เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ - Endometriosis

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญภายนอกโพรงมดลูกและทำให้เกิดอาการปวดบริเวณท้องน้อยอย่างรุนแรง โดยเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ มักส่งผลต่ออวัยวะข้างเคียง

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญภายนอกโพรงมดลูกและทำให้เกิดอาการปวดบริเวณท้องน้อยอย่างรุนแรง โดยเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ มักส่งผลต่ออวัยวะข้างเคียง เช่น รังไข่ ท่อนำไข่ และเนื้อเยื่อในอุ้งเชิงกราน ในบางกรณีจะพบว่า เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกอาจแพร่กระจายออกไปนอกอุ้งเชิงกราน ไปอวัยวะที่อยู่ไกลออกไปได้ เช่น ที่ปอด แต่พบน้อยมาก

เมื่อเกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้อเยื่อที่มีลักษณะและหน้าที่คล้ายเยื่อบุโพรงมดลูก จะทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อในอุ้งเชิงกรานในบริเวณที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปเกาะ ในกรณีที่เกิดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่บริเวณรังไข่ก็จะเกิดซีสต์ที่เรียกว่า ช็อกโกแลตซีสต์ ขึ้น เนื้อเยื่อรอบข้างอาจเกิดการระคายเคืองและพัฒนาไปเป็นพังผืด ทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะในอุ้งเชิงกรานติดกันได้

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อาจทำให้เกิดอาการปวด บางครั้งปวดรุนแรง โดยเฉพาะในช่วงมีประจำเดือน และปัญหาการมีบุตรยาก ก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน การรักษาภาวะนี้  เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

ผู้ที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มีอาการอย่างไร

อาการหลัก ๆ ของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คืออาการปวดท้องน้อยบริเวณอุ้งเชิงกรานช่วงมีประจำเดือน โดย จะมีอาการปวดเกร็งเกิดขึ้นในช่วงมีประจำเดือน ในหลายรายมีอาการหนัก และอาการปวดอาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละรอบประจำเดือน

อาการทั่วไปของผู้ป่วยที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ได้แก่ :

  • ปวดประจำเดือน มีอาการปวดท้องน้อยบริเวณอุ้งเชิงกรานและเป็นตะคริว ซึ่งอาจเกิดก่อนมีประจำเดือนและปวดนานหลายวันจนถึงวันที่มีรอบเดือน ในบางราย อาจมีอาการปวดหลังส่วนล่างร่วมด้วย
  • เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ อาการเจ็บลึกๆ ระหว่างหรือหลังมีเพศสัมพันธ์เป็นอาการที่พบบ่อยของผู้ที่เป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • เจ็บท้องขณะขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นช่วงมีประจำเดือน
  • มีเลือดออกจากช่องคลอดมากผิดปกติ อาจมีประจำเดือนมามาก และมานานกว่าปกติ
  • ประสบภาวะมีลูกยาก ผู้ป่วยบางราย ตรวจพบว่าเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ในช่วงมีการตรวจวินิจฉัยว่าอยู่ในภาวะมีบุตรยาก
  • อาการอื่นๆ ของคนที่เป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาจมีอาการอ่อนเพลีย ท้องเสีย ท้องผูก ท้องอืด หรือคลื่นไส้โดยเฉพาะในช่วงที่มีประจำเดือน

อย่างไรก็ตาม การมีอาการปวดท้องมากหรือน้อย ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความรุนแรงของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ผู้ที่เป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ที่รุนแรงอาจมีอาการปวดเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยก็ได้ ในขณะที่มีอาการปวดมาก อาจมีรอยโรยของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เพียงเล็กน้อย

นอกจากนี้ อาการต่าง ๆ เหล่านี้ อาจคล้ายคลึงกับโรคอื่น ที่อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องบริเวณอุ้งเชิงกรานได้เช่นกัน เช่น โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบติดเชื้อ (PID) หรือซีสต์รังไข่ หรือ ภาวะลำไส้แปรปรวน (IBS) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องผูก และตะคริวในช่องท้อง ทั้งนี้ ภาวะลำไส้แปรปรวนอาจมาพร้อมกับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ซึ่งอาจทำให้การวินิจฉัยมีความซับซ้อนขึ้น

เมื่อต้องพบแพทย์

หากมีอาการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่ากำลังมีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ควรพบแพทย์ทันที

สาเหตุของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

แม้ทางการแพทย์จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ แต่ก็มีหลายทฤษฎีที่สามารถอธิบาย ได้ดังนี้ :

  • ประจำเดือนไหลย้อนกลับไปในอุ้งเชิงกราน (Retrograde Menstruation) ในการมีประจำเดือนไหลย้อนกลับไปในอุ้งเชิงกราน เลือดประจำเดือนที่มีเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกจะไหลย้อนกลับผ่านท่อนำไข่และเข้าไปในอุ้งเชิงกรานแทนที่จะออกจากร่างกาย เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกเกาะติดกับผนังอุ้งเชิงกราน
  • การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในช่องท้อง ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ปัจจัยด้านฮอร์โมนหรือภูมิคุ้มกันช่วยเสริมการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุช่องท้องได้ ซึ่งเปลี่ยนเซลล์ที่เรียงตัวกันด้านในของช่องท้องให้กลายเป็นเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายเยื่อบุโพรงมดลูก
  • การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ตัวอ่อน ฮอร์โมน เช่น เอสโตรเจนอาจเปลี่ยนแปลงเซลล์ตัวอ่อน ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ในระยะแรกสุดของพัฒนามนุษย์ให้กลายเป็นเซลล์ปลูกถ่ายคล้ายเยื่อบุโพรงมดลูกในช่วงวัยแรกรุ่น
  • แผลหลังผ่าตัด หลังการผ่าตัด เช่น การตัดมดลูกหรือการผ่าท้องทำคลอด เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกอาจยึดเกาะอยู่กับแผลผ่าตัด
  • การขนถ่ายเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกไปยังอวัยวะอื่น ระบบหลอดเลือดหรือระบบน้ำเหลือง อาจขนส่งเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
  • ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันอาจทำให้ร่างกายไม่สามารถจดจำและทำลายเนื้อเยื่อคล้ายเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญเติบโตนอกมดลูกได้


ความเสี่ยงในการเกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มีหลายอย่าง เช่น:

  • ไม่เคยมีคลอดบุตรมาก่อน
  • เริ่มมีประจำเดือนเร็วกว่าปกติ
  • เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนช้ากว่าปกติ
  • มีช่วงรอบเดือนสั้น เช่น มาน้อยกว่า 27 วัน
  • ประจำเดือนมามากและกินเวลานานกว่า 7 วัน
  • มีฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายสูงขึ้น หรือได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนตลอดชีวิตที่ร่างกายผลิตขึ้น
  • มีดัชนีมวลกายต่ำ
  • คนในครอบครัวมีประวัติการเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (แม่ ป้าหรือน้องสาว)
  • มีโรคหรือภาวะที่ส่งผลให้ประจำเดือนไม่ไหลออกมาตามปกติ
  • มีความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มักใช้เวลาหลายปีกว่าจะแสดงอาการ นับตั้งแต่ที่มีรอบประจำเดือนครั้งแรก (Menarche) อาการของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อาจดีขึ้นชั่วคราวเมื่อตั้งครรภ์ และอาจหายไปในวัยหมดประจำเดือน

แพทย์วินิจฉัยภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อย่างไร

ในการวินิจฉัยภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่และภาวะอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยบริเวณอุ้งเชิงกราน แพทย์อาจให้ผู้ป่วยอธิบายอาการ รวมถึงระบุตำแหน่งของความเจ็บปวด เวลาที่ปวด และอาการอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับความเจ็บปวด

แพทย์อาจตรวจเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เพิ่มเติมโดยวิธีดังต่อไปนี้:

  • การตรวจภายใน ในระหว่างการตรวจ แพทย์อาจใส่อุปกรณ์เพื่อดูภายในช่องคลอด คลำบริเวณท้องน้อยและภายในช่องคลอดเพื่อหาความผิดปกติ เช่น ซีสต์ในอวัยวะสืบพันธุ์ หรือพังผืดหลังมดลูก หากเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ขนาดเล็กที่เกาะบริเวณเยื่อบุช่องท้อง แพทย์อาจไม่พบความผิดปกติอะไรเลย เว้นเสียแต่ว่า จะมีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ที่รังไข่ ทำให้มีถุงน้ำรังไข่เกิดขึ้น
  • อัลตราซาวด์ การตรวจนี้ใช้คลื่นเสียงที่มีความถี่สูงเพื่อสร้างภาพภายในร่างกายให้แพทย์วินิจฉัย ในขั้นตอนนี้ แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ทรานสดิวเซอร์ วางลงบนหน้าท้องของผู้ป่วย หรือสอดเข้าไปในช่องคลอด (อัลตราซาวนด์ช่องคลอด) ทั้งนี้ แพทย์อาจใช้วิธีอัลตราซาวด์ทั้งสองประเภทร่วมกันเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดขึ้นของอวัยวะสืบพันธุ์ อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจจะยังไม่สามารถระบุได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ผู้ป่วยมีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือไม่ เนื่องจากหากเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ขนาดเล็กที่เกาะบริเวณเยื่อบุช่องท้องอาจไม่สามารถเห็นได้จากอัลตราซาวน์ แต่สามารถระบุได้ว่ามีถุงน้ำช๊อกโกแลตที่เป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ที่รังไข่หรือไม่
  • เทคนิคการถ่ายภาพทางการแพทย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เทคนิคการถ่ายภาพทางการแพทย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นการตรวจที่ใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุเพื่อสร้างภาพของอวัยวะและเนื้อเยื่อภายในร่างกายโดยละเอียด ในบางกรณี เทคนิคการถ่ายภาพทางการแพทย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้ช่วยให้แพทย์วางแผนการผ่าตัดได้มีประสิทธิภาพขึ้น โดยศัลยแพทย์สามารถทราบได้อย่างละเอียดว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อยู่ตำแหน่งใดและขนาดเท่าไร
  • การผ่าตัดส่องกล้อง ในบางกรณี แพทย์อาจส่งต่อผู้ป่วยไปยังสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจภายในช่องท้องโดยวิธีการผ่าตัดส่องกล้อง ด้วยวิธีการนี้ แพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปก่อนทำการกรีดแผลเล็ก ๆ ใกล้สะดือของผู้ป่วยและสอดเครื่องมือที่เป็นท่อเล็ก ๆ และติดกล้องส่องดูภายในอุ้งเชิงกราน ว่า มีเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่อยู่นอกมดลูกหรือไม่

การผ่าตัดส่องกล้องช่วยให้แพทย์มองเห็นตำแหน่ง บริเวณและขนาดของเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญผิดที่ได้ ทั้งนี้ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจมีการตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่สงสัย ไปตรวจเพิ่มเติม โดยทั่วไปสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้เลย ในระหว่างการผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยสามารถหายได้ด้วยการผ่าตัดเพียงรอบเดียว

แพทย์รักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อย่างไร

แพทย์มักรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ด้วยวิธีใช้ยาหรือการผ่าตัด ทั้งนี้ แพทย์จะเลือกว่าจะใช้ยาหรือผ่าตัดโดยประเมินจากอาการและความรุนแรงของโรค และความตั้งใจของผู้ป่วยที่ยังต้องการจะมีบุตร

อย่างไรก็ตาม แพทย์มักแนะนำให้ลองใช้แนวทางการรักษาด้วยยา หรือ การผ่าตัดแบบอนุรักษ์ก่อนเพื่อเก็บอวัยวะต่าง ๆ ไว้ และเลือกใช้วิธีผ่าตัดมดลูกตามมา หากการรักษาอื่นๆไม่ได้ผล

การรักษาด้วยยาแก้ปวด

แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาบรรเทาอาการปวดตามร้านขายยาทั่วไปได้ เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนนอกจากนี้ ในผู้ป่วยที่ยังไม่ได้ว่าแผนว่าจะมีบุตร แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ฮอร์โมนร่วมกับยาบรรเทาอาการปวด

การรักษาด้วยยาฮอร์โมน

ในบางกรณี การใช้ยาฮอร์โมน อาจมีประสิทธิภาพช่วยบรรเทาความเจ็บปวดอันเกิดจากการมีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งช่วงที่ระดับฮอร์โมนสูงขึ้นหรือต่ำลงช่วงมีรอบเดือน จะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว สลายตัวและมีเลือดไหลออกมา ทั้งนี้ ฮอร์โมนจะช่วย บรรเทาอาการ ชะลอและยับยั้งการเจริญของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ได้

อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยฮอร์โมนต้องรักษาต่อเนื่อง ผลที่ได้จากการรักษาด้วยฮอร์โมนอาจไม่ได้คงอยู่ตลอดไป ผู้ป่วยอาจพบอาการของโรคกลับมาอีกได้ หากหยุดใช้ยาฮอร์โมน

ยาฮอร์โมนที่แพทย์มักใช้รักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่  ได้แก่

  • ยาฮอร์โมนคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิด แผ่นแปะและห่วงอนามัยคุมกำเนิด ช่วยควบคุมเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกในแต่ละเดือนไม่ให้หนาขึ้นผิดปกติ ผู้ป่วยหลายรายมีประจำเดือนมาน้อยและจำนวนวันสั้นลงเมื่อใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด ในบางกรณี การใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด แบบต่อเนื่องอาจช่วยลดอาการปวดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ลงได้
  • Gonadotropin Releasing Hormone Agonist ยาชนิดนี้มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองที่มากระตุ้นรังไข่ ลดระดับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและช่วยหยุดการมีประจำเดือน ส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญขึ้นมาผิดปกติมีขนาดเล็กลง เนื่องจากยากลุ่มนี้ทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนเทียม ดังนั้นการใช้เอสโตรเจนหรือโปรเจสตินในปริมาณต่ำร่วมด้วย อาจช่วยลดผลข้างเคียงในวัยหมดประจำเดือนลงได้ เช่น อาการร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้ง และการสูญเสียมวลกระดูก ทั้งนี้ อาการข้างเคียงต่างๆจะหายไป และผู้ป่วยจะกลับมามีประจำเดือนและตั้งครรภ์ได้เมื่อหยุดใช้ยาแล้ว
  • ยาฮอร์โมนโปรเจสติน การรักษาด้วยโปรเจสตินมีหลากหลายวิธีด้วยกัน เช่น ห่วงคุมกำเนิดที่มีลีโวนอร์เจสเตรล ยาฝังคุมกำเนิด การฉีดยาคุมกำเนิด หรือยาคุมแบบมีฮอร์โมนโปรเจสตินอย่างเดียว ที่ช่วยหยุดประจำเดือนและการเจริญเติบโตของเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญผิดที่ได้
  • ยายับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะโรมาเตส (Aromatase) สารยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะโรมาเตสเป็นยากลุ่มหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนในร่างกาย แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยายับยั้งการทำงานของอะโรมาเตสร่วมกับโปรเจสตินหรือฮอร์โมนคุมกำเนิดเพื่อรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

การผ่าตัดแบบอนุรักษ์

หากผู้ป่วยเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่และกำลังวางแผนมีบุตร สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดเอาเฉพาะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ออก ในขณะที่รักษามดลูกและรังไข่ไว้ด้วยการผ่าตัดแบบอนุรักษ์ โดยแพทย์อาจผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง หรือการผ่าตัดเปิดช่องท้องแบบดั้งเดิม แต่ส่วนใหญ่ถ้าสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องได้ มักจะเลือกรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องก่อน อย่างไรก็ตาม หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยควรรีบมีบุตรทันที เพราะ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อาจกลับมาเกิดซ้ำได้

การรักษาภาวะมีบุตรยาก

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อาจทำให้เกิดปัญหาในการมีบุตร เกิดปัญหามีบุตรยาก ทั้งนี้ แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ด้านภาวะการมีบุตรยาก โดยวิธีนี้มีตั้งแต่การกระตุ้นรังไข่ไปจนถึงการใช้วิธีปฏิสนธินอกร่างกาย หรือการทำเด็กหลอดแก้ว

ผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออก

สำหรับผู้ป่วยบางราย การการรักษาด้วยยา ที่ยับยั้งการผลิตฮอร์โมนที่สร้างจากรังไข่ อาจช่วยให้อาการปวดบรรเทาลงได้ แต่ในรายอื่น ๆ ที่ยังคงมีอาการไม่ดีขึ้น การผ่าตัดเอามดลูกและรังไข่ออกอาจจำเป็นในการรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกที่รุนแรง และ ไม่ตอบสนองต่อยา โดยเฉพาะในผู้ที่ไม่ต้องการมีบุตรแล้ว

โดยการผ่าตัดดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน ในกรณีที่ผู้ป่วยอายุน้อย การหมดประจำเดือนก่อนกำหนด อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคที่เกี่ยวกับระบบการเผาผลาญ โรคกระดูกพรุนและ เพิ่มโอกาสการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้

วีดีโอเกี่ยวกับโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

EP.1 ลักษณะความผิดปกติของ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

EP.2 สาเหตุ และอาการเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ที่ต้องสังเกต

EP.3 การวินิจฉัยโรค และวิธีการรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

เผยแพร่เมื่อ: 04 ต.ค. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. มงคล จันทาภากุล

    นพ. มงคล จันทาภากุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Laparoscopic Surgery
  • Link to doctor
    พญ. มัฏฐวัณณ์ จามิกร

    พญ. มัฏฐวัณณ์ จามิกร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    รศ.นพ. บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ

    รศ.นพ. บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. ศรพิณ อามาตย์ทัศน์

    พญ. ศรพิณ อามาตย์ทัศน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    นพ. กฤษดา ไพรวัฒนานุพันธ์

    นพ. กฤษดา ไพรวัฒนานุพันธ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Oncology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ธีระภัทร เจริญวิทย์

    ผศ.นพ. ธีระภัทร เจริญวิทย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine, Fetal Anomalies, Fetal Cardiology
  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. ศศิวรรณ สุทัสน์มาลี

    พญ. ศศิวรรณ สุทัสน์มาลี

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศักนัน มะโนทัย

    ผศ.นพ. ศักนัน มะโนทัย

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    นพ. นพดล ไชยสิทธิ์

    นพ. นพดล ไชยสิทธิ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. กมลภัทร วิจักขณ์พันธ์

    พญ. กมลภัทร วิจักขณ์พันธ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    Reproductive Endocrinology, Infertility, Fertility Preservation, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. นครินทร์ ศิริทรัพย์

    ผศ.นพ. นครินทร์ ศิริทรัพย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • นรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Gynecologic Oncology, Gynecology
  • Link to doctor
    นพ. ศุภชัย   เรืองแก้วมณี

    นพ. ศุภชัย เรืองแก้วมณี

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Oncology
  • Link to doctor
    ศ.พญ. ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล

    ศ.พญ. ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    • นรีเวชวิทยา
    Gynecologic Oncology, Obstetric and Gynecological Pathology, Anatomical Pathology, Family Medicine, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • นรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • การผ่าตัดช่องท้องผ่านกล้อง
    • นรีเวชทางเดินปัสสาวะ
    Urogynecology, Female Pelvic Reconstructive Surgery, Minimally Invasive Gynecology, Menopause
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Oncology
  • Link to doctor
    พญ. ศรัญญา ชาญพานิชกิจโชติ

    พญ. ศรัญญา ชาญพานิชกิจโชติ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Oncology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ธีระพงศ์ เจริญวิทย์

    รศ.นพ. ธีระพงศ์ เจริญวิทย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    นพ.   วรชัย ชื่นชมพูนุท

    นพ. วรชัย ชื่นชมพูนุท

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    นพ. สุนำโชค ศรีใจพระเจริญ

    นพ. สุนำโชค ศรีใจพระเจริญ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Oncology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ

    รศ.นพ. วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Oncology