อาการถุงน้ำดีอักเสบ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัย และการรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ - Cholecystitis - Symotoms, Causes, Diagnosis and Treatment

โรคถุงน้ำดีอักเสบ

โรคถุงน้ำดีอักเสบมักเกิดขึ้นจากอาการอักเสบของถุงน้ำดี โดยปัจจัยที่พบบ่อยมักเกิดจากการขัดขวางการไหลเวียนของน้ำดี ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากนิ่ว เนื้องอก หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆที่อยู่ในท่อน้ำดี

แชร์

โรคถุงน้ำดีอักเสบ

โรคถุงน้ำดีอักเสบ (Cholecystitis) คือโรคที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดอาการอักเสบที่บริเวณถุงน้ำดี (gallbladder) อวัยวะทรงลูกแพร์บริเวณข้างใต้ตับ ซึ่งทำหน้าที่กักเก็บน้ำดี ซึ่งเป็นของเหลวที่ตับผลิตขึ้น โดยน้ำดีจะถูกส่งผ่านทางท่อน้ำดีไปยังลำไส้เล็ก และไหลเข้าสู่ลำไส้ใหญ่เพื่อช่วยในการย่อยอาหารจำพวกไขมัน ผู้ป่วยโรคถุงน้ำดีอักเสบมักมีอาการปวดบริเวณใต้กระดูกซี่โครงข้างขวาซึ่งเป็นตำแหน่งของถุงน้ำดี อาการอักเสบนี้มักเกิดขึ้นจากการปรากฎขึ้นของนิ่ว เนื้องอก หรือสิ่งกีดขวางอื่นที่เข้าไปกีดขวางในท่อน้ำดีใหญ่ (bile duct) หรือ ท่อถุงน้ำดี (cystic duct)

อาการของโรคถุงน้ำดีอักเสบ

อาการปวดบริเวณช่องท้องทางด้านขวาที่เป็นตำแหน่งของถุงน้ำดี มักเป็นอาการที่พบได้บ่อย ในบางครั้งอาจเกิดอาการปวดบริเวณกลางช่องท้อง หรือลามไปที่หลังและหัวไหล่ขวาร่วมด้วย ในคนไข้บางรายอาจมีอาการไข้  หรือกดเจ็บในบริเวณตำแหน่งของถุงน้ำดี รวมทั้งอาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนในผู้ป่วยบางราย โดยอาการดังกล่าวมักเกิดขึ้นหลังมื้ออาหาร โดยเฉพาะภายหลังการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงในปริมาณมาก

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

ควรพบแพทย์โดนด่วน หากมีอาการปวดที่ทำให้รู้สึกอึดอัด แน่น จนทำให้ไม่สามารถนั่งนิ่งๆได้ หรือเมื่อมีอาการไข้ร่วมด้วย

ความเสี่ยงและสาเหตุของโรคถุงน้ำดีอักเสบ

โดยทั้วไปโรคถุงน้ำดีอักเสบมักเกิดขึ้นจากอาการอักเสบของถุงน้ำดี โดยปัจจัยที่พบบ่อยมักเกิดจากการขัดขวางการไหลเวียนของน้ำดี ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากนิ่ว เนื้องอก หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆที่อยู่ในท่อน้ำดีใหญ่ (bile duct) และท่อถุงน้ำดี (cystic duct)

การติดเชื้ออื่นๆ เช่น จากโรคเอดส์ หรือเชื้อไวรัสก็เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคได้ เช่นเดียวกันกับความผิดปกติของหลอดเลือด โดยมักพบว่าโรคถุงน้ำดีอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีที่เกิดความผิดปกติจากการไหลเวียนของเลือดมาสู่ถุงน้ำดี ซึ่งอาจเป็นผลจากโรคร้ายแรงบางชนิด

การตรวจวินิจฉัยโรคถุงน้ำดีอักเสบ

ในการวินิจฉัยโรคถุงน้ำดีอักเสบนั้น แพทย์จะทำการซักประวัติอาการ และตรวจร่างกายโดยเฉพาะในช่องท้องในบริเวณตำแหน่งของถุงน้ำดี หากมีแนวโน้มว่าอาจเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบ มักอาศัยตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุของการอักเสบและติดเชื้อ แพทย์อาจใช้วิธีอื่นร่วมด้วยเพื่อการวินิจฉัยโรคและหาสาเหตุที่แม่นยำ เช่นการอัลตร้าซาวน์ชองท้อง (an abdominal ultrasound) หรือซีทีแสกน (CT scan) ซึ่งมักใช้เพื่อตรวจหานิ่ว หรือสัญญาณการอักเสบอื่นๆที่เกิดขึ้นในถุงน้ำดีหรือท่อน้ำดี

วิธีการรักษาถุงน้ำดีอักเสบ

การรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการติดเชื้อและอาการอักเสบในถุงน้ำดี โดยปกติแล้วเพื่อรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบถาวร มักอาศัยวิธีการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก (gallbladder removal surgery) ร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะ (antibiotic) บางชนิด สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีอาการของโรครุนแรงและไม่ต้องการผ่าตัด อาจจำเป็นต้องได้รับการการระบายน้ำออกจากถุงน้ำดีอย่างเร่งด่วน ผ่านการเจาะทางผิวหนังของคนไข้ ในช่วงแรกของการรักษาภายในโรงพยาบาลนั้น คนไข้อาจต้องงดอาหารและน้ำเพื่อลดภาวะการติดเชื้อในถุงน้ำดี โดยคนไข้จะได้รับของเหลวผ่านทางเส้นเลือดเพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ ทั้งนี้แพทย์มักสั่งยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้นจากการอักเสบ        

การส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดี (Endroscopic retrograde cholangiopancreatography หรือ ERCP) เป็นตัวเลือกหนึ่งสำหรับการรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ โดยการส่องกล่องผ่านทางปากเพื่อนำนิ่วหรือสิ่งกีดขวางอื่นออกจากท่อน้ำดีใหญ่ (bile duct) และท่อถุงน้ำดี (cystic duct)

โดยทั่วไปอาการของโรคถุงน้ำดีอักเสบจะบรรเทาลงและมีอาการดีขึ้นภายใน 2 -3 วันหลังเข้ารับการผ่าตัด หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน

Cholecystitis   Infographic Th

เผยแพร่เมื่อ: 14 ก.ย. 2020

แชร์