางการแพทย์

  • สังเกตเห็นจุดดำลอย หยากไย่ แสงแฟลชวาบครั้งแรกเมื่อไหร่ และระยะเวลาทั้งหมด
  • ลักษณะของจุดดำลอย หยากไย่ แสงแฟลชวาบ ความถี่ในการมองเห็น
  • เคยผ่าตัดดวงตา หรือเคยผ่าตัดสลายต้อกระจกมาก่อนหรือไม่
  • เคยได้รับอุบัติเหตุบาดเจ็บที่ดวงตา หรือดวงตาได้การกระทบกระแทก
  • สูญเสียการมองเห็นด้านข้าง เห็นเงาดำด้านข้าง หรือม่านเงาดำ
  • มีความผิดปกติของจอตา ที่ตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ความผิดปกติคงที่หรือมากขึ้น

ตรวจสุขภาพดวงตา

  • ตรวจสุขภาพดวงตาผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Slit-lamp examination)
  • ตรวจวัดระดับการมองเห็น (Visual acuity test)
  • ตรวจวัดค่าสายตาสั้น ยาว เอียง (Refraction test)
  • ตรวจวัดความดันลูกตา (Tonometry test)
  • ตรวจจอประสาทตา (Fundoscopic exam)

ตรวจสุขภาพตาเชิงลึก

  • ตรวจตาโดยการขยายม่านตา (Dilated Eye Exam)
  • ตรวจถ่ายภาพจอประสาทตาชนิดมุมกว้าง (Wide-field fundus photography)
  • ตรวจสแกนโครงสร้างจอตาด้วยคลื่นแสง (Optical coherence tomography)

ตรวจโรคร่วม

จักษุแพทย์อาจขอให้มีการตรวจร่างกายเพิ่มเติม ในกรณีที่พบอาการต้องสงสัยที่อาจเป็นสาเหตุของการมองเห็นจุดดำลอย เช่น

  • ตรวจเบาหวาน (Diabetes testing) วัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อวินิจฉัยอาการเบาหวานขึ้นตา
  • ตรวจ MRI (Magnetic resonance imaging) เส้นประสาทตา ไขสันหลัง หรือสมอง 
  • ตรวจหลอดเลือดสมอง (Cerebral angiogram) เพื่อหาหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือลิ่มเลือดในสมอง

จุดดำลอย หยากไย่ แสงแฟลชในตา มีวิธีการรักษาอย่างไร How are black spots, cobwebs, flashing lights in vision treated?

จุดดำลอย หยากไย่ แสงแฟลชในตา มีวิธีการรักษาอย่างไร

โดยทั่วไป จุดดำลอยไปมา หยากไย่ในตา หรือแสงแฟลชวาบที่เกิดจากวุ้นตาเสื่อม ไม่เป็นอันตรายและไม่จำเป็นต้องรักษา โดยเมื่อเวลาผ่านไป สมองจะค่อย ๆ ปรับการรับรู้ให้เคยชินกับการมองเห็นจุดดำลอย อย่างไรก็ตาม หากจุดดำลอยเพิ่มจำนวนมากขึ้น การมองเห็นแคบลง หรือมีความผิดปกติในการมองเห็นอื่น ๆ ควรรีบพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจอาการ โดยจักษุแพทย์อาจพิจารณาวิธีการรักษา ดังนี้

  • ผ่าตัดวุ้นตาและจอประสาทตา (Pars plana vitrectomy: PPV) กรณีที่พบโรคจอประสาทตาอื่น ๆ ร่วม นอกเหนือจากวุ้นตาเสื่อม เช่น เนื้อเยื่อพังผืดดึงรั้งจอประสาทตา เลือดออกในวุ้นตา หรือจอประสาทตาลอก จักษุแพทย์อาจฉีดแก๊สเพื่อแทนที่ช่องว่างวุ้นตาเสื่อมสภาพที่ถูกกำจัดออกไป
  • เลเซอร์กำจัดจุดดำลอย เงาตะกอนดำ (Laser disintegration of eye floaters) เป็นการใช้เลเซอร์ชนิดพิเศษ ยิงไปยังจุดดำลอย เงาตะกอนดำ หรือเส้นดำ ๆ เพื่อให้จุดดำแตกตัวเล็กลง ทำให้มองเห็นได้ดีขึ้น การรักษาด้วยวิธีการนี้ต้องใช้ความชำนาญของจักษุแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์การรักษาจุดดำในตาจากวุ้นตาเสื่อม เพื่อลดความเสี่ยงที่จอประสาทตาอาจได้รับความเสียหาย

ภาวะแทรกซ้อนจุดดำลอย หยากไย่ แสงแฟลชในตา Complications of black spots, cobwebs, flashing lights in vision
เบาหวานขึ้นตา

ภาวะแทรกซ้อนจุดดำลอย หยากไย่ แสงแฟลชในตา

อาการมองเห็นจุดดำลอย หยากไย่ หรือแสงแฟลชวาบในตา อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคอันตรายร้ายแรงที่ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว เช่น

  • จอประสาทตาฉีกขาดหรือหลุดลอก (Retinal tear and retinal detachment) จากการมีรูรั่ว หรือรอยฉีกขาดตามมาหลังจากวุ้นตาเสื่อม น้ำวุ้นตาที่เสื่อมบางส่วนอาจไหลเซาะเข้าไปในจอประสาทตา ทำให้ตาพร่ามัว มองเห็นจุดดำ การมองเห็นลดลงอย่างรวดเร็ว คล้ายมีม่านบังตาตลอดเวลา
  • เบาหวานขึ้นตา (Diabetes retinopathy) จุดดำลอยจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ส่งผลให้เส้นเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกายรวมถึงจอประสาทตา ทำให้มีเลือดออกในวุ้นตา ตาพร่ามัว โปรตีนและไขมันรั่วในจอตา มีพังผืดดึงรั้งจอประสาทตา และเสี่ยงสูญเสียการมองเห็นถาวร

จุดดำลอย หยากไย่ แสงแฟลชในตา มีทางรักษา ควรรีบมาพบแพทย์ Black spots, cobwebs, flashing lights in vision are treatable with early treatment

จุดดำลอย หยากไย่ แสงแฟลชในตา มีวิธีป้องกันอย่างไร

จุดดำลอย หยากไย่ หรือแสงแฟลชวาบในตาส่วนใหญ่มักเกิดจากความเสื่อมตามธรรมชาติที่ไม่สามารถป้องกันได้ อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้สามารถลดความรุนแรง และลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้โดยการพบจักษุแพทย์ทันทีที่เริ่มสังเกตเห็นอาการ ร่วมกับการดูแลสุขภาพตนเองอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้

  • ตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจสุขภาพตาทุก ๆ 2 ปี
  • ผู้ที่เป็นเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตให้เป็นปกติเสมอ
  • สวมแว่นกันแดด หรือแว่นสายตาเพื่อปกป้องดวงตาจากรังสี UVA/UVB ควันบุหรี่ ฝุ่นละออง และสิ่งสกปรกเข้าตา
  • พักสายตาจากหน้าจอหรือหนังสือ และบริหารสายตาเป็นช่วง ๆ เช่น มองไกล 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที ทุก ๆ 20 นาที
  • ทานผัก ผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน A C E และ โอเมก้า 3 เพื่อบำรุงจอประสาทตา และลดความเสี่ยงการเกิดจุดดำลอยในตา
  • หากมีจุดดำ เส้นดำ หยากไย่ แสงแฟลชวาบในตาฉับพลัน สูญเสียการมองเห็นกะทันหัน ให้รีบพบแพทย์ทันที

จุดดำลอย หยากไย่ แสงแฟลชในตา มีทางรักษา ควรรีบมาพบแพทย์

ในปัจจุบัน อาการเห็นจุดดำลอยไปมา หยากไย่ในตา หรือแสงแฟลชวาบในตา สามารถรักษาอาการให้ดีขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดระบบวุ้นตาและจอประสาทตา หรือเลเซอร์ปิดรูฉีกขาด เพื่อลดการดึงรั้งของวุ้นตาที่มีต่อจอตา ทำให้จอตาราบลง แนบชิดติดกับผิวจอตา และป้องกันไม่ให้จอตาหลุดลอก

ผู้ที่มีอาการตามัวเฉียบพลัน เห็นจุดดำลอยเพิ่มขึ้นรวดเร็วหลายจุด เห็นเส้นดำลอยไปมาเมื่อมองฟ้าโปร่ง กระดาษเปล่า หรือผนังสีขาว เห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบหรือแสงแฟลชวาบขณะหลับตาไม่ว่าอยู่ในที่มืดหรือที่สว่าง เห็นเงาดำเหมือนมีม่านบังตา เห็นภาพเป็นคลื่น ๆ หรือมีการมองเห็นลดลงอย่างรวดเร็ว ควรรีบพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคโดยเร็ว ทั้งนี้ โอกาสการกลับมามองเห็นได้ดีขึ้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ระยะเวลาที่จอตาหลุดลอก และการมาพบจักษุแพทย์โดยเร็วทันทีที่เริ่มมีอาการ

บทความที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 01 ก.ค. 2025

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ดิศรณ์ สุวจนกรณ์

    นพ. ดิศรณ์ สุวจนกรณ์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาจอตาและวุ้นตา
    จักษุวิทยา, จอประสาทตาและน้ำวุ้นตา
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. วิจักษณ์ คงวัฒนานนท์

    ผศ.นพ. วิจักษณ์ คงวัฒนานนท์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาจอตาและวุ้นตา
    จอประสาทตาและน้ำวุ้นตา
  • Link to doctor
    นพ. อภิวัฒน์ มาวิจักขณ์

    นพ. อภิวัฒน์ มาวิจักขณ์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาจอตาและวุ้นตา
    จอประสาทตาและน้ำวุ้นตา, โรคจอประสาทตาในเด็ก
  • Link to doctor
    นพ. ธนาพงษ์ สมกิจรุ่งโรจน์

    นพ. ธนาพงษ์ สมกิจรุ่งโรจน์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาจอตาและวุ้นตา
    การผ่าตัดต้อกระจก, จอประสาทตาและน้ำวุ้นตา, ม่านตาอักเสบ, โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก
  • Link to doctor
    นพ. กฤติเดช เดชะคุปต์

    นพ. กฤติเดช เดชะคุปต์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาจอตาและวุ้นตา
    ผ่าตัดจอประสาทตา, ต้อกระจก, การผ่าตัดต้อกระจก, โรคตาทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. นันทชัย สุรวัติเสถียร

    นพ. นันทชัย สุรวัติเสถียร

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาการผ่าตัดวุ้นน้ำตาและจอประสาทตา
    จักษุวิทยา, การผ่าตัดรักษาโรคทางจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา, จอประสาทตาและน้ำวุ้นตา, Vitreoretinal Surgery