อาการ สาเหตุ การวินิจฉัยและการรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี - Gallbladder Stones

โรคนิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones)

นิ่วในถุงน้ำดี เกิดขึ้นเมื่อส่วนประกอบของน้ำดีโดยเฉพาะคอเลสเตอรอลและบิลิรูบิน ดยก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นนี้อาจมีลักษณะเป็นผงขนาดเล็กเท่าเม็ดทรายหรือใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ ภายในถุงน้ำดีสามารถมีได้ทั้งนิ่วขนาดใหญ่จำนวนหนึ่ง ร่วมกับนิ่วเล็ก ๆ หลายร้อยก้อนได้

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ถุงน้ำดีคืออะไร?

ถุงน้ำดี มีลักษณะเป็นกระเปาะคล้ายลูกแพร์ เป็นอวัยวะสำหรับกักเก็บน้ำดีที่สร้างมาจากตับ โดยน้ำดีมีสีเหลืองใสแกมน้ำตาลที่ตับผลิตขึ้นเพื่อทำหน้าที่ช่วยในการดูดซึมอาหารชนิดไขมัน ตำแหน่งของถุงน้ำดีอยู่บริเวณใต้ตับแถบชายโครงด้านขวา โดยถุงน้ำดีจะทำหน้าที่เก็บน้ำดี และทำการบีบตัวเพื่อปล่อยน้ำดีผ่านท่อเขื่อมกับท่อน้ำดีลงไปสู่ท่อน้ำดีใหญ่ที่วิ่งออกจากตับซึ่งจะไปเปิดบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อนำไปช่วยในการดูดซึมไขมันต่อไป

โรคนิ่วคืออะไร เกิดจากสาเหตุอะไร?

นิ่วในถุงน้ำดี เกิดขึ้นเมื่อส่วนประกอบของน้ำดีโดยเฉพาะคอเลสเตอรอลและบิลิรูบิน (สารให้สีในน้ำดีซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของเม็ดเลือดแดง) มีความเข้มข้นมากจนตกตะกอนผลึกเป็นก้อนในถุงน้ำดี โดยก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นนี้อาจมีลักษณะเป็นผงขนาดเล็กเท่าเม็ดทรายหรือใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ ภายในถุงน้ำดีสามารถมีได้ทั้งนิ่วขนาดใหญ่จำนวนหนึ่ง ร่วมกับนิ่วเล็ก ๆ หลายร้อยก้อนได้

อาการนิ่วในถุงน้ำดี เป็นอย่างไร?

  • นิ่วในถุงน้ำดีที่ไม่มีอาการ: โดยทั่วไปแล้วนิ่วในถุงน้ำดีในระยะแรกๆมักไม่ก่อให้เกิดอาการ ซึ่งมักตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจอัลตราซาวด์ในการตรวจสุขภาพประจำปี
  • นิ่วในถุงน้ำดีที่มีภาวะแทรกซ้อน: เกิดจากการที่นิ่วในถุงน้ำดีมีการอุดกั้นบริเวณต่าง ๆ ของทางเดินน้ำดี โดยอาการ และความรุนแรงของโรคมีได้หลากหลาย ตามตำแหน่งของการอุดกั้น และการมีภาวการณ์ติดเชื้อแทรกซ้อน
    • อาการปวดท้องจากนิ่วในถุงน้ำดี เกิดจากการที่นิ่วในถุงน้ำดีเกิดการอุดกั้นท่อถุงน้ำดี (cystic duct) ชั่วคราว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นท้อง ท้องอืด มีลมในท้อง มีอาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือใต้ชายโครงขวาซึ่งอาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณหลังร่วมด้วย และบางครั้งอาการปวดอาจเป็นรุนแรงมาก
    • ถุงน้ำดีอักเสบ: เมื่อนิ่วมีการอุดกั้นท่อถุงน้ำดีเป็นระยะเวลาหนึ่ง อาจทำให้ถุงน้ำดีเกิดการอักเสบติดเชื้อตามมา ทำให้ผู้ป่วยมีไข้ร่วมกับอาการปวดท้องรุนแรงเพิ่มขึ้น มีอาการกดเจ็บหน้าท้องบริเวณถุงน้ำดี
    • ตัวเหลือง/ดีซ่าน: เมื่อนิ่วหลุดผ่านจากถุงน้ำดี ผ่านท่อถุงน้ำดี ลงสู่บริเวณท่อน้ำดีใหญ่ อาจทำให้เกิดการอุดกั้นของท่อน้ำดี ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะดีซ่าน ผิวหนังและตาขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและโดยมากผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
    • ท่อน้ำดีอักเสบ: หากนิ่วที่อุดกั้นบริเวณท่อน้ำดีใหญ่นำมาสู่การติดเชื้อของท่อน้ำดี อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก ได้แก่ มีไข้ ปวดจุกเสียด ตัวเหลือง/ดีซ่านและมีอาการหนาวสั่นอันเกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอาจนำมาสู่การเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
    • ตับอ่อนอักเสบ: เนื่องจากรูเปิดของท่อตับอ่อนลงสู่ลำไส้เล็กส่วนต้นนั้น เป็นรูเดียวกับรูเปิดของท่อน้ำดี เนื่องจากปลายท่อทั้งสองรวมตัวกันก่อนเปิดเข้าสู่ลำไส้ ดังนั้นหากมีนิ่ว (ซึ่งส่วนมากเป็นผงนิ่วขนาดเล็ก) ตกลงมาอุดกั้นบริเวณปลายท่อร่วมดังกล่าว ทำให้เกิดการอักเสบของตับอ่อนได้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องรุนแรงบริเวณลิ้นปี่ และมักร้าวไปยังบริเวณหลัง

ผู้ป่วยที่มีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุดเนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้

การวินิจฉัยและการรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี

โดยทั่วไปการพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยการทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน เป็นการตรวจที่เพียงพอที่จะยืนยันว่าคุณมีนิ่วในถุงน้ำดี หรือมีภาวะถุงน้ำดีอักเสบหรือไม่ แต่ในบางกรณี เช่น การตรวจหานิ่วในท่อน้ำดี หรือการวินิจฉัยภาวะตับอ่อนอักเสบ อาจจำเป็นต้องใช้การตรวจทางรังสีชนิดพิเศษ เช่น การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ขั้นตอนปกติหลังการวินิจฉัยคือการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการจากนิ่วในถุงน้ำดี แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดเพื่อเอาถุงน้ำดีออกเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ รวมถึงการกลับมาเป็นซ้ำของภาวะแทรกซ้อนจากนิ่วในถุงน้ำดี ในปัจจุบันการผ่าตัดที่เป็นมาตราฐานของการผ่าตัดถุงน้ำดีคือการผ่าตัดส่องกล้องนิ่วในถุงน้ำดี เนื่องจากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว โดยวิธีนี้จะทำให้แผลมีขนาดเล็ก (1-2 ซม.) การผ่าตัดใช้เวลาสั้น (60-90 นาที) ไม่ต้องพักฟื้นนาน โดยทั่วไประยะเวลาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสั้น (3 วัน 2 คืน)

ดูแลตัวเองหลังผ่าตัดนิ่ว

ศัลยแพทย์ของคุณสามารถให้คำแนะนำว่าคุณจะสามารถกลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้เมื่อใด

กล่าวโดยทั่วไป หลังการผ่าตัดที่มีรอยแผลผ่าตัดขนาดเล็กจากการผ่าตัดส่องกล้อง คุณสามารถที่จะ:

  • รับประทานอาหารตามปกติได้ทันที คุณสามารถกลับไปรับประทานอาหารตามปกติได้แม้ว่าก่อนหน้านั้นคุณอาจจะได้รับคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดก่อนการผ่าตัด อีกทั้งคุณควรพยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสมดุลเพื่อสุขภาพที่ดี (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารหลังการผ่าตัดถุงน้ำดี)
  • ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดิน แต่ระวังอย่าออกแรงมากเกินไปหรือเร็วเกินไป และควรขอคำแนะนำจากศัลยแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการกลับไปออกกำลังกายที่หนักมากขึ้น
  • กลับมาขับรถได้อีกครั้ง หลังจากผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ แต่ก่อนอื่นโปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณสามารถคาดเข็มขัดนิรภัยได้และฝึกหยุดฉุกเฉินได้โดยไม่มีอาการไม่สบายใด ๆ 

Gallbladder Stones

เผยแพร่เมื่อ: 03 ก.ย. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ภูภัฐ วงศ์วัฒนกิจ

    นพ. ภูภัฐ วงศ์วัฒนกิจ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. นเรนทร์ สันติกุลานนท์

    นพ. นเรนทร์ สันติกุลานนท์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยกรรมมะเร็งลำไส้
    General Surgery, Colorectal Surgery
  • Link to doctor
    นพ. วันปรีดี ตันเสนีย์

    นพ. วันปรีดี ตันเสนีย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Hyperbaric Oxygen Therapy, Trauma Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ณรงค์ศักดิ์ รุ่งสกุลกิจ

    นพ. ณรงค์ศักดิ์ รุ่งสกุลกิจ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Hepato-biliary and Pancreatic Surgery
  • Link to doctor
    นายแพทย์ เชาวนันท์   พรวรากรณ์

    นายแพทย์ เชาวนันท์ พรวรากรณ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
    General Surgery, Vascular Surgery
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ฉัตรชัย มิ่งมาลัยรักษ์

    ผศ.นพ. ฉัตรชัย มิ่งมาลัยรักษ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์การปลูกถ่ายอวัยวะ
    General Surgery, การปลูกถ่ายไต
  • Link to doctor
    นพ. สิกฤษฏิ์ เด่นอริยะกูล

    นพ. สิกฤษฏิ์ เด่นอริยะกูล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery, General Surgery
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. สุภาพร โอภาสานนท์

    ผศ.พญ. สุภาพร โอภาสานนท์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Wound Treatment and Surgery, Hyperbaric Oxygen Therapy, Burn Treatment and Surgery, Hemorrhoid, Chronic Wound, Diabetic Foot Ulcer
  • Link to doctor
    นพ. ณฐวรรธ นฤพนธ์จิรกุล

    นพ. ณฐวรรธ นฤพนธ์จิรกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ.   สุเทพ อุดมแสวงทรัพย์

    นพ. สุเทพ อุดมแสวงทรัพย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ดุษฎี  มีศิริ

    นพ. ดุษฎี มีศิริ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ต้น คงเป็นสุข

    นพ. ต้น คงเป็นสุข

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยกรรมมะเร็งลำไส้
    General Surgery, Colorectal Surgery
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. นวลพรรณ พลชัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. พรพีระ จิตต์ประทุม

    นพ. พรพีระ จิตต์ประทุม

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • การผ่าตัดช่องท้องผ่านกล้อง
    General Surgery, Minimally Invasive Surgery
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล

    ผศ.นพ. ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์การปลูกถ่ายอวัยวะ
    General Surgery, Abdominal Organ Transplant
  • Link to doctor
    นพ. ชินวัตร วิสุทธิแพทย์

    นพ. ชินวัตร วิสุทธิแพทย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Breast Surgery, Laparoscopic Abdominal Surgery, Endoscopic Thyroid Surgery, Surgical Treatment of Gastrointestinal Malignancies, Breast Cancer Surgery
  • Link to doctor
    พญ. หนึ่งฤทัย โอฬารนภาลัย

    พญ. หนึ่งฤทัย โอฬารนภาลัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล

    นพ. ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Head Neck Breast Surgery
  • Link to doctor
    นพ. อภินันท์ อุทัยไพศาลวงศ์

    นพ. อภินันท์ อุทัยไพศาลวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. กฤษณ์ กิติสิน

    นพ. กฤษณ์ กิติสิน

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Surgical Oncology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พงศ์รัตน์ ศิริจินดากุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์การปลูกถ่ายอวัยวะ
    General Surgery, การปลูกถ่ายไต
  • Link to doctor
    นพ. อธิศพันธุ์ จุลกทัพพะ

    นพ. อธิศพันธุ์ จุลกทัพพะ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
    Breast Surgery, Vascular Surgery, General Surgery
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ศุภอัฐ พึ่งพาพงศ์

    รศ.นพ. ศุภอัฐ พึ่งพาพงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery