Artboard 7 Copy 3.jpg

คำแนะนำการฝากครรภ์ (Prenatal Instructions)

การฝากครรภ์ คือการดูแลครรภ์ของคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยแพทย์จะดูแลและตรวจครรภ์ตามระยะ เพื่อเฝ้าระวังและติดตามความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ แพทย์จะให้ความรู้และคำแนะนำในการปฏิบัติตนของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์

แชร์

การฝากครรภ์ คือการดูแลครรภ์ของคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยแพทย์จะดูแลและตรวจครรภ์ตามระยะ เพื่อเฝ้าระวังและติดตามความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ แพทย์จะให้ความรู้และคำแนะนำในการปฏิบัติตนของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งแพทย์จะนัดตรวจสุขภาพแม่และทารกในครรภ์เป็นระยะ ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจครรภ์อย่างน้อย 4 ครั้งขึ้นไป ตามเกณฑ์การฝากครรภ์ขององค์การอนามัยโลก

คำแนะนำการฝากครรภ์

อาการที่ควรติดต่อแพทย์ทันที

  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • มีมูกเลือด น้ำเดิน (น้ำใส ๆ คล้ายปัสสาวะไหลออกทางช่องคลอด)
  • มีอาการปวดท้องมาก ท้องแข็ง สม่ำเสมอ
  • ลูกดิ้นน้อยลง ผิดสังเกต (< 10 ครั้งต่อวัน) หรือไม่ดิ้น
  • ปัสสาวะแสบขัด ปวดหลัง มีไข้สูง
  • มีอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรง ตาพร่ามัว บวมตามหน้า มือ และเท้า

อาการเตือนก่อนคลอดที่ต้องมาโรงพยาบาลทันที

  • ลูกดิ้นน้อย
  • มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด
  • มีน้ำเดิน ซึ่งคือน้ำคร่ำใส ๆ คล้ายปัสสาวะออกทางช่องคลอด
  • เจ็บครรภ์และมีการแข็งตัวเป็นจังหวะ ๆ ทุก 15 นาที และถี่ขึ้นเป็นทุก 3-5 นาที แต่ละครั้งนานประมาณ 30-45 วินาที และถี่มากขึ้น (เจ็บครรภ์จริง)

การเตรียมตัวมาคลอด

  • ควรมาโรงพยาบาลก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 3 ชั่วโมง และงดน้ำ และ อาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง(กรณีนัดผ่าตัดคลอดที่ทราบเวลาผ่าตัดที่แน่นอน)
  • นำสมุดฝากครรภ์และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการมาโรงพยาบาล (กรณีฝากครรภ์ที่อื่น)
  • ตัดเล็บ ควรล้างสีเล็บมือ และ เล็บเท้า
  • ไม่ควรนำเครื่องประดับ หรือสิ่งของมีค่ามาโรงพยาบาล
  • ควรถอดเครื่องประดับอาทิเช่น แหวน กำไล ก่อนเตรียมตัวมาคลอด

การเตรียมของใช้ของคุณแม่

  • เสื้อผ้าชุดใส่กลับบ้าน 1 ชุด
  • เสื้อชั้นในสำหรับใส่ให้นมบุตร
  • กางเกงชั้นในที่มีขอบเอวเหนือหรือใต้แผลผ่าตัดคลอด

สิ่งที่โรงพยาบาลจัดเตรียมไว้ให้

  • ชุดเด็ก ผ้าห่อตัวเด็ก และ หมวก
  • แชมพูสระผม หมวกคลุมผม สบู่และรองเท้าแตะ

เอกสารสำคัญที่ต้องเตรียมมาใช้ในการทำสูติบัตร

  1. สำเนาบัตรประชาชนของบิดาและมารดา 1ชุด (กรณีชาวต่างชาติใช้ Passport)
  2. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดาและมารดา 1 ชุด
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะแจ้งย้ายบุตรเข้า 1 ชุด
  4. สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีไม่มีทะเบียนสมรส บิดาต้องกรอกแบบฟอร์มหนังสือยินยอมเพื่อให้บุตรสามารถใช้นามสกุลได้)



เรียกรถฉุกเฉิน โทร. 02-090-3000

แผนกผู้ป่วยนอกสูตินรีเวช ชั้น 7 โทร 02-090-3135
เปิดบริการ 7.00 – 20.00 น.

ห้องคลอดชั้น 16 โทร 02-090-3127
เปิดบริการ 24 ชั่วโมง

แผนกผู้ป่วยในสูตินรีเวชชั้น 16 โทร 02-090-3141
เปิดบริการ 24 ชั่วโมง

แผนกฉุกเฉินชั้น G โทร 02-023-3333
เปิดบริการ 24 ชั่วโมง

เผยแพร่เมื่อ: 29 มี.ค. 2021

แชร์